สำนวน น้ำมาปลากินมดน้ำลดมดกินปลา ใช้ในการเปรียบเปรยถึง โอกาสของใครก็เป็นของคนนั้น ซึ่งใครที่ได้โอกาสที่ดี ก็เป็นทีของเขา ซึ่งจะได้เปรียบกว่าผู้อื่นก็เพราะเป็น โอกาสของเขา
ที่มาของสำนวน น้ำมาปลากินมดน้ำลดมดกินปลา นั้นมาจาก การเปรียบเทียบถึงเมื่อมี น้ำท่วม มดก็จะจมน้ำและถูกปลากิน แต่หากน้ำแห้งปลาก็จะถูกมดกัดกินได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับจังหวะ ว่าใครจะได้เปรียบเสียเปรียบ ตามเหตุและปัจจัยต่างๆที่เอื้อให้ได้เปรียบหรือเสียเปรียบนั่นเอง
- น้ำ หมายถึง (๑) น. สารประกอบซึ่งมีองค์ประกอบเป็นธาตุไฮโดรเจนและออกซิเจนในอัตราส่วน ๑ : ๘ โดยนํ้าหนัก เมื่อบริสุทธิ์มีลักษณะเป็นของเหลว ใส ไม่มีสี กลิ่น รส มีประโยชน์มาก เช่นใช้ดื่ม ชำระล้างสิ่งสกปรก, โบราณถือว่าเป็น ธาตุ ๑ ในธาตุ ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม, ใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะเป็นนํ้าหรือเหลวเหมือนนํ้า เช่น นํ้าตา นํ้าปลา นํ้าส้ม
- มา หมายถึง ก. เคลื่อนออกจากที่เข้าหาตัวผู้พูด เช่น มานี่ มาหาฉันหน่อย เขาบอกว่าจะมาแล้วไม่มา, ตรงกันข้ามกับ ไป, เป็นคำประกอบกริยาแสดงทิศทางเข้าหาตัวผู้พูด เช่น หันมาทางนี้ เอามานี่, ใช้ในการเขียนจดหมายทางการ ใช้แสดงทิศทางสู่ตัวผู้ที่เขียนถึง เช่น พรุ่งนี้ผมจะมาหาคุณ, ซึ่งเป็นคำประกอบกริยาแสดงอาการที่ต่อเนื่องเรื่อยมาถึงปัจจุบัน เช่น ความเป็นมา อยู่มาวันหนึ่ง ส่งจดหมายบอกข่าวมา.
- ปลา หมายถึง [ปฺลา] น. ชื่อสัตว์น้ำเลือดเย็นมีกระดูกสันหลัง ร่างกายแบ่งเป็นส่วนหัว ลำตัว และหาง หายใจด้วยเหงือกยกเว้นปลาปอด มีครีบใช้ช่วยในการเคลื่อนไหวและทรงตัว บางชนิดมีเกล็ด บางชนิดไม่มี รูปร่างลักษณะ ขนาด และพฤติกรรมแตกต่างกันมากมาย กินทั้งพืชและสัตว์ พบในแหล่งนํ้าทั่วไป.
- กิน หมายถึง (๑) ก. เคี้ยว เช่น กินหมาก, เคี้ยวกลืน เช่น กินข้าว, ดื่ม เช่น กินนํ้า, ทำให้ล่วงลำคอลงไปสู่กระเพาะ
- มด หมายถึง น. ชื่อแมลงหลายชนิดในวงศ์ Formicidae ส่วนท้องปล้องที่ ๑ หรือปล้องที่ ๑ และปล้องที่ ๒ ที่ติดกับอกคอดกิ่ว ด้านหลังส่วนที่คอดมีโหนกนูน ลักษณะนี้ทำให้มดแตกต่างไปจากต่อ แตน และปลวก มีรูปร่าง ลักษณะ สี และกลิ่นแตกต่างกันตามชนิด เดินกันเป็นทางเพื่อขนอาหาร หรือย้ายรัง เป็นแมลงสังคม ทำรังอยู่เป็นกลุ่ม แบ่งชั้นวรรณะเป็นมดนางพญา มดผู้ และมดงาน มดงานเป็นมดเพศเมียที่เป็นหมันทำหน้าที่สร้างรัง เลี้ยงดูตัวอ่อน และหาอาหาร บางชนิดเมื่อถูกรบกวนจะป้องกันตัวโดยใช้อวัยวะต่อยปล่อยกรดหรือกัดให้เกิดแผลและปล่อยกรดออกมาทำให้เกิดอาการระคายเคืองหรือทำให้เจ็บปวดได้.
- ลด หมายถึง ก. น้อยลง ตํ่าลง หรือทำให้น้อยลงตํ่าลงกว่าที่มีอยู่เป็นอยู่แต่เดิม เช่น น้ำลด ลดโทษ ลดราคา ลดน้ำหนัก ไข้ลด ลดธงลงจากเสา, ผ่อนลง เช่น ลดฝีเท้า ลดฝีจักร ลดระดับ ลดเสียง, เอาออก เช่น ลดฝาเรือนออกด้านหนึ่งทำให้ห้องโล่งขึ้น, หย่อนตัวลงนั่งหรือนอน เช่น ลดตัวลงนั่ง.
ตัวอย่างการใช้งาน สำนวน น้ำมาปลากินมดน้ำลดมดกินปลา ในประโยค
1. ถ้าสู้กันโอกาสชนะน่าจะมากกว่า แต่จริงๆแล้วบอกไม่ได้ว่าใครจะชนะ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่มดและปลาอยู่ ดังเช่นสุภาษิตไทยที่ว่า “น้ำมาปลากินมด น้ำลดมดกินปลา” .2. ในธรรมชาติ สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งใช้ประโยชน์จากสิ่งมีชีวิตอื่นเป็นเรื่องปกติ สลับกันไป น้ำมาปลากินมด น้ำลดมดกินปลา ต่างใช้ประโยชน์จากอีกฝ่ายเมื่อมีโอกาส
3. น้ำมาปลากินมด น้ำลดมดกินปลา. ความหมาย โอกาสของใครคนนั้นก็จะกระทำการได้เปรียบกว่าอีกฝ่าย แต่เมื่อถึงโอกาสของอีกฝ่าย ฝ่ายนั้นก็จะได้เปรียบบ้างเช่นกัน
4. น้ำมาปลากินมดน้ำลดมดกินปลา แต่อย่าเงื้อง่าต้องกดดันรัฐบาลเร่งลงสัตยาบันโรมลากคอฆาตกร.
อ้างอิงข้อมูล : พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔