สำนวน “ฝนตกขี้หมูไหล คนจัญไรมาพบกัน” ใช้ในการเปรียบเปรยถึง คนไม่ดีเมื่อมาพบกันก็มักจะชักชวนกันทำในสิ่งที่ไม่ดี โดยที่ไม่มีใครห้ามปรามใคร มีแต่ส่งเสริมกันให้ทำชั่ว
ที่มาของสำนวน “ฝนตกขี้หมูไหล คนจัญไรมาพบกัน” สำนวนนี้มาจากการเลี้ยงหมูในสมัยก่อนที่จะนิยมเลี้ยงไว้ใกล้บ้าน และเมื่อมีฝนตกมาก็จะชะเอาชี้หมูมากองรวมกันไว้ตามร่องน้ำ ซึ่งนอกจากจะสกปรกแล้วยังส่งกลิ่นเหม็นมากขึ้นด้วย ดังนั้นจึงได้มีการนำเอาประโยคดังกล่าวมาใช้ในการเปรียบเปรยถึงคนเลวที่มารวมตัวกัน มักจะชักชวนกันทำแต่เรื่องเสื่อมเสีย ฉาวโฉ่นั่นเอง
- ฝนตก หมายถึง (๑) น. นํ้าที่ตกลงมาจากเมฆเป็นเม็ด ๆ
- ขี้ หมายถึง (๑) ก. ถ่ายกากอาหารออกทางทวารหนัก, ถ่ายอุจจาระ, ราชาศัพท์ว่า ลงพระบังคนหนัก.
- หมู หมายถึง (๑) น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิด ในวงศ์ Suidae เป็นสัตว์กีบคู่ ตัวอ้วน จมูกและปากยื่นยาว ปลายจมูกบานใช้สำหรับดุนดินหาอาหาร อาการเช่นนี้เรียกว่า ดุด ขนลำตัวแข็งอาจยาวหรือสั้น มีเขี้ยว ๒ คู่ กินทั้งพืชและสัตว์ มีทั้งที่เป็นสัตว์เลี้ยงและที่เป็นสัตว์ป่า หาอาหารโดยใช้จมูกดุด
- ไหล หมายถึง ก. เคลื่อนที่ไปอย่างของเหลวเช่นนํ้า, เลื่อนไป.
- คน หมายถึง น. มนุษย์.
- จัญไร หมายถึง ว. เลวทราม, เป็นเสนียด, ไม่เป็นมงคล, จังไร ก็ว่า.
- มา หมายถึง ก. เคลื่อนออกจากที่เข้าหาตัวผู้พูด เช่น มานี่ มาหาฉันหน่อย เขาบอกว่าจะมาแล้วไม่มา, ตรงกันข้ามกับ ไป, เป็นคำประกอบกริยาแสดงทิศทางเข้าหาตัวผู้พูด เช่น หันมาทางนี้ เอามานี่, ใช้ในการเขียนจดหมายทางการ ใช้แสดงทิศทางสู่ตัวผู้ที่เขียนถึง เช่น พรุ่งนี้ผมจะมาหาคุณ, ซึ่งเป็นคำประกอบกริยาแสดงอาการที่ต่อเนื่องเรื่อยมาถึงปัจจุบัน เช่น ความเป็นมา อยู่มาวันหนึ่ง ส่งจดหมายบอกข่าวมา.
- พบ หมายถึง ก. เห็น (ใช้แก่อาการเห็นซึ่งต่อเนื่องกับกิริยาอื่น เช่น ขุดพบ ค้นพบ ไปพบ หาพบ), ปะ, ประสบ, เจอะ, เจอ, เช่น พบเพื่อน พบอุปสรรค.
- กัน หมายถึง ว. คำประกอบท้ายกริยาของผู้กระทำตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป แสดงการกระทำร่วมกัน อย่างเดียวกัน หรือต่อกัน เช่น คิดกัน หารือกัน.
ตัวอย่างอย่างการใช้งาน สำนวน ฝนตกขี้หมูไหล คนจัญไรมาพบกัน ในประโยค
1. พอมีงานเทศกาลทีไรพวกนักเลงอันธพาลต่างก็มาเที่ยวเตร่กันอย่างมากมาย บ้างก็ดื่มสุราอาละวาด แล้วยกพวกตีกัน ไม่ว่างานไหนงานนั้น มันเหมือนกับที่เขาพูดว่า “ ฝนตกขี้หมูไหล คนจัญไรมาพบกัน ”2. ฝนตกขี้หมูไหลจริงๆ คนคู่นี้ ทั้งหัวหน้าทั้งลูกน้องชวนกันไปเหลวไหลเมาหัวราน้ำทุกวัน ไม่เป็นอันทำงาน
3. ฝนตกขี้หมูไหลแท้ๆ ตั้งแต่ 2 คนนี้ได้มาเจอกันก็ชวนกันไปมั่วสุมเสพยาเสพติดไม่เว้นวัน
4. การมีเพื่อนคู่ชี้ บางคู่ชอบอบายมุข เจอกันเมือไร ก็เหมือน ฝนตกขี้หมูไหล คนจัญไรมาพบกัน พากันทำตัวเหลวไหล เมา ข้ามวันข้ามคืน ไม่เป็นอันทำงานทำการ
5. สร้างความเดือดร้อน รำคาญให้ชาวบ้านที่อยู่ใกล้เคียง และ ผู้สัญจรไปมา จะมีการต่อเติมถ้อยคำบางคำเข้าไปท้ายสำนวนนี้เป็น “ฝนตกขี้หมูไหล คนจัญไรมาพบกัน” .
6. ฝนตกขี้หมูไหล โบราณท่านนิยมใช้เปรียบเทียบว่า เมื่อคนสองคนหรือมากกว่ามาอยู่ร่วมกัน แทนที่จะช่วยกันทำงานทำการให้ลุล่วง กลับพากันเหลวไหลจนไม่ได้การได้งาน พากันชวนคุย เที่ยวเตร่ หรือชักชวนกันออกนอกลู่นอกทาง ไม่ได้เรื่องไม่ได้ราวอะไรเลย สำนวนไทยคำานี้บางครั้งก็พูดว่า ฝนตกขี้หมูไหล คนอะไรมาพบกัน หรือ ฝนตกขี้หมูไหล คนจัญไรมาพบกัน เป็นต้น
อ้างอิง : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา