ศิษย์นอกครู หมายถึงอะไร ? สำนวน สุภาษิตไทยที่กล่าวว่า ศิษย์นอกครู หมายถึง (สำ) น. ศิษย์ที่ประพฤติไม่ตรงตามคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่ประพฤติไม่ตรงตามแบบฉบับที่นิยมกันมา. อ้างอิงจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔
สำนวน ศิษย์นอกครู ใช้ในการเปรียบเปรยถึง ศิษย์ที่ประพฤติไม่ตรงตามคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์ ผู้ที่ปฏิบัติผิดแผกไปจากคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์หรือแบบแผนที่นิยมกันมา หรือไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของครูอาจารย์จนทำให้เกิดความเดือดร้อน.
ที่มาของสำนวน ศิษย์นอกครู นั้นมาจากการที่ศิษย์นั้นพยายามที่จะประพฤติตนไม่ตรงตามแบบฉบับที่นิยมกันมา ซึ่งอาจจะมีทั้งขข้อดีและข้อด้อยก็ได้ พราะการเรียนรู้นั้นสามารถที่จะคิดต่างหรือหาวิธีที่ดีที่สุด ที่จะทำสิ่งต่างๆให้ได้ดีที่สุด ไม่มีผิดมีถูกมีแต่จะดีกว่า หรือแย่กว่า การทำแบบ ศิษย์นอกครู นั้นจึงความทำด้วยความรอบคอบ.
- ศิษย์ หมายถึง [สิดสะยะ-, สิด] น. ผู้ศึกษาวิชาความรู้จากครูหรืออาจารย์, คู่กับ ครู หรืออาจารย์, ผู้อยู่ในความคุ้มครองดูแลของอาจารย์ เช่น ศิษย์วัด, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่ศึกษาหาความรู้จากตำราของผู้ใดผู้หนึ่งแล้วนับถือผู้นั้นเป็นเสมือนครูบาอาจารย์ของตน. (ส.).
- นอก หมายถึง (๒) ว. พ้นออกไปจากภายในหรือร่วมใน เช่น นอกเรือน นอกประเทศ นอกกาย นอกตำแหน่ง, ต่างประเทศ เช่น ของนอก ไปนอก, เรียกเขตที่พ้นจากเมืองหลวงออกไป ว่า บ้านนอก, เรียกประเทศในทวีปยุโรปและอเมริกา ว่า เมืองนอก, เรียกผลไม้ที่เอามาจากนอกกรุงหรือเขตปริมณฑล เช่น เงาะนอก ทุเรียนนอก, คู่กับ ผลไม้ในกรุงหรือเขตปริมณฑล เช่น เงาะสวน ทุเรียนสวน.
- ครู หมายถึง [คฺรู] น. ผู้สั่งสอนศิษย์, ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์. (ป. ครุ, คุรุ; ส. คุรุ).
ตัวอย่างการใช้งาน สำนวน ศิษย์นอกครู ในประโยค
1. ศิษย์นอกครูอย่างเขาสอนไปก็เสียเวลา อาจารย์ก็หมดปัญญาที่จะสั่งสอนได้แล้ว
2. เขายืนยันว่าเขาไม่ใช่ศิษย์นอกครู วิชาความรู้ที่เอามาเผยแพร่นั้นเป็นสิ่งที่อาจารย์สั่งสอนมา เพียงแต่เขานำมาประยุกต์ให้เข้ากับแนวทางของเขาเท่านั้น
3. ขณะที่นักศึกษาทำการทดลองทางเคมีในห้องทดลอง มีนักศึกษาคนหนึ่งทำตัวเป็นหัวล้านนอกครู ไม่ปฎิบัติตามกฎระเบียบการใช้ห้องทดลอง จึงทำให้เกิดสารเคมีรั่วไหลกระจายไปทั่วห้อง
4. หากศิษย์ไม่อยู่ในฐานะที่จะอบรมสั่งสอนได้ เป็นศิษย์จำพวกนอกครู. ครูก็หมดปัญญาที่จะอบรมสั่งสอนเหมือนกัน
5. "อย่าเป็นศิษย์นอกคอก หัวล้านนอกครู ครูบาอาจารย์สอนอะไร ท่านก็ย่อมพิจารณาแล้ว ธรรมทั้งหลายที่มาสอนเรา ท่านก็ต้องเอาชีวิตเข้าแลกมา
6. ในอดีตเรื่องงราวของศิษย์ในดง และศิษย์นอกดงเคยโด่งดังมาก ... และต่อมาสักครู่อาจารย์ของข้าพเจ้าได้กระทำพิธีทางไสยศาสตร์
7. เพราะศิษย์คิดนอกครู ทำให้ครูรู้ไม่น่ามีศิษย์ กว่าศิษย์จะคิดได้ ก็คงหายไปหลายสิทธิ์ เพราะศิษย์ไม่รักดี ครูจึงหนี ไปจากศิษย์ หรือศิษย์มันรักดี
8. ในการที่จะศึกษาสิ่งต่างๆให้ถ่องแท้นั้นเราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทดลองและค้นหาด้วยตัวของเราเองบางทีนั้นจำเป็นจะต้องเป็นศิษย์นอกครูอยู่บ้างเพราะว่าความรู้ดังกล่าวนั้นคุณอาจจะยังไม่สามารถหาได้จากครูในๆเลยขึ้นจะทำให้คุณนั้นสามารถที่จะทำการค้นหาข้อสรุปในสิ่งที่คุณต้องการที่จะค้นหาได้อย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
9. สำนวนที่ว่าศิษย์นอกครูนั้นไม่ได้หมายถึงว่าเป็นคนไม่ดีแต่คำว่าศิษย์นอกครูนั้นจะหมายถึงการปฏิบัติหรือการทำสิ่งต่างๆแตกต่างจากสิ่งที่นิยมปฏิบัติกันมาซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้งข้อดีสิ่งดีหรือสิ่งไม่ดีก็เป็นได้ดังนั้นก่อนที่จะทำการพิจารณาทำสิ่งใดๆนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนที่จะลงมือปฏิบัติเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นให้มีน้อยที่สุดนั่นเอง