สำนวน ขายหน้าวันละห้าเบี้ย นั้นใช้ในการเปรียบเปรยถึงคนที่ถูกทำให้อับอาย อยู่ทุกวันไม่มีเว้น การขายหน้านั้นไม่ใช่เรื่องดี ที่จะต้องมายอมขายหน้ากันทุกวันนั้นเขาเรียกว่าไม่มีการเรียนรู้จากความผิดพลาด แล้วแก้ไขให้มันดีขึ้นมากกว่าที่เป็นอยู่ ไม่ใช่ว่าคอยนั่งรอให้ปัญหามันหมดไปเอง ถ้าเกิดปัญหาหรือมีปัญหาในตรงไหน ก็ให้ทำการแก้ไขตรงนั้นไม่ใช่ ปล่อยปละละเลย
ที่มาของสำนวน ขายหน้าวันละห้าเบี้ย ขายหน้านั้นเป็นอาการ ถูกทำให้อับอาย ส่วนประโยควันละห้าเบี้ยนั้นเป็นคำสร้อยคล้องจอง เพื่อทำให้ประโยคดูดี หรือหมายถึง ราคาถูกมาก เพราะว่าจำนวนเงิน 5 เบี้ยนั้นมีค่าน้อยมากนั่นเอง
- ขายหน้า หมายถึง ก. อับอาย.
- วัน หมายถึง (๑) น. ระยะเวลา ๒๔ ชั่วโมง ตั้งแต่ยํ่ารุ่งถึงยํ่ารุ่ง หรือตั้งแต่เที่ยงคืนถึงเที่ยงคืน เช่น วันเฉลิมพระชนมพรรษาหยุดราชการ ๑ วัน, ระยะเวลา ๑๒ ชั่วโมง ตั้งแต่ย่ำรุ่งถึงย่ำค่ำ เรียกว่า กลางวัน, มักเรียกสั้น ๆ ว่า วัน, ระยะเวลา ๑๒ ชั่วโมง ตั้งแต่ย่ำค่ำถึงย่ำรุ่ง เรียกว่า กลางคืน, มักเรียกสั้น ๆ ว่า คืน, เช่น เขาไปสัมมนาที่พัทยา ๒ วัน ๑ คืน, ช่วงเวลากลางวัน เช่น เช้าขึ้นมาก็รีบไปทำงานทุกวัน
- ละ หมายถึง ว. คำประกอบคำนามให้รู้ว่าเป็นหน่วยหนึ่ง ๆ หรือส่วนหนึ่ง ๆ ในจำนวนรวม ซึ่งกำหนดเป็นราย ๆ ไป เช่น คนละ ปีละ, คำประกอบกริยาเพื่อเน้นความให้มีนํ้าหนักขึ้น เช่น ไปละ เอาละ.
- ห้า หมายถึง (๑) น. จำนวนสี่บวกหนึ่ง
- เบี้ย หมายถึง น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวหลายชนิดในวงศ์ Cypraeidae เปลือกแข็ง ผิวเป็นมัน หลังโค้งนูน ด้านท้องแบน ช่องเปลือกยาวและแคบ เป็นลำราง ตามขอบทั้ง ๒ ข้างเป็นรอยหยัก เรียกรวม ๆ ว่า หอยเบี้ย, เปลือกหอยเบี้ยที่ใช้เป็นเงินตราในสมัยก่อนมี ๒ ชนิด ได้แก่ ชนิด Cypraea moneta Linn. เรียก เบี้ยจั่นหรือเบี้ยจักจั่น ชนิด C. annulus Linn. เรียก เบี้ยแก้วหรือเบี้ยนาง มีอัตรา ๑๐๐ เบี้ย เป็น ๑ อัฐ คำว่า เบี้ย จึงเป็นคำเรียกแทนเงินติดมาจนทุกวันนี้ เช่น เบี้ยประชุม เบี้ยประกัน เบี้ยเลี้ยงชีพ.
ตัวอย่างการใช้งานสำนวน ขายหน้าวันละห้าเบี้ย ในประโยค
1. เพราะคุณตาเคยหลอกให้ชาวบ้านแถวนี้ซื้อที่ตาบอด ทำให้ถูกตราหน้าว่าเป็นคนขี้โกง จนปัจจุบันนี้แม้คุณตาจะไม่อยู่แล้ว แต่ชาวบ้านก็ยังแค้นเคืองทำให้ฉันต้องอับอายขายหน้าวันละห้าเบี้ยอยู่เสมอ เพราะใคร ๆ ก็มองว่าครอบครัวนี้ขี้โกง2. อุ๊ยว๊าย น่าเห็นใจแม่หญิงการะเกดยิ่งนัก สำหรับฉากที่โดนคุณหญิงจำปา ว่าที่มารดาสามีตำหนิถึงความกระโดกกระเดก ไม่ว่าไปไหน ต้องทำให้ “ขายหน้าวันละห้าเบี้ย .
3. ไปหนทางไหนขายหน้าวันละห้าเบี้ย' คุณหญิงจำปากล่าวตำหนิแม่หญิงการะเกด ประโยคนี้เปนสำนวนโบราณไม่ใคร่จักคุ้นหูนักในเยาวเรศยุคนี้ 'ขายหน้าวันละห้าเบี้ย' ..
4. น่าเห็นใจแม่หญิงการะเกดยิ่งนัก สำหรับฉากที่โดนคุณหญิงจำปา ว่าที่มารดาสามีตำหนิถึงความกระโดกกระเดก ไม่ว่าไปไหน ต้องทำให้ "ขายหน้าวันละห้าเบี้ย"
5. ทำอะไรก็ต้องอับอายขายหน้าวันละห้าเบี้ยไปทุกวัน. คนเราต้องรู้จักประมาณตัว ทำอะไรตามฐานะของตัว นกน้อยทำรังแต่พอตัวนั่นแหละดี.
6. ขายหน้าวันละห้าเบี้ย ระอาจิตคิดเพลีย. เรื่องราวฉาวฉู่มิรู้วาย. ปลูกเรือนผิดคิดจนเรือนทลาย พลั้งพลาดอาจสาย. รอบคอบคิดเห็นเป็นคุณ.
7. สำนวนไทยขายหน้าวันละห้าเบี้ย เปรียบกับคนที่มีลูกหลาน ... บ่อย ๆ ก็จะถูกบ่นขายหน้าวันละห้าเบี้ย ส่วนพูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสีย.
8. "ไปหนทางไหนก็ขายหน้าวันละห้าเบี้ย". เกศสุรางค์ไหว้ฟุบไปกับโต๊ะทันที สีหน้ารู้สึกผิดมาก. พวกบ่าวหัวเราะกันคิกคัก
อ้างอิงข้อมูล : พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔