สำนวน น้ำสั่งฟ้า ปลาสั่งฝน ใช้ในการปรียบเปรยถึง การสั่งเสียเป็นครั้งสุดท้าย หรือการทำสิ่งสำคัญบางอบ่าง เพื่อที่จะไว้อาลัยก่อนจากไป
ที่มาของสำนวน น้ำสั่งฟ้า ปลาสั่งฝน ในตอนปลายฤดูฝนนั้นหลังจากจะมีฝนสุดท้ายของฤดูฝนตกลงมา คือฝนที่จะตกเป็นครั้งสุดท้าย สิ้นฤดูแล้วไม่ตกต่อไปซึ่งเปรียบเสมือนการสั่งลาฤดูฝนครั้งสุดท้ายในปีนี้ ปลาสั่งฝน...เมื่อสิ้นฤดูฝน ฝนไม่ตกแล้ว น้ำก็ลดแห้ง ปลาก็จากที่อยู่ จากห้วยหนองคลองบึง ดังนั้น การสั่งลากันเป็นครั้งสุดท้าย จึงมักนำมาเปรียบเทียบกับ น้ำสั่งฟ้า ปลาสั่งฝน นั่นเอง
- น้ำ หมายถึง (๑) น. สารประกอบซึ่งมีองค์ประกอบเป็นธาตุไฮโดรเจนและออกซิเจนในอัตราส่วน ๑ : ๘ โดยนํ้าหนัก เมื่อบริสุทธิ์มีลักษณะเป็นของเหลว ใส ไม่มีสี กลิ่น รส มีประโยชน์มาก เช่นใช้ดื่ม ชำระล้างสิ่งสกปรก, โบราณถือว่าเป็น ธาตุ ๑ ในธาตุ ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม, ใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะเป็นนํ้าหรือเหลวเหมือนนํ้า เช่น นํ้าตา นํ้าปลา นํ้าส้ม
- สั่ง หมายถึง (๑) ก. บอกไว้เพื่อให้ทำหรือให้ปฏิบัติเป็นต้น เช่น ครูสั่งให้นักเรียนทำการบ้าน แม่สั่งให้ถูบ้าน
- ฟ้า หมายถึง (๑) น. ส่วนเบื้องบนที่มองเห็นครอบแผ่นดินอยู่ เช่น ดาวเต็มฟ้า, อากาศ เช่น ฟ้าครึ้ม ยิงปืนขึ้นฟ้า
- ปลา หมายถึง [ปฺลา] น. ชื่อสัตว์น้ำเลือดเย็นมีกระดูกสันหลัง ร่างกายแบ่งเป็นส่วนหัว ลำตัว และหาง หายใจด้วยเหงือกยกเว้นปลาปอด มีครีบใช้ช่วยในการเคลื่อนไหวและทรงตัว บางชนิดมีเกล็ด บางชนิดไม่มี รูปร่างลักษณะ ขนาด และพฤติกรรมแตกต่างกันมากมาย กินทั้งพืชและสัตว์ พบในแหล่งนํ้าทั่วไป.
- ฝน หมายถึง (๑) น. นํ้าที่ตกลงมาจากเมฆเป็นเม็ด ๆ
ตัวอย่างการใช้งาน สำนวน น้ำสั่งฟ้า ปลาสั่งฝน ในประโยค
1. น่าสงสารผู้หญิงคนนี้เธอถูกพรากลูกไปจากอ้อมกอด ถูกครอบครัวฝ่ายชายกีดกันไม่ให้มายุ่งเกี่ยวกับลูกอีก แม่และลูกจึงพากันร้องไห้ระงม บอกร่ำลาเหมือนน้ำสั่งฟ้า ปลาสั่งฝน2. แม่ และ ลูก กอดกันร้องไห้ คุณแม่ได้พร่ำรำพันสั่งเสียลูกอยู่นานประดุจดัง “ น้ำสั่งฟ้า ปลาสั่งฝน ” อย่างไรก็อย่างนั้น
3. เมื่อหมดอํานาจความชั่วที่ทําไว้ก็ปรากฏ น้ำสั่งฟ้า ปลาสั่งฝน ฝนสั่งฟ้า ปลาสั่งหนอง สั่งเสียเป็นครั้งสุดท้าย
4. วันนี้ป้าดูแปลก ๆ ไปอยู่ ๆ ก็เรียกไปพูดคุยอย่างกับน้ำสั่งฟ้า ปลาสั่งฝน
5. แกจะพูดเป็นน้ำสั่งฟ้า ปลาสั่งฝนทำไม ยังไงเสียแกก็ยังทำงานอยู่ที่นี่อีกนาน
6. คำสั่งเสียของคุณตานี้ เหมือนน้ำสั่งฟ้าปลาสั่งฝนเลยนะ.
7. ฝนสั่งฟ้า ปลาสั่งหนอง เป็นสำนวน หมายถึง สั่งเสียเป็นครั้งสุดท้าย ทำการอันใดที่เป็นสิ่งสำคัญเพื่อไว้อาลัยก่อนจากไป บางทีก็ใช้เป็นว่า น้ำสั่งฟ้า ปลาสั่งฝน.
8. ฝนสั่งฟ้า ปลาสั่งน้ำ สำนวนเดิมใช้ "น้ำสั่งฟ้า ปลาสั่งฝน" ปัจจุบันเปลี่ยนเป็น "ฝนสั่งฟ้าปลาสั่งน้ำ" ซึ่งสำนวนปัจจุบันน่าจะใช้คำได้ตรงความหมายว่า เพราะฝนเป็นสิ่งที่ตกจากฟ้า เมื่อตกมากจึงเปรียบเหมือน "ฝนสั่งฟ้า" ปลาเป็นสัตว์น้ำ เมื่อฝนตกก็จะกระโดดออกมาจากบ่อน้ำเก่า จึงเปรียบว่า "ปลาสั่งน้ำ"
9. ที่ไม่รู้ความไปใช้สำนวนกันว่า “ฝนสั่งฟ้า ปลาสั่งน้ำ” เพราะนึกถึงภาพพจน์และความเป็นไปในธรรมชาติเอาเองคือเหมาเอาว่า เมื่อฝนสั่งฟ้าแล้วจะเกิดความแห้งแล้ง แล้วปลามันก็รู้ตัวว่าจะต้องตาย ก็เลยสั่งน้ำไปพร้อม ๆ กับฝนฟ้าที่สั่งกัน
แหล่งข้อมูลเพิ่มติม สำนักงานราชบัณฑิตยสภา