มดแดงเฝ้ามะม่วง หมายถึงอะไร ? สำนวน สุภาษิตไทยที่กล่าวว่า มดแดงเฝ้ามะม่วง หมายถึง (สำ) น. ชายที่ปองรักหญิงบ้านใกล้หรือที่อยู่ใกล้กัน และคอยกีดกันไม่ให้ชายอื่นมารัก, มดแดงแฝงพวงมะม่วง ก็ว่า. อ้างอิงจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔
สำนวน มดแดงเฝ้ามะม่วง ใช้ในการเปรียบเปรยถึง ชายที่ปองรักหญิงบ้านใกล้หรือที่อยู่ใกล้กัน โดยที่ผู้หญิงไม่รักตอบ และคอยกีดกันชายอื่น .
ที่มาของสำนวน มดแดงเฝ้ามะม่วง มดแดงแฝงพวงมะม่วง ปรากฏในบทกลอนเรื่องพระอภัยมณี ตอนศรีสุวรรณเกี้ยวนางเกษรา ว่า “เหมือนมดแดงแฝงพวงมะม่วงงอม เที่ยวไต่ตอมเต็มอยู่ไม่รู้รส” มดแดงนั้นมักจะสร้างรังอยู่บนต้นมะม่วง คนที่ขึ้นต้นมะม่วงไปเก็บลูกมะม่วงจะถูกมดแดงกัด ทำให้รู้สึกคล้ายกับว่า มดแดงคอยดูแลปกป้องลูกมะม่วง แต่มดแดงก็ไม่ได้กินมะม่วง ไม่รู้รสหวานของมะม่วง. คำว่า แฝง มีความหมายว่า แอบอยู่ เวลาปรกติเราอาจจะมองไม่เห็นมดแดง แต่พอขึ้นไปจะเก็บมะม่วง มดแดงก็จะออกมาจากรัง หรือออกจากที่หลบตัวอยู่ เปรียบว่าราวกับแอบซ่อนตัวอยู่ในพวงมะม่วง ด้วยลักษณะของมดแดงบนต้นมะม่วงนี้ คนไทยจึงเปรียบผู้ชายที่หลงรักผู้หญิง แต่ไม่มีทางที่จะได้ผู้หญิงคนนั้นมาเป็นคนรักหรือเป็นภรรยาว่า เป็นมดแดง หรือ มดแดงแฝงพวงมะม่วง
มดแดง หมายถึง น. ชื่อมดชนิด Oecophylla smaragdina (Fabricius) ในวงศ์ Formicidae มดงานลำตัวยาวประมาณ ๑ เซนติเมตร สีส้มหรือนํ้าตาลปนแดงตลอดรวมทั้งหนวดและขา ตาเล็ก สีนํ้าตาลแก่ ทำรังอยู่ตามต้นไม้ เช่น มะม่วง ขนุน โดยใช้ใบมาห่อเข้าด้วยกัน ขณะถูกรบกวนจะป้องกันตัวโดยกัดให้เกิดแผลแล้วปล่อยกรดออกมาทำให้ปวดแสบปวดร้อน เพศเมียที่มีปีก เรียก แม่เป้ง ลำตัวยาว ๑.๕-๑.๘ เซนติเมตร สีเขียวปนน้ำตาล ปีกใสสีน้ำตาล เมื่อผสมพันธุ์แล้วทำหน้าที่วางไข่เพียงอย่างเดียวเป็นมดนางพญา, มดส้ม ก็เรียก.
เฝ้า หมายถึง (๑) ก. ระวังดูแล, รักษา, เช่น เฝ้าไข้ เฝ้าขโมย เฝ้าบ้าน
มะม่วง หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นในสกุล Mangifera วงศ์ Anacardiaceae มีหลายชนิดและหลายพันธุ์ เช่น อกร่อง พิมเสน ซึ่งเป็นชนิด M. indica L., กะล่อน ขี้ไต้หรือมะม่วงป่า เป็นชนิด M. caloneura Kurz ใบอ่อนและผลใช้เป็นอาหาร.
ตัวอย่างการใช้งาน สำนวน มดแดงเฝ้ามะม่วง ในประโยค
1. ไม่อยากเชื่อเลยว่า ไอ้ป๋องเด็กเกเรคนนั้นจะกล้าทำอะไรที่หักหน้าพ่อกำนันถึงเพียงนี้ พวก มดแดงเฝ้ามะม่วง เห็นการกระทำของมันแล้วพลอยนึกไปถึงผู้ร้ายหนังไทยสมัยก่อน มันช่างชั่ว... ไม่อยากเชื่อเลยว่า
2. มดแดงเฝ้ามะม่วง ช่อมะม่วงพวงระย้าพากันเฝ้า ใครจักเอาไม้สอยต้องถอยหนี มดแดงน้อยคอยจ้องจองราวี ใครขืนมาย่ำยีมีเจ็บตัว ไม่เคยชิมลิ้มรสชาติอนาถนัก พลังรักภักดีมีถ้วนทั่ว.
3. เปรียบแล้วเหมือนกับมดแดงเฝ้ามะม่วง มดแดงเห็นไหม มดแดงมันเกาะอยู่ต้นมะม่วงน่ะ ... ปัญญาของโลกเป็นปัญญาของโลกเขา มดแดงเฝ้ามะม่วงมันไม่เคยได้ลิ้มรสของมะม่วง.
4. ตั้งใจฟังธรรมเทศนาต่อไป เคยเทศน์ให้ฟังถึงเรื่อง มดแดงเฝ้ามะม่วง หรือว่ามดแดงเฝ้ามะม่วงน่ะมันอยู่ที่คู่กับมะม่วง
5. แม้ฟังทุกวันก็ไม่ใช่รู้ เหมือนกับนกเฝ้ามะม่วง มดแดงเฝ้ามะม่วง กว่าจะเข้าใจจริงๆ ยังต้องใช้เวลาอีกยาวนาน ต้องลึกซึ้งมากในธรรมทั้งหลายด้วยการปฏิบัติ.
6. พฤติกรรมของมดแดงเช่นนี้ คนเราจึงเอาไปเปรียบกับคนที่ชอบหญิงสาว แล้วหญิงไม่สนใจ แต่ก็ยังกันท่าไม่ให้คนอื่นมาจีบ เลยถูกเรียกว่ามดแดงเฝ้ามะม่วง หรือมดแดงชอบกินมะม่วง
7. โอ้หนอตัวเรามันเหมือนมดแดงเฝ้ามะม่วง คอยรักคอยหวงดูแลตลอดเวลา ไม่เคยได้รับความเห็นใจจากกานดา ไม่เคยได้รับความเป็นจากกานดา แค่คนนั้นมาก็คว้าเจ้าไปเชยชม.
8. สุโขทัย ก็จึงลองไปสมัครดู ครูพิพัฒน์ได้ฟังเสียงก็รับเข้าอยู่ประจำวง และให้บันทึกเสียงเพลงชุดแรก คือ "มดแดงเฝ้ามะม่วง”และ “ลุงฉิ่ง” โดยตั้งชื่อให้ว่า “ดาว มรกต”.
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม สำนักงานราชบัณฑิตยสภา