Wireless charging อันตรายไหม? อาจจะเป็นข้อกังวลสำหรับผู้ที่เพิ่งเริ่มทดลองใช้งานระบบการชาร์จแบบไร้สายหรือกำลังมองหาอุปกรณ์ที่รองรับการชาร์จแบบไร้สายมาใช้งานโดยความสงสัยนั้นเป็นเรื่องปกติสำหรับผู้ที่ไม่คุ้นชินในการใช้งานระบบการชาร์จแบบไร้สาย
Image by Immo Schulz-Gerlach from Pixabay
การชาร์จแบบไร้สายนั้นมีความปลอดภัยเพียงพอต่อการใช้งานซึ่งระบบการชาร์จไร้สายที่ผลิตจากผู้ผลิตต่างๆนั้นจะถูกตรวจสอบและรับรองความปลอดภัยหลังจากที่ได้ทำการออกแบบและผลิตขึ้นมาโดยมาตรฐานความปลอดภัยของตัวอุปกรณ์ชาร์จแบบไร้สายนั้นจะต้องผ่านมาตรฐานที่หน่วยงานต่างๆของรัฐในแต่ละประเทศได้ทำการกำหนดขึ้นถ้าอุปกรณ์นั้นไม่มีความปลอดภัยเพียงพอในการใช้งานจะไม่ถูกอนุญาตให้นำมาวางขายหรือนำมาใช้งานอย่างเด็ดขาดเพราะฉะนั้นแล้วการใช้งานการใช้แบบไร้สายนั้นจึงมีความปลอดภัยเพียงพอที่จะนำมาใช้งานอย่างแน่นอน
และอุปกรณ์ใดก็ตามนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการรับรองจากหน่วยงานความปลอดภัยสากล หรือ international safety standards ซึ่งจะใช้ในการตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆโดยมาตรฐานความปลอดภัยนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องผ่านมาตรฐานความปลอดภัยจากหน่วยงานต่างๆซึ่งจะให้สัญลักษณ์ที่ใช้ในการแสดงถึงมาตรฐานความปลอดภัยได้แก่
- FCC
- CE
- RCM
- BSMI
- EAC
- KC
- UL Listed
โดยในการใช้งานเครื่องชาร์จแบบไร้สายนั้นจะต้องมีการใช้งานร่วมกับมือถือสมาร์ทโฟนที่รองรับการชาร์จแบบไร้สายด้วยจึงจะสามารถทำงานร่วมกันได้ ซึ่งมือถือสมาร์ทโฟนที่จะใช้ในการชาร์จแบตไร้สายนั้นจะต้องรองรับการชาร์จแบบไร้สายด้วยมาตรฐานในการชาร์จอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้นจึงจะสามารถใช้งานการชาร์จไร้สายได้ไม่ใช่ว่า Smartphone ทุกเครื่องบนโลกนี้จะรองรับการชาร์จแบบไร้สายจะมีเพียงสมาร์ทโฟนบางรุ่นบางยี่ห้อเท่านั้นที่เรารับการใช้งานนี้อย่างเช่น IPhone ตั้งแต่ iPhone 8, iPhone x, iPhone 11, iPhone 12 ขึ้นมาจะรองรับการชาร์จแบบไร้สายทั้งหมด แล้วและสำหรับมือถือสมาร์ทโฟน Android บางรุ่นนะจะเป็นสมาร์ทโฟนในรุ่นเรือธงเท่านั้นที่จะรองรับการชาร์จแบบไร้สายอย่างเช่น Samsung Galaxy s10 20 หรือ Samsung Galaxy S 21 รุ่นล่าสุดนั้นก็รองรับระบบการชาร์จแบบไร้สายด้วยเช่นกัน.
เครื่องชาร์จไร้สายทำให้มือถือร้อนหรือไม่ ?
ไม่เฉพาะเครื่องชาร์จไร้สายเท่านั้นการชาร์จแบบใช้สายก็ทำให้ตัวเครื่องสมาร์ทโฟนนั้นรู้สึกอุ่นๆได้เช่นกันโดยอุณหภูมิที่เกิดขึ้นดังกล่าวนั้นเกิดจากกระแสไฟฟ้าที่ใช้ในการชาร์จซึ่งจะมีการปล่อยความร้อนออกมาบางส่วนไม่ว่าจะเป็นการชาร์จด้วยเครื่องชาร์จแบตไร้สายปกติหรือเครื่องชาร์จแบบไร้สายนั้นก็จะให้ความร้อนออกมาเช่นเดียวกันดังนั้นความร้อนที่เกิดขึ้นนั้นจึงน่าจะอยู่ในระดับที่ปลอดภัยเพียงพอต่อการใช้งานและไม่เป็นอันตรายกับเครื่องมือถือสมาร์ทโฟนของคุณอย่างแน่นอน
การชาร์จไร้สายนั้นทำเกิดให้การชาร์จแบตเตอรี่เกินได้หรือไม่ ?
ในขั้นตอนการชาร์จของสมาร์ทโฟนนั้นตัว Smart Phone และเครื่องชาร์จนั้นจะมาพร้อมกับแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในการควบคุมการทำงานและการชาร์จของแบตเตอรี่ซึ่งเรียกว่า bms หรือ Battery management System ซึ่งจะใช้ในการควบคุมกระแสการชาร์จกระแสการใช้งานของแบตเตอรี่ที่อยู่ภายในมือถือสมาร์ทโฟนของคุณซึ่งจะใช้ในการป้องกันไม่ให้มีการใช้กระแสไฟฟ้าเกินหรือป้องกันการใช้กระแสไฟฟ้าเกิดจากตัวแบตเตอรี่ซึ่งจะเป็นสาเหตุทำให้แบตเตอรี่นั้นเสื่อมสภาพได้อย่างรวดเร็วอีกด้วยดังนั้นการชาร์จแบตเตอรี่ด้วยการชาร์จแบบไร้สายนั้นจะไม่ทำให้เกิดการชาร์จแบตเตอรี่เกินกับแบตเตอรี่ของคุณอย่างแน่นอน และเมื่อแบตเตอรี่สมาร์ทโฟนของคุณเต็มนั้นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวก็จะทำการตัดกระแสไฟฟ้าที่ทำการชาร์จทันทีนั่นจึงทำให้แบตเตอรี่จะทำการหยุดชาร์จเมื่อแบตเตอรี่เต็มโดยอัตโนมัติ
การชาร์จแบตเตอรี่แบบไร้สายนั้นจะต้องระมัดระวังในเรื่องใดบ้าง ?
สิ่งที่ต้องระมัดระวังในการชาร์จแบตเตอรี่ด้วยเครื่องชาร์จแบบไร้สายนั้นคือวัตถุที่เป็นโลหะนั้นจะต้องไม่ถูกวางอยู่บนเครื่องชาร์จแบบไร้สายโดยวัตถุจำพวกโลหะที่เป็นเหล็กต่างๆนั้นจะทำให้เกิดการเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าบนแท่นชาร์จแบบไร้สายซึ่งจะทำให้เกิดความร้อนขึ้นบนตัววัตถุหรือโลหะเหล่านั้นและทำให้เครื่องชาร์จหรือแท่นชาร์จไร้สายนั้นทำงานอยู่ตลอดเวลาจนไม่ตัดการทำงานซึ่งจะทำให้ตัวเครื่องนั้นเสียหายได้อย่างรวดเร็วและขดลวดที่ใช้ในการชาร์จหรือวัตถุที่วางอยู่บนแท่นชาร์จไร้สายนั้นอาจจะเกิดการละลายหรือเกิดความร้อนขึ้นจนทำให้ไปละลายวัสดุที่ใช้ในการเป็นกรอบของเครื่องชาร์จแบบไร้สายซึ่งจะเป็นสาเหตุทำให้เครื่องชาร์จไร้สายของคุณนั้นเสียหายและไม่สามารถที่จะใช้งานได้นั่นเองดังนั้นสิ่งที่ต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งในการใช้งานแท่นชาร์จไร้สายและก็คือไม่ควรนำวัตถุที่เป็นเหล็กไปวางบ่นแท่นชาร์จไร้สายเด็ดขาดโดยวัตถุเหล่านั้นได้แก่ พวงกุญแจ เหรียญ แหวน นาฬิกาข้อมือ และวัตถุอื่นๆที่มีโลหะเป็นส่วนประกอบ.
Sources : https://en.wikipedia.org/wiki/Inductive_charging https://ulstandards.ul.com/ https://europa.eu/youreurope/business/product-requirements/labels-markings/ce-marking/index_en.htm