-->

แสงสีฟ้าหรือ Blue Light คืออะไร?





Laz Flash Sale ลดแรงกว่า 90%
ดีลจำกัดเวลา ให้คุณเลือกซื้อสินค้าราคาพิเศษได้ทุกวัน สินค้าลดราคากับ Flash Sale
Lazada แฟลชเซล จัดเต็มดีลฮิตทุกวัน ช้อปออนไลน์ 24 ชั่วโมง ☆ดีลจำกัดเวลาสุดฮอต ☆ลดราคาแรง ☆สินค้าหลากหลาย

ช้อปเลย





แสงสีฟ้าหรือ Blue Light คืออะไร?



 แสงสีฟ้าหรือ Blue Light คืออะไร? แสงสีฟ้า นั้นเป็นแสงในช่วงคลื่นความถี่ของแสงที่สามารถมองเห็นด้วยตามนุษย์ซึ่งเป็นแสงที่มีความถี่แสงที่สั้นซึ่งนั่นหมายถึงว่าพวกมันเป็นช่วงแสงที่มีกำลังสูง โดยแสงสีฟ้านั้นจะมีความยาวของคลื่นแสงอยู่ที่ 400 และ 525  nm ซึ่งสามารถที่จะสร้างได้โดยการทำงานของหลอด LED ซึ่งเป็นชิ้นส่วนที่ใช้ในการแสดงผลของภาพของอุปกรณ์คอมพิวเตอร์โทรศัพท์มือถือแท็บเล็ตและอุปกรณ์ไอทีที่มีหน้าจอแบบเล็บหรือแบบ LCD เป็นส่วนประกอบ




Image by Free-Photos from Pixabay

โดยแสงสีฟ้าหรือ Blue Light นั้นสามารถที่จะมาจากดวงอาทิตย์ได้โดยตรงและสามารถที่จะถูกปล่อยออกมาจากหน้าจอของอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้เทคโนโลยีของหลอด LED ในการแสดงผลไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์ทีวีสมาร์ทโฟนคอมพิวเตอร์แล็ปท็อปแท็บเล็ตเครื่องเล่นเกมส์ต่างๆและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆที่ใช้เทคโนโลยีแอลอีดีเป็นส่วนประกอบสามารถที่จะปล่อยแสงสีฟ้าได้แทบจะทั้งหมด


แสงสีฟ้านั้นเราสามารถที่จะพบได้รอบๆตัวเราซึ่งเป็นช่วงแสงที่ทำให้ท้องฟ้าของเรานั้นมีสีฟ้าและเมื่อช่วงแสงดังกล่าวนั้นกระทบกับโมเลกุลของอากาศก็จะทำให้เกิดแสงสีฟ้าออกมาโดยแสงสีฟ้าที่อยู่ในธรรมชาตินั้นจะทำให้เกิดวงจรการหลับและตื่นของมนุษย์และช่วยให้พวกเรานั้นรู้สึกตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา


และแสงสีฟ้านั้นยังอาจจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของเราได้ในกรณีที่เราโดนหรือสัมผัสกับแสงสีฟ้าเป็นระยะเวลานานและได้รับปริมาณแสงสีฟ้ามากเกินไปซึ่งระบบกลไกในการป้องกันแสงสีฟ้าโดยธรรมชาตินั้นอาจจะไม่มีประสิทธิภาพที่ดีเพียงพอที่จะช่วยในการป้องกันแสงสีฟ้าให้กับเรานั่นเองโดยแสงสีฟ้านั้นจะทำให้เกิดอาการตาล้าซึ่งจะทำให้ดวงตาแห้ง เกิดอาการปวดตาและปวดหัวตามมาเนื่องจากมีการใช้งานหน้าจอในการทำงานต่างๆเป็นจำนวนมากนั่นเอง


ซึ่งเราสามารถที่จะทำการป้องกันแสงสีฟ้าจากการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆได้ด้วยการใช้แว่นตาป้องกันแสงสีฟ้าซึ่งจะช่วยในการกรองแสงสีฟ้าและทำให้ดวงตาของเรานั้นได้รับแสงสีฟ้าน้อยลงซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงที่จะทำให้เรานั้นเกิดอาการตาละดวงตาแห้งปวดตาได้น้อยลง


โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานานหรือทำงานกับคอมพิวเตอร์ตลอดเวลา 8-10 ชั่วโมงต่อวันนั้นจะมีความเสี่ยงที่จะพบอาการดังกล่าวมากยิ่งขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการใช้งานของคนปกติหรือคนที่มักใช้อุปกรณ์ต่างๆอยู่ตลอดเวลานั้นอาจจะทำให้เกิดปัญหาดังกล่าวได้เช่นเดียวกันดังนั้นการใช้งานและการป้องกันดวงตาของคุณด้วยการใช้งานแว่นตากรองแสงสีฟ้าหรืออุปกรณ์ที่ช่วยในการกรองแสงสีฟ้านั้นจะช่วยให้สุขภาพดวงตาของคุณนั้นมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้นและนอกจากนั้นแล้วยังมีวิธีอื่นๆที่จะช่วยในการช่วยป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากแสงสีฟ้าที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพและดวงตาของคุณได้แก่



วิธีการต่อสู้และป้องกันผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจากแสงสีฟ้าบนหน้าจอ



  1. ใส่แว่นตาที่สามารถกรองแสงสีฟ้าได้ซึ่งจะช่วยในการป้องกันดวงตาของคุณจากแสงสีฟ้าทั้งกลางแจ้งและการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆซึ่งจะช่วยลดปริมาณแสงสีฟ้าที่เป็นอันตรายกลับหน้าจอของคุณได้
  2. เมื่อใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์นั้นให้ทำการกระพริบตาให้บ่อยขึ้น
  3. ทำการหยุดพักหรือพักสายตาให้บ่อยเมื่อจะต้องใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีหน้าจอแบบ LED LCD
  4. ทำความสะอาดหน้าจอของคุณเป็นประจำเพื่อช่วยลดการสะท้อนของแสงบริเวณหน้าจอ
  5. ลดความเข้มของแสงที่ออกมาจากหน้าจอให้ลดลงอยู่ในระดับที่เหมาะสมหรือตั้งค่าหน้าจอให้อยู่ในโหมดที่ลดแสงบลูไลท์ซึ่งจะช่วยให้แสงดังกล่าวนั้นมีจำนวนที่ลดลงจนไม่ทำอันตรายกับดวงตาของคุณ


และการใส่แว่นตาลดแสงสีฟ้านั้นก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยในการถนอมสายตาของคุณจากการได้รับหรือสัมผัสกับแสงสีฟ้าโดยตรงซึ่งตัวเลนส์ที่มีความสามารถในการกรองแสงสีฟ้านั้นจะช่วยปกป้องเลนส์ตาและดวงตาของคุณให้ปลอดภัยจากแสงสีฟ้าได้ดีมากยิ่งขึ้นซึ่งสำหรับผู้ที่กำลังมองหาแว่นตากรองแสงสีฟ้าเพื่อที่จะนำมาใช้งานอยู่แล้วก็เราได้ทำการเขียนบทความเกี่ยวกับการเลือกซื้อแว่นตากรองแสงสีฟ้าให้คุณได้เข้าไปอ่านกันว่าควรที่จะเลือกซื้อแว่นกรองแสงสีฟ้ารุ่นไหนแบบไหนยี่ห้อไหนดีถึงจะช่วยให้คุณนั้นสามารถที่จะใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพมากที่สุดโดยการเข้าไปอ่านที่บทความนี้ แว่นตากรองแสงคอมพิวเตอร์ รุ่นไหน ยี่ห้อไหนดี ? ซึ่งจะช่วยให้คุณนั้นสามารถที่จะนำข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจเลือกซื้อแว่นตากรองแสงสีฟ้าที่ดีที่สุดเหมาะกับการใช้งานของคุณมากที่สุด.


Sources : https://en.wikipedia.org/wiki/Biological_effects_of_high-energy_visible_light