สำนวน น้ำตาลใกล้มดใครจะอดได้ ใช้ในการเปรียบเปรยถึง ผู้ชายและผู้หญิงที่อยู่ใกล้ชิดสนิทสนมกัน ใช้เวลาอยู่ด้วยกันมาก ๆ ก็ห้ามใจที่จะไม่ให้รักกันชอบกันได้ยาก เพราะความใกล้ชิดนั้นนานวันเข้าอาจจะเกิดเป็นความรักได้
ที่มาของสำนวน "น้ำตาลใกล้มดใครจะอดได้" มาจากการเปรียบเทียบถึง มดเป็นสัตว์ที่ชอบน้ำตาล หากมดอยู่ใกล้น้ำตาลแล้วก็อดไม่ได้ที่จะเข้าใกล้น้ำตาลและมาขโมยไปกิน ในปัจจุบันสำนวนนี้มักเปรียบเปรยถึง คู่รักที่ห่างกันไป และไปเจอคนใหม่ที่ใกล้ชิดกว่า โอกาสที่จะมีความสัมพันธ์ก็มีมากขึ้นนั่นเอง
- น้ำตาล หมายถึง (๑) น. สารประกอบคาร์โบไฮเดรตประเภทโมโนแซ็กคาไรด์และไดแซ็กคาไรด์ ซึ่งมีรสหวาน โดยมากได้จากตาล มะพร้าว อ้อย, ถ้าเป็นความหมายเฉพาะอย่างและทำด้วยอะไร ก็เติมคำนั้น ๆ ลงไป เช่น ทำจากตาล เรียกว่า นํ้าตาลโตนด, ทำจากมะพร้าว เรียกว่า นํ้าตาลมะพร้าว, ทำจากอ้อย แต่ยังไม่ได้ทำให้เป็นนํ้าตาลทราย เรียกว่า นํ้าตาลทรายดิบ, ทำเป็นเม็ด ๆ เหมือนทราย เรียกว่า นํ้าตาลทราย, ทำเป็นผงละเอียดหรือจับกันเป็นก้อน ๆ สีนํ้าตาล เรียกว่า นํ้าตาลทรายแดง, ทำเป็นก้อนแข็งเหมือนกรวด เรียกว่า นํ้าตาลกรวด, ทำเป็นงบ เรียกว่า นํ้าตาลงบ, เคี่ยวให้ข้น ๆ เรียกว่า นํ้าตาลตงุ่น, หยอดใส่ใบตาลหรือใบตองแห้งทำเป็นรูปปี่ เรียกว่า นํ้าตาลปี่, หยอดเป็นปึก เรียกว่า นํ้าตาลปึก, หยอดใส่หม้อ เรียกว่า นํ้าตาลหม้อ, บรรจุใส่ปีบ เรียกว่า น้ำตาลปีบ หรือ น้ำตาลปี๊บ, รองมาใหม่ ๆ ยังไม่ได้เคี่ยว เรียกว่า นํ้าตาลสด, ถ้าต้มให้เดือด เรียกว่า นํ้าตาลลวก, ถ้าใส่เปลือกตะเคียน มะเกลือ หรือเคี่ยม เป็นต้น หมักไว้ระยะหนึ่งจนมีแอลกอฮอล์ กินแล้วเมา เรียกว่า นํ้าตาลเมา.
- ใกล้ หมายถึง [ไกฺล้] ว. จวน, เกือบ, เคียง, ไม่ห่าง.
- มด หมายถึง น. ชื่อแมลงหลายชนิดในวงศ์ Formicidae ส่วนท้องปล้องที่ ๑ หรือปล้องที่ ๑ และปล้องที่ ๒ ที่ติดกับอกคอดกิ่ว ด้านหลังส่วนที่คอดมีโหนกนูน ลักษณะนี้ทำให้มดแตกต่างไปจากต่อ แตน และปลวก มีรูปร่าง ลักษณะ สี และกลิ่นแตกต่างกันตามชนิด เดินกันเป็นทางเพื่อขนอาหาร หรือย้ายรัง เป็นแมลงสังคม ทำรังอยู่เป็นกลุ่ม แบ่งชั้นวรรณะเป็นมดนางพญา มดผู้ และมดงาน มดงานเป็นมดเพศเมียที่เป็นหมันทำหน้าที่สร้างรัง เลี้ยงดูตัวอ่อน และหาอาหาร บางชนิดเมื่อถูกรบกวนจะป้องกันตัวโดยใช้อวัยวะต่อยปล่อยกรดหรือกัดให้เกิดแผลและปล่อยกรดออกมาทำให้เกิดอาการระคายเคืองหรือทำให้เจ็บปวดได้.
- ใคร หมายถึง [ไคฺร] ส. คนไหน, ผู้ใด, ใช้เป็นคำถาม เช่น ใครมา เขาไปกับใคร.
- จะ หมายถึง เป็นคำช่วยกริยาบอกอนาคต เช่น จะไป จะอยู่.
- อด หมายถึง (๑) ก. กลั้น เช่น เหลืออด, งดเว้น เช่น อดฝิ่น อดอาหาร
- ได้ หมายถึง (๑) ก. รับมาหรือตกมาเป็นของตัว เช่น ได้เงิน ได้ลูกได้แผล
ตัวอย่างการใช้งาน สำนวน "น้ำตาลใกล้มดใครจะอดได้" ในประโยค
1. คุณก็อย่าไปขวางหนุ่มสาวคู่นี้เลย ทั้งสองคนสนิมสนมกันมาแต่เล็กแต่น้อย โตมาก็ยังคอยดูแลช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ถ้าเขาสองคนจะรักกันก็คงไม่แปลก น้ำตาลใกล้มด ใครจะอดได้จริงไหม2. คุณก็อย่าไปขวางหนุ่มสาวคู่นี้เลย ทั้งสองคนสนิมสนมกันมาแต่เล็กแต่น้อย โตมาก็ยังคอยดูแลช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ถ้าเขาสองคนจะรักกันก็คงไม่แปลก น้ำตาลใกล้มดใครจะอดได้จริงไหม
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม : สำนักงานราชบัณฑิตยสภา