-->

พลัดที่นาคาที่อยู่ หมายถึงอะไร ?





Laz Flash Sale ลดแรงกว่า 90%
ดีลจำกัดเวลา ให้คุณเลือกซื้อสินค้าราคาพิเศษได้ทุกวัน สินค้าลดราคากับ Flash Sale
Lazada แฟลชเซล จัดเต็มดีลฮิตทุกวัน ช้อปออนไลน์ 24 ชั่วโมง ☆ดีลจำกัดเวลาสุดฮอต ☆ลดราคาแรง ☆สินค้าหลากหลาย

ช้อปเลย





พลัดที่นาคาที่อยู่ หมายถึงอะไร ?



พลัดที่นาคาที่อยู่ หมายถึงอะไร ? สำนวน สุภาษิตไทยที่กล่าวว่า “พลัดที่นาคาที่อยู่” หมายถึง  (สำ) ก. พลัดพรากจากถิ่นฐานเดิม, ระหกระเหิน. อ้างอิงจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔ 



สำนวน พลัดที่นาคาที่อยู่ ใช้ในการเปรียบเปรยถึง การพลัดพรากจากถิ่นฐานเดิม ระหกระเหิน เร่ร่อน ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง

ที่มาของสำนวนว่า “พลัดที่นาคาที่อยู่” มาจาก  การสันนิษฐานว่า มูลเหตุของสำนวนเกิดจากการที่คนไทยมีอาชีพเกษตรกรรมทำนากันเป็นส่วนใหญ่ จึงมักหาทำเลที่อยู่ที่สามารถทำนาได้ อยู่ที่ไหนก็ทำนาที่นั่น หากต้องจากบ้านก็เท่ากับจากที่ทำกินด้วย จึงพูดเป็นสำนวนคู่กันว่า พลัดที่นาคาที่อยู่.
          พิจารณาจากความหมายของคำ น่าสงสัยตรงคำว่า คาที่อยู่ ซึ่งถ้าแปลตามตัว คำว่า คา แปลว่า ติดอยู่ ค้างอยู่. คาที่อยู่ จึงแปลว่า อยู่ติดที่อยู่ ไม่ได้ไปไหน ความขัดกัน. บางท่านจึงสันนิษฐานว่า สำนวนที่ถูกน่าจะเป็น พลัดที่นาคลาที่อยู่. คำว่า คลา (คฺลา) แปลว่า เคลื่อน. เพราะออกเสียง คลา ไม่ชัด จึงกลายเป็น คา ผิดความหมายไป.
           แต่ถ้าจะพิจารณาลักษณะของสำนวนในภาษาไทย บางสำนวนนำคำที่มีความหมายตรงกันข้ามมาเสริมความก็ได้ เช่น ต้องการรู้ความจริง พูดว่า ข้อเท็จจริง. อยากรู้ว่าไปไหน พูดว่า จะไปไหนมาไหน. จะพูดว่า พลัดที่นา จึงเอาคำตรงข้ามว่า คาที่อยู่ มาเสริม ก็ได้.

  • พลัด หมายถึง (๑)  [พฺลัด] ก. พลาด หลุด หรือหล่นไปจากที่ใดที่หนึ่งโดยไม่ได้ตั้งใจ เช่น ของพลัดจากมือ เด็กพลัดจากต้นไม้
  • ที่ หมายถึง (๑) น. แหล่ง, ถิ่น, เช่น ที่ประกอบอาชีพ ที่ทำมาหากิน, สถานที่ เช่น ที่ประชุม ที่พัก, ตำแหน่งแห่งที่ เช่น เอาของวางไว้ให้ถูกที่
  • นา หมายถึง น. พื้นที่ราบทำเป็นคันกั้นนํ้าเป็นแปลง ๆ สำหรับปลูกข้าวเป็นต้น, พื้นที่มีลักษณะคล้ายนาสำหรับทำประโยชน์อื่น ๆ เรียกตามสิ่งที่ทำ เช่น นาเกลือ นากุ้ง, ใช้ประกอบกับคำอื่นที่เกิดหรือเกี่ยวข้องกับนา เช่น เต่านา ปูนา.
  • คา หมายถึง (๑) ก. ค้างอยู่, ติดอยู่, เช่น ข้าวคาปาก คาถ้วยคาชาม.
  • อยู่ หมายถึง (๑)  [หฺยู่] ก. พัก, อาศัย, เช่น เขาอยู่บ้านหลังนี้

ตัวอย่างการใช้งาน สำนวน “พลัดที่นาคาที่อยู่” ในประโยค

1. เมื่อมานะต้องสูญเสียคุณพ่อที่เป็นเสาหลักของครอบครัว เขากับแม่ก็ต้องพลัดที่นาคาที่อยู่ เพราะถูกเจ้าหนี้บีบบังคับให้ออกจากที่ดินที่เคยอาศัยอยู่
2. เมื่อเกิดเหตุการณ์ภัยพิบัติรุนแรงครั้งใหญ่ ก็ทำให้ชาวบ้านหลายครัวเรือนอยู่กันอย่างยากลำบาก อาหารและเครื่องอุปโภคบริโภคขาดแคลน ซ้ำร้ายหลายๆคนต้องพลัดที่นาคาที่อยู่
3. เมื่อแดงได้สูญเสียคุณพ่อที่เป็นเสาหลักของครอบครัวไปแล้ว   เขากับแม่ก็ต้องพลัดที่นาคาที่อยู่ เพราะ ถูกเจ้าหนี้บังคับให้ออกจากบ้านที่เคยอาศัยอยู่ …
4. วันนี้ ถ้าผมพูดว่า “พลัดที่นาคลาที่อยู่” คงถูกหัวเราะแน่ๆ  อีกไม่นานคนก็คงหัวเราะเหมือนกันถ้าได้ยินเสียงควบกล้ำของคำ  “คลี่คลาย”  “กลาง” “ครั้ง” “คลัง” “พร้อม” และของคำอื่นๆอีกมากมาย
5. คนไม่เคยพลัดที่นาคาที่อยู่ คงไม่รู้ว่าเจ็บร้าวหนาวเพียงไหน คนไม่เคยโดนต้อนเข้าฟอนไฟ จะรู้สึกอย่างไรว่าไฟร้อน
6. ยังมีอีกหลายชีวิตที่ได้รับบาดเจ็บ ถูกทรมาน ถูกข่มขืนกระทำชำเรา ถูกทำร้าย ถูกทำให้สูญหาย ถูกลักพาตัว หรือต้องพลัดที่นาคาที่อยู่ มากกว่านั้นคือคนที่ไม่สามารถเข้าถึงอาหาร.
7. ในตอนกลางของรัฐฉาน ส่งผลให้ประชาชนกว่า 300,000 คนต้องพลัดที่นาคาที่อยู่ ชาวบ้านหลายร้อยคนถูกทรมาน ถูกสังหาร.
8. หนังเรื่องนี้แตกต่างจากหนังคริสต์มาสทั่วๆ ไป เพราะนี่เป็นหนังเกี่ยวกับคนอพยพ หรือคนไร้บ้าน ดังที่จั่วหัวข้อไว้ข้างบน ไม่ว่าจะพลัดที่นาคาที่อยู่ด้วยเหตุผลทางการเมือง

แหล่งข้อมูลอ้างอิง : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา