สำนวน บัวไม่ช้ำ น้ำไม่ขุ่น ใช้ในการเปรียบเปรยถึง การรู้จักถนอมน้ำใจกัน ไม่ให้ขัดแย้งขุ่นเคือง หรือกระทบกระเทือนจิตใจกัน มีความผ่อนปรน ไม่ยึดติดจนเกินไป
ที่มาของสำนวน บัวไม่ช้ำ น้ำไม่ขุ่น เปรียบเทียบได้กับการเก็บดอกบัวในน้ำ โดยดอกบัวนั้นปกติจะมีเหง้าอยู่ใต้โคลนในน้ำ ส่วนดอกบัวนั้นก็จะเป็นส่วนที่โผล่พ้นน้ำ การจะเก็บดอกบัวเพื่อไม่ให้กระทบกระเทือนมากนั้นจะต้องดึงก้านดอกบัวเบาๆช้าๆ ไม่ให้กระทบกระเทือนกับก้านดอกบัว และ กอบัวมากไปจนทำให้น้ำในโคลนตมฟุ้งกระจายขึ้นมา จนทำให้น้ำขุ่น
- บัว หมายถึง (๑) น. ชื่อเรียกไม้นํ้าหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ คือ ในสกุล Nelumbo วงศ์ Nelumbonaceae มีเหง้ายาวทอดอยู่ในตม ใบเป็นแผ่นกลม ขอบเรียบ อยู่ห่าง ๆ กัน ก้านใบและก้านดอกแข็ง มีหนามสากคาย ชูใบและดอกขึ้นพ้นผิวนํ้า เช่น บัวหลวง (N. nucifera Gaertn.) ดอกสีขาวหรือชมพู กลิ่นหอม, ปัทม์ ก็เรียก, พันธุ์ดอกป้อมสีขาว เรียก สัตตบุษย์ พันธุ์ดอกป้อมสีชมพู เรียก สัตตบงกช ดอกใช้ในงานพิธีต่าง ๆ เมล็ดกินได้, ในสกุล Nymphaea วงศ์ Nymphaeaceae มีเหง้าสั้นอยู่ในตม ใบเป็นแผ่นกลม ขอบเรียบหรือจัก อยู่ชิดกันเป็นกระจุก ก้านใบและก้านดอกอ่อนไม่มีหนาม ใบลอยอยู่บนผิวนํ้า ดอกโผล่ขึ้นพ้นผิวนํ้า ผลจมอยู่ในนํ้าเรียก โตนด เช่น บัวสาย (N. lotus L. var. pubescens Hook.f. et Thomson) ขอบใบจัก ดอกสีขาวหรือแดง ก้านดอกเรียก สายบัว กินได้ พันธุ์ดอกสีขาว เรียก สัตตบรรณ บัวเผื่อน (N. nouchaliBurm.f.) ขอบใบเรียบ ดอกสีม่วงอ่อน, ในสกุล Victoria วงศ์ Nymphaeaceae เช่น บัวขอบกระด้งหรือบัววิกตอเรีย [V. amazonica (Poeppig) Sowerby] มีเหง้าสั้นอยู่ในตม ใบเป็นแผ่นกลมใหญ่ ขอบยกขึ้นคล้ายกระด้ง ลอยอยู่บนผิวนํ้า ใต้ใบ ก้านดอก และด้านนอกของกลีบดอกชั้นนอกมีหนามแหลม ดอกใหญ่ สีขาว หอมมาก
- ไม่ หมายถึง ว. มิ, คำปฏิเสธความหมายของคำที่อยู่ถัดไป เช่น ไม่กิน ไม่ดี, ถ้าอยู่ท้ายคำ ต้องมีคำ หา อยู่หน้า เช่น หากินไม่.
- ช้ำ หมายถึง ว. น่วมระบมเพราะถูกกระทบกระแทกอย่างแรงหรือบ่อย ๆ เช่น มะม่วงชํ้า, เป็นรอยจํ้า ๆ อย่างรอยฟกชํ้าดำเขียว, เรียกสิ่งที่ถูกใช้งานหรือถูกจับต้องบ่อย ๆ จนมีสภาพทรุดโทรม เช่น หนังสือเล่มนี้คนยืมไปใช้บ่อย ช้ำหมดแล้ว.
- น้ำ หมายถึง (๑) น. สารประกอบซึ่งมีองค์ประกอบเป็นธาตุไฮโดรเจนและออกซิเจนในอัตราส่วน ๑ : ๘ โดยนํ้าหนัก เมื่อบริสุทธิ์มีลักษณะเป็นของเหลว ใส ไม่มีสี กลิ่น รส มีประโยชน์มาก เช่นใช้ดื่ม ชำระล้างสิ่งสกปรก, โบราณถือว่าเป็น ธาตุ ๑ ในธาตุ ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม, ใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะเป็นนํ้าหรือเหลวเหมือนนํ้า เช่น นํ้าตา นํ้าปลา นํ้าส้ม
- ขุ่น หมายถึง ว. มีลักษณะมัว ไม่ใส ไม่ชัดเจน.
ตัวอย่างการใช้งาน สำนวน บัวไม่ช้ำ น้ำไม่ขุ่น ในประโยค
1. ไม่กล้าร้องเรียนถึงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ของเขา ผมมาใหม่ทําให้ผมคิดมากว่าจะจัดการกับลูกน้อง มาเฟียคนนี้อย่างไรดีจึงจะทํางานร่วมกันแบบบัวไม่ให้ช้ำ นําไม่ให้ขุ่น ..2. วันนี้อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาวันหน้า แต่จะ “ไม่” อย่างไรให้บัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่นกัน วันนี้เรามีศิลปะการตอบปฏิเสธอย่างมีชั้นเชิงมาเสนอค่ะ
3. 5 เทคนิคการปฏิเสธแบบบัวไม่ให้ช้ำน้ำไม่ให้ขุ่น. การที่มีคนมาขอความช่วยเหลืออะไรสักอย่างแล้วเราจะตอบว่า "ไม่" นั้นมันพูดออกมายากเหลือเกิน.
4. "บัวไม่ให้ช้ำ น้ำไม่ให้ขุ่น" ดูเหมือนว่าจะไม่ค่อยได้นำมาใช้กันมากนัก... การจะนำคำ ๆ นี้ มาใช้ ดูเหมือนจะเป็นลักษณะของคนที่มีความเคารพ ยำเกรง เกรงใจผู้อื่น .
5. "ยุคบัวไม่ให้ชํ้า นํ้าไม่ให้ขุ่น" เมื่อการพัฒนาเศรษฐกิจมีความก้าวหน้ามากขึ้น แต่ละคนก็มีเสรีภาพในการทำงานมากขึ้น จึงเกิดการย้ายถิ่นเพื่อไปทำงาน.
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม สำนักงานราชบัณฑิตยสภา