-->

คอมพิวเตอร์ กินไฟเท่าไหร่?





Laz Flash Sale ลดแรงกว่า 90%
ดีลจำกัดเวลา ให้คุณเลือกซื้อสินค้าราคาพิเศษได้ทุกวัน สินค้าลดราคากับ Flash Sale
Lazada แฟลชเซล จัดเต็มดีลฮิตทุกวัน ช้อปออนไลน์ 24 ชั่วโมง ☆ดีลจำกัดเวลาสุดฮอต ☆ลดราคาแรง ☆สินค้าหลากหลาย

ช้อปเลย





คอมพิวเตอร์ กินไฟเท่าไหร่?



 คอมพิวเตอร์ กินไฟเท่าไหร่? เป็นคำถามที่ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ต้องการที่จะรู้โดยเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะหมายถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่ใช้ในการทำงานเกี่ยวกับไฟล์เอกสารต่างๆไม่ว่าจะเป็นงานที่ใช้ในการทำเอกสารหรือโปรแกรมจำพวก Microsoft Office Word PowerPoint Excel รวมถึงใช้ในการทำงานเกี่ยวกับการตัดต่อวีดีโอการทำงาน 3 มิติหรือใช้ในการเล่นเกมก็ตามนั้นเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีอัตราการบริโภคกำลังไฟฟ้าเท่าไหร่



เครื่องคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องจะใช้กระแสไฟในการทำงานตั้งแต่ 450 ไปจนถึง 1000 วัตต์ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการทำงานของ เครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ โดยยิ่งเครื่องที่มีประสิทธิภาพสูงก็จะมีอัตราการบริโภคพลังงานที่มากยิ่งขึ้นซึ่งตัวอุปกรณ์ก็จะใช้พลังงานในการทำงานมากยิ่งขึ้นซึ่งกระแสไฟฟ้าที่เครื่องคอมพิวเตอร์ใช้ในการทำงานก็จะมากขึ้นด้วยเช่นกันโดยค่านี้จะคิดเพียงแค่การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์เท่านั้นยังไม่มีการรวมอัตราการบริโภคพลังงานไฟฟ้าของจอมอนิเตอร์รวมเข้ามาแต่อย่างใดนั้นจึงทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์และมีอัตราการบริโภคพลังงานที่ค่อนข้างสูงที่ผู้ใช้งานนั้นจำเป็นที่จะต้องรู้ก่อนที่จะทำการใช้งานเพื่อช่วยให้คุณสามารถที่จะใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีต้นทุนในการใช้งานที่ถูกลงนั่นเอง


สำหรับการที่จะคำนวณค่าไฟฟ้าในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องและเราสามารถที่จะทำการคำนวณได้จากสมการทางคณิตศาสตร์ง่ายๆซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถที่จะทำการคำนวณรายจ่ายของการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ในเวลา 1 ชั่วโมงว่าตกกี่บาทต่อชั่วโมงได้ตามสูตรคำนวณด้านล่างนี้


วิธีคำนวณค่าไฟ จากการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์


เราจะคำนวณค่าไฟฟ้าโดยใช้สูตร:


        ค่าไฟฟ้า (บาท/ชม.) = (จำนวนวัตต์ของเครื่องใช้ไฟฟ้า x ค่าไฟต่อยูนิต)/1,000


*** โดยกำหนดให้ค่าไฟต่อยูนิต = ค่าไฟบ้านพื้นฐาน = 4 บาท/ยูนิต และ คอมพิวเตอร์มีกำลัง 450 วัตต์ ซึ่งคุณสามารถแทนค่าดังกล่าวด้วยกำลังวัตต์ของคอมพิวเตอร์ของคุณเมื่อจะทำการคำนวญ


คอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง ใช้งาน 1 ชั่วโมง = 450 x 4 / 1000 =  1.8 บาทต่อชั่วโมงโดยประมาณ

คอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง ใช้งาน 24 ชั่วโมง = 1.8 X 24 = 43 บาท ต่อวัน

คอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง ใช้งาน 1 เดือน  = 43 X 30 = 1,290 บาท*** เดือน


***เมือเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ 24 ชัวโมงต่อวัน คิดทั้งเดือนคือ 30 วัน

ดังนั้นถ้าคุณใช้เครื่องคอมพิวเตอร์กี่ชั่วโมงก็ตามคุณก็เอาจำนวนชั่วโมงไปคูณกับค่า 1.8 ก็จะได้ค่าไฟโดยเฉลี่ยในแต่ละวันที่คุณจะต้องจ่ายให้กับการ ใช้งานคอมพิวเตอร์สมมุติว่าคุณใช้งานคอมพิวเตอร์วันละ 5 ชั่วโมงก็เท่ากับ



คอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง ใช้งาน 5 ชั่วโมง = 1.8 x5 = 9 บาทต่อวันนี่เป็นเพียงการคำนวณเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานเท่านั้นโดยจะพิจารณาเฉพาะเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ Power Supply หรือแหล่งพลังงาน 450 วัตต์แต่โดยทั่วไปแล้วเครื่องคอมพิวเตอร์จะใช้ Power Supply ที่มีขนาดกำลังไฟหรือกำลังวัตต์ที่แตกต่างกันโดยจะมีกำลังวัตต์ตั้งแต่ 450 ไปจนถึง 1,500 วัตต์ดังนั้นในการคำนวณควรจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทดแทนค่ากำลังวัตต์ของเครื่องใช้ไฟฟ้าด้วยกำลังวัตต์ของตัว Power Supply ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่คุณมีนั่นเอง


และค่าเฉลี่ย 1.8 บาทต่อชั่วโมงยังไม่ได้รวมคิดค่าไฟที่ได้จากการใช้งานจอมอนิเตอร์ซึ่งจอมอนิเตอร์ของคอมพิวเตอร์ 1 เครื่องนั้นจะมีกำลังวัตต์ตั้งแต่ 35 จนถึง 100 วัตต์ขึ้นอยู่กับรุ่นยี่ห้อและขนาดของหน้าจอรวมถึงความสว่างของหน้าจอที่ใช้ขณะนั้นด้วยในส่วนของการคำนวณอัตราการบริโภคค่าไฟหรือค่าไฟของหน้าจอคอมพิวเตอร์ก็เหมือนกันกับการคำนวณของเครื่องคอมพิวเตอร์นั่นก็คือการนำเอากำลังวัตต์ของเครื่องคอมพิวเตอร์มาคูณด้วยค่าไฟต่อยูนิตของเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วหารด้วย 1,000 ก็จะได้ค่าไฟที่คุณจะต้องจ่ายให้กับการใช้งานจอมอนิเตอร์ของคอมพิวเตอร์ต่อ 1 ชั่วโมงนั่นเอง



ดังนั้นจะเห็นได้ว่าในการที่จะเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้งานในแต่ละครั้งนั้นมีราคาค่าไฟที่เราจำเป็นจะต้องจ่ายในการที่จะจ่ายให้กับความสะดวกในการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งอาจจะตกอยู่ที่ประมาณ 1.8 บาทขึ้นไปต่อชั่วโมงยิ่งเราใช้คอมพิวเตอร์ระยะเวลานานขึ้นเท่าไหร่อัตราค่าไฟของเราก็จะเพิ่มมากขึ้นเท่านั้นและค่าไฟที่ได้คำนวณมานี้ยังไม่ได้รวมค่า FT ซึ่งจะเป็นการเพิ่มรายจ่ายที่คุณจำเป็นจะต้องจ่ายเพิ่มเข้าไปอีก ในกรณีที่ใช้ไฟฟ้าจำนวนมากขึ้นช่วงระดับ ในระดับหนึ่ง


ในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นควรใช้เฉพาะที่จำเป็นจริงๆและควรที่จะปิดเครื่องเมื่อไม่ใช้งานไม่ควรที่จะเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ทิ้งไว้หรือเปิดหน้าจอเครื่องคอมพิวเตอร์ทิ้งไว้เด็ดขาดเนื่องจากว่าเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นเป็นอุปกรณ์ที่กินกระแสไฟฟ้าค่อนข้างมากนั่นเองรวมถึงการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์เมื่อไม่ใช้งานนั้นยังช่วยถนอมให้ตัวฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ต่างๆของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้นไปอีกด้วยนั่นเอง


และเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความที่เราได้นำมานำเสนอให้กับคุณนั้นจะช่วยให้คุณเข้าใจถึงต้นทุนในการใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์และตระหนักในการที่จะช่วยประหยัดพลังงานกระแสไฟฟ้าเนื่องจากว่าทรัพยากรที่ใช้ในการสร้างกระแสไฟฟ้านั้นมีค่อนข้างที่จะจำกัด