สำนวน จมไม่ลงนั้นใช้ในการเปรียบเปรยถึงคนที่ เคยเป็นคนที่มีอำนาจมาก่อน หรือเคยวางตัวใหญ่ น่าเกรงขามของคนทั่วไปมาก่อน แต่ตอนหลังๆนี้เริ่มตกอับ ไม่มีอำนาจบารมีเหมือนเดิมแต่ยังทำตัวใหญ่เหมือนเดิม แต่ก็ไม่มีใครสนใจหรือให้ความสำคัญแต่อย่างใด คนแบบนี้เรียกว่าคน จมไม่ลง
ลักษณะนิสัยของคนไทย ว่า ไม่รู้จักประมาณตนเอง ต้องการมีหน้ามีตา พยายามรักษาหน้าตาและชื่อเสียงเกียรติยศ เข้าทำนองว่าหน้าใหญ่ใจโต ไม่ต้องการให้เสียหน้า หรือทำอะไรโดยไม่คำนึงถึงฐานะของตน “ชิบหายไม่ว่าขออย่าให้ข้าเสียหน้า” , “ชิบหายไม่ว่าต้องการชื่อเสียง” ผลลัพธ์คือ คนไทยเป็นหนี้มากขึ้นและยิ่งจนลง ลักษณะ “จมไม่ลง”
ที่มาของสำนวน จมไม่ลง การจมไม่ลงเป็นการเปรียบเทียบเรือที่รั่ว ผุพังแต่ไม่ยอมจม ความหมายตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (๒๕๔๒. ๒๘๘) คือ เคยทำตัวใหญ่มาแล้วทำให้เล็กลงไม่ได้ มักใช้แก่คนที่เคยมั่งมีหรือรุ่งเรืองมาก่อน เมื่อยากจนหรือตกอับลงก็ยังทำตัวเหมือนเดิม
- จม หมายถึง (๑) ก. หายลงไปหรืออยู่ใต้ผิวพื้น เช่น จมนํ้า จมดิน, โดยปริยายหมายความว่า เข้าลึก เช่น จมมีด จมเขี้ยว, หมกตัวหรือฝังตัวอยู่ เช่น จมอยู่ในห้องหนังสือ จมเลือด, ถอนทุนไม่ขึ้น เช่น ทุนจม, ยุบตัวลง เช่น สะบักจม
- ไม่ หมายถึง ว. มิ, คำปฏิเสธความหมายของคำที่อยู่ถัดไป เช่น ไม่กิน ไม่ดี, ถ้าอยู่ท้ายคำ ต้องมีคำ หา อยู่หน้า เช่น หากินไม่.
- ลง หมายถึง (๑) ก. ไปสู่เบื้องตํ่าหรือไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้ามกับขึ้น เช่น นํ้าลง เครื่องบินลง, ไปสู่พื้นดินและพื้นอื่น ๆ เช่น ลงดิน ลงบันได ลงเรือ
ตัวอย่างการใช้งาน สำนวน จมไม่ลง ในประโยค
1. คนแบบนี้จมไม่ลงหรอก เขาเคยร่ำรวย อยู่อย่างสุขสบายจะให้มาแบกหน้าขายของตามตลาดนัดก็คงทำไม่ได้2. ฐานะเธอไม่เหมือนเมื่อก่อนอีกแล้วนะ จะมาใช้ชีวิตเหมือนเดิม ใช้ของหรูหราได้อย่างไร ถ้ายังจมไม่ลงอยู่แบบนี้ ต่อไปเธอจะลำบากนะ
3. ขนาดศาลสั่งให้เขาล้มละลายแล้วนะ แต่ตัวเขายังทำตัว จมไม่ลง ฉันล่ะเวทนาจริง ๆ
4. บางคนเคยทำงานเงินเดือนหลายหมื่น พอต้องมาทำงานบ้านนอกเงินเดือนไม่กี่พันก็ถึงกับ จมไม่ลง ทั้ง ๆ ที่บ้านก็ไม่ต้องเช่าข้าวก็ไม่ต้องซื้อ
5. ถ้าเจอยังจมไม่ลงแบบนี้ ชีวิตเธอก็จะไม่เหลืออะไรเลย
6. เรายังรู้สึกว่า จมไม่ลงเลย อะไรมันเลวร้ายไปหมด
7. อย่าเป็นคนจมไม่ลงแบบนี้สิคุณวิชิต ชีวิตมันต้องมีการวางแผน
8. คนเป็นเศรษฐีมีหน้าตาใหญ่โต จะมีจะทำอะไรก็ล้วนแต่ใหญ่โตมาแล้ว ครั้นจนลง จะทำอะไรเล็กน้อยก็เสียหน้า เลยต้องทำอะไรใหญ่โตตามเดิม ทั้ง ๆ ที่อัตคัดขาดแคลนเต็มที สำนวนที่มีความหมายเหมือนกันคือ “จนแล้วไม่เจียม”
9. ลักษณะนิสัยของคนไทย ว่า ไม่รู้จักประมาณตนเอง ต้องการมีหน้ามีตา พยายามรักษาหน้าตาและชื่อเสียงเกียรติยศ เข้าทำนองว่าหน้าใหญ่ใจโต ไม่ต้องการให้เสียหน้า หรือทำอะไรโดยไม่คำนึงถึงฐานะของตน “ชิบหายไม่ว่าขออย่าให้ข้าเสียหน้า” , “ชิบหายไม่ว่าต้องการชื่อเสียง” ผลลัพธ์คือ คนไทยเป็นหนี้มากขึ้นและยิ่งจนลง ลักษณะ “จมไม่ลง”
10. นิสัยแบบนี้แหละที่ทำให้ยังจน แม้จะมีรายได้เข้ามาอย่างเหมาะสม แต่ก็โดน ... อีกหนึ่งนิสัยที่พาให้ห่างไกลจากความร่ำรวยคือนิสัยใช้ชีวิตหรูหราจมไม่ลงนี่แหละค่ะ
อ้างอิงข้อมูล : พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔