สำนวน ขุนนางใช่พ่อแม่ หินแง่ใช่ตายาย สำนวนนี้ใช้ในการเปรียบเปรยถึง การไม่ควรไว้วางใจใคร ถ้าไม่ใช่ปู่ย่าตายายของตนเอง เพราะว่าคนเราต่างหวังผลประโยชน์กันทั้งนั้น
ที่มาของสำนวน ประโยคว่า ขุนนางใช่พ่อแม่ หมายถึง ถึงแม้ว่าจะเป็นราชการระดับขุนนาง แต่ก็หาที่จะจริงใจกับเรา เหมือนกับพ่อแม่ ปู่ย่าตายายของเรา พวกเขาก็หวังผลประโยชน์จากเราเช่นกัน ไม่มีใครทำอะไรให้คนอื่นโดยที่ไม่หวังผลประโยชน์ ต่างก็หวังผลประโยชน์กันทั้งนั้น ดังนั้น อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน จะจนใจเอง.
คำว่า ไว้ใจ ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ ให้นิยามบทหนึ่งว่า มอบความเชื่อความมั่นใจให้ วางใจ เช่น ไว้ใจให้เก็บรักษาเงิน ไว้ใจให้ดูแลบ้าน ไว้วางใจ ก็ว่า ในสังคมที่มีความซับซ้อนของจิตใจมนุษย์ ทำให้มีสำนวนหลายสำนวนที่เตือนให้เราระมัดระวังว่าอย่าไว้วางใจใครง่าย ๆ ดังปรากฏในหนังสือ ภาษิต คำพังเพย สำนวนไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เช่น อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน จะจนใจเอง หมายถึง อย่าเชื่อใจใคร ฝนตกอย่าดาว มีเมียสาวอย่าเชื่อแม่ยาย หมายถึง อย่าไว้ใจใครหรืออะไรจนเกินไป เกลือเป็นหนอน หมายถึง ญาติมิตร สามีภรรยา บุตรธิดา เพื่อนร่วมงาน รหรือคนในบ้านคิดคดทรยศ เช่นเดียวกันกับ ช้างสาร งูเห่า ข้าเก่า เมียรัก ส่วน ขุนนางใช่พ่อแม่ หินแง่ใช่ตายาย หมายถึง ถ้าไม่ใช่ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ของตน ก็ไม่ควรไว้วางใจใคร ทำนองเดียวกับภาษิตที่ว่า อย่าไว้ใจทาง อย่าวางใจคน จะจนใจเอง คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ หมายถึง จะพิจารณาคนหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้พิจารณาอย่างรอบคอบ ปากปราศรัยใจเชือดคอ หมายถึง พูดดีแต่ใจคิดร้าย แบบนี้ก็ไว้ใจไม่ได้เช่นเดียวกันกับ ปากหวานก้นเปรี้ยว ที่หมายถึง พูดจาอ่อนหวานแต่ไม่จริงใจ ฝากเนื้อไว้กับเสือ หรือ ฝากปลาไว้กับแมว หมายถึง ฝากสิ่งใดสิ่งหนึ่งไว้กับคนที่ชอบสิ่งนั้น ย่อมสูญหายได้ง่าย ไว้วางใจคนที่ไม่ควรไว้วางใจ.
- ขุนนาง หมายถึง (โบ) น. ลูกขุน, ข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือน แบ่งเป็นข้าราชการชั้นผู้ใหญ่มีศักดินาตั้งแต่ ๔๐๐ ขึ้นไป และข้าราชการชั้นผู้น้อยมีศักดินาต่ำกว่า ๔๐๐.
- ใช่ หมายถึง (๑) ว. คำรับรองแสดงว่า เป็นเช่นนั้น, เป็นอย่างนั้น, ถูก, แน่
- พ่อ หมายถึง (๑) น. ชายผู้ให้กำเนิดแก่ลูก
- แม่ หมายถึง (๑) น. หญิงผู้ให้กำเนิดหรือเลี้ยงดูลูก, คำที่ลูกเรียกหญิงผู้ให้กำเนิดหรือเลี้ยงดูตน
- หินแง่ หมายถึง น. ของแข็งที่ประกอบด้วยแร่ชนิดเดียวหรือหลายชนิดรวมตัวกันอยู่ตามธรรมชาติ.
- ตา หมายถึง น. พ่อของแม่, ผัวของยาย, ชายที่เป็นญาติชั้นเดียวกับพ่อของแม่หรือที่อายุรุ่นราวคราวเดียวกับตา, (ปาก) คำเรียกชายสูงอายุที่ตนไม่ค่อยเคารพนับถือ เช่น ตาเถร ตาแก่ หรือเรียกชายรุ่นราวคราวเดียวกันอย่างเป็นกันเอง เช่น ตาเกิ้น ตาโย่ง หรือเรียกเด็กชายที่ตนเอ็นดูรักใคร่ เช่น ตาหนู.
- ยาย หมายถึง น. แม่ของแม่, เมียของตา, หญิงที่เป็นญาติชั้นเดียวกับแม่ของแม่หรือที่อายุรุ่นราวคราวเดียวกับยาย, (ปาก) คำเรียกหญิงสูงอายุอย่างไม่ค่อยเคารพนับถือ เช่น ยายป้า ยายแก่ ยายคุณหญิง หรือเรียกหญิงรุ่นราวคราวเดียวกันอย่างเป็นกันเอง เช่น ยายปุก ยายกุ้ง หรือเรียกเด็กหญิงที่ตนเอ็นดูรักใคร่ เช่น ยายหนู.
ตัวอย่างการใช้งาน สำนวน ขุนนางใช่พ่อแม่ หินแง่ใช่ตายาย ในประโยค
1. เธอเพิ่งจะรู้จักเขาได้ไม่เท่าไหร่ ก็จะไปอยู่กับเขาเสียแล้ว เขาไว้ใจได้แค่ไหน ขุนนางใช่พ่อแม่ หินแง่ใช่ตายายนะ2. ถึงเจ้านายเขาจะโปรดปรานคุณแค่ไหน แต่ถ้าคุณทำให้เขาโกรธ เขาก็คงไม่ให้อภัยคุณง่ายๆหรอก เข้าทำนองขุนนางใช่พ่อแม่ หินแง่ใช่ตายาย
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม สำนักงานราชบัณฑิตยสภา