Sound Card คืออะไร? Sound Card นั้นเป็นอุปกรณ์ต่อพ่วงของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยให้คุณสามารถที่จะทำการใช้งานเป็นได้ทั้งอุปกรณ์ input และ output สำหรับสัญญาณเสียงจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีการส่งผ่านมาจากการทำงานของซอฟต์แวร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์
Image by WikimediaImages from Pixabay
ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว Sound Card นั้นจะถูกรวมไว้ในเมนบอร์ดของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีการใช้งานชิปในการประมวลผลเสียงต่างๆเหมือนกับ GPU แบบ on board และอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆโดยหน้าที่หลักๆของ Sound Card นั้นก็คือการเตรียมข้อมูลในการเข้ารหัสและถอดรหัสทางด้านเสียงซึ่งจะทำการถอดสัญญาณเสียงจากดิจิตอลให้เป็นอนาล็อกผ่านทางช่องการเชื่อมต่อและการรับสัญญาณแบบ analog เพื่อแปลงไปเป็นสัญญาณแบบดิจิตอลเพื่อใช้ในการบันทึกเสียง
โดยสัญญาณเอาต์พุตของ Sound Card นั้นจะเป็นภาคสัญญาณในการถอดรหัสที่มีการแปลงสัญญาณจากดิจิตอลให้กลายเป็นสัญญาณแบบอนาล็อกหรือเรียกว่าวงจร DAC หรือ Digital To analog Converter ซึ่งจะสามารถส่งสัญญาณเสียงไปยังอุปกรณ์ที่ใช้ในการแปลงสัญญาณต่างๆได้แก่เครื่องขยายเสียงหูฟังลำโพงภายนอกซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ทำให้เราได้ยินเสียงจากเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นเอง
และนอกจากนั้นแล้วซาวด์การ์ดยังรองรับสัญญาณแบบ input ผ่านทางไมโครโฟนด้วยการเชื่อมต่อเข้ากับพอร์ตการเชื่อมต่อของเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งจะทำการแปลงสัญญาณอนาล็อกที่ได้จากไมโครโฟนหรือช่องเสียบ LINE in ให้กลายเป็นสัญญาณแบบดิจิตอลผ่านทางการประมวลผลด้วยชิปประมวลผลของเสียงซึ่งจะทำให้เกิดการแปลงสัญญาณจากดิจิตอลให้กลายเป็นสัญญาณแบบอนาล็อกหรือที่เรียกว่าวงจร ADC หรือ analog to Digital Converter ซึ่งเราจะสามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ในการบันทึกเสียงพูดหรือเสียงต่างๆได้นั่นเอง
โดย Sound Card หรือการ์ดเสียงที่มีความนิยมในการใช้งานในปัจจุบันนี้มีอยู่หลักๆ 2 ประเภทได้แก่
1. Sound Card แบบอินทิเกรต
เป็น Sound Card ที่มีการรวมมาในแผงวงจรเมนบอร์ดซึ่งจะมีการรวมเอาชิปที่ใช้ในการประมวลผลเสียงต่างๆเข้ามาบนตัวเมนบอร์ดเลยซึ่งจะมีการช่วยให้คอมพิวเตอร์นั้นสามารถที่จะใช้งานวงจรด้านเสียงได้ทันทีโดยที่ไม่จำเป็นจะต้องใช้งานอุปกรณ์ภายนอกซึ่งจะทำให้การติดตั้งและใช้งานนั้นมีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้นซึ่งเราสามารถที่จะพบพอร์ตการเชื่อมต่อของ Sound Card ได้ในเมนบอร์ดทุกรุ่นทุกยี่ห้อที่มีวางขายอยู่ในปัจจุบันแต่ข้อด้อยของซาวด์การ์ดแบบอินทิเกรตนั่นก็คือประสิทธิภาพในการทำงานที่มีค่อนข้างที่จะจำกัดและคุณภาพของเสียงที่ได้รวมถึงประสิทธิภาพในการประมวลผลต่างๆนั้นของ Sound Card จะมีน้อยกว่า Sound Card แบบอื่น
2. Sound Card แบบแยก
จะเป็น Sound Card แบบที่แยกออกมาจากเมนบอร์ดหรือคุณสามารถที่จะนำไปต่อเพิ่มเติมเพื่อที่จะทำการเลือกใช้ Sound Card แบบแยกได้กับเมนบอร์ดหรือช่องสัญญาณต่อพ่วงของเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ว่าจะเป็นพอร์ตการเชื่อมต่อ USB port ซึ่งรู้จักในชื่อ Sound Card USB การเชื่อมต่อแบบ PCI หรือพอร์ตการเชื่อมต่ออื่นๆที่รองรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ภายนอกซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถที่จะใช้งานร่วมกับ Sound Card ได้แต่โดยส่วนมากแล้วจะมีความนิยมในการใช้งาน Interface ในการเชื่อมต่อ 2 แบบได้แก่ USB และ PCI โดยข้อดีหลักๆของ Sound Card แบบแยกนั้นก็คือประสิทธิภาพในการทำงานที่สูงกว่ารองรับการใช้งานที่หลากหลายและให้คุณภาพของเสียงที่ดีกว่าซึ่ง Sound Card แบบแยกสามารถที่จะรองรับการใช้งาน Chanel ของเสียงได้มากกว่า 2 Chanel ซึ่งจะมีให้เลือกใช้ ตั้งแต่ 2.1 Channel 5.1 Channel ไปจนถึง 7.1 ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถที่จะทำการประมวลผลเสียงที่มีคุณภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้นและให้เสียงรอบทิศทางที่จะให้เสียงที่มีคุณภาพดีมากยิ่งขึ้นกว่าการใช้งานซาวด์การ์ดแบบ integrated ซึ่งมีความสามารถในการประมวลผลที่จำกัดนั่นเอง
โดย Sound Card นั้นเป็นอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันซึ่งจะมีการใช้งานร่วมกันกับซอฟต์แวร์ต่างๆและเราจะใช้เสียงในการใช้งานซอฟต์แวร์ต่างๆซึ่งจะใช้สัญญาณเสียงในการแสดงผลแจ้งเตือนและช่วยให้การใช้งานซอฟต์แวร์ของเรานั้นสามารถที่จะใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพดังนั้น Sound Card จึงเป็นอุปกรณ์ชิ้นสำคัญที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกชิ้นต้องมีในปัจจุบันนั่นเอง.
การใช้งานซาวด์การ์ด
ในการใช้งานซาวด์การ์ดถ้าเป็นแบบ infrared มันจะมีพอร์ตสำหรับเชื่อมต่อลำโพงโดยจะเป็นพอร์ตการเชื่อมต่อแบบ Jack 3.5 mm ที่คุณสามารถที่จะทำการเสียบแจ็คเข้าไปไม่ว่าจะเป็น Jack ของลำโพงหรือแจ็คหูฟังเพื่อที่จะทำให้ลำโพงนั้นสามารถที่จะส่งสัญญาณเสียงได้และจะมีช่องสำหรับการเชื่อมต่อไมโครโฟนซึ่งคุณสามารถที่จะเสียงไมโครโฟนเข้าไปยังพอร์ตการเชื่อมต่อดังกล่าวโดยส่วนมากและจะเป็นพอร์ตการเชื่อมต่อแบบรูแจ็ค 3.5 mm เช่นเดียวกันซึ่งจะมีการแบ่งแยกพอร์ตการเชื่อมต่อระหว่างแจ็คหูฟังและแจ็คไมโครโฟนรวมถึงแจ้งรายอินด้วยการใช้โค้ดสีซึ่งแจ็คหูฟังนั้นจะใช้โค้ดสีเขียวส่วนแจ็คสำหรับลำโพงนั้นจะใช้โค้ดสีชมพูส่วนแจ๊คสำหรับ line-in นั้นจะเป็นสีฟ้าซึ่งจัดเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก
Sources: https://en.wikipedia.org/wiki/Sound_card