สำนวน ขนทรายเข้าวัด นั้นใชในการเปรียบเปรยถึงการทำประโยชน์ให้กับส่วนรวม โดยการขนทรายเข้าวัดนั้นเป็นการร่วมกันสร้าง และดูแลสาธารณะสมบัติของชุมชนร่วมกัน โดยตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบันนี้วัดเป็นสถานที่ที่ใช้ในการจัดกิจกรรม ของคนในชุมชน ดังนั้นการต้องดูแล หรือร่วมกันบูรณะบ้างนั้นจึงเป็นสิ่งที่ควรทำร่วมกัน
ที่มาของสำนวน ขนทรายเข้าวัด โดยส่วนใหญ่วัดมีบริเวณที่เป็นพื้นทราย เมื่อมีพุทธศาสนิกชนมาทำบุญหรือทำกิจธุระต่างๆที่วัด ตอนที่กลับบ้านอาจจะมีทรายติดเท้าออกนอกวัดไปด้วย ซึ่งเป็นความเชื่อกันว่าเป็นบาปเพราะเป็นการนำเอาของวัดออกไป เป็นหนี้สงฆ์ จึงได้มีประเพณีขนทรายเข้าวัด เพื่อให้ชาวบ้านนำทรายมาคืนวัด จะได้ไม่ติดหนี้สงฆ์ นั่นจึงเป็นที่มาของสำนวนไทยที่ว่า ขนทรายเข้าวัด
- ขน หมายถึง น. สิ่งที่เป็นเส้นขึ้นตามผิวหนังคนและสัตว์ เช่น ขนตา ขนนก ขนเม่น และใช้ตลอดไปจนถึงที่ขึ้นบนผิวต้นไม้ ผลไม้ ใบไม้ และอื่น ๆ, ราชาศัพท์ว่า พระโลมา.
- ทราย หมายถึง [ซาย] น. วัตถุที่เป็นเศษหินขนาดเล็ก มีลักษณะซุยร่วนไม่เกาะกัน มีหลายชนิด เช่น ทรายขี้เป็ด ทรายหยาบ ทรายละเอียด, ใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะอย่างทราย เช่น เนื้อแตงโมเป็นทราย นํ้าตาลทราย.
- เข้า หมายถึง ก. อาการที่เคลื่อนไปข้างในหรือทำให้เคลื่อนไปข้างใน เช่น เข้าบ้าน เข้าถํ้า เอาหนังสือเข้าตู้, เคลื่อนมาสู่, มาถึง, เช่น รถด่วนเข้า ๑๐ นาฬิกา พระศุกร์เข้า, สิง เช่น ผีเข้า เจ้าเข้า
- วัด หมายถึง น. สถานที่ทางศาสนา โดยปรกติมีโบสถ์ วิหาร และที่อยู่ของสงฆ์หรือนักบวชเป็นต้น.
ตัวอย่างการใช้งานสำนวน ขนทรายเข้าวัด ในประโยค
1. ประชาชนในหลายจังหวัด ร่วมกันขนทรายเข้าวัดและก่อเจดีย์ทราย เนื่องในเทศกาลสงกรานต์อย่างคึกคัก.2. คำตอบสรุปความมาจากข้อมูลเผยแพร่ของสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่า ประเพณีขนทรายเข้าวัดในวันสงกรานต์ของชาวล้านนาตรงกับวันเนา
3. เมืองพิษณุโลก ได้มีประชาชนตามชุมชนต่างๆในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก ได้ร่วมกันขนทรายเข้าวัด เพื่อก่อพระเจดีย์ทราย ตามประเพณีไทยเทศกาลสงกรานต์
4. นอกจากจะขนทรายเข้าวัดแล้ว วันนี้ยังถือเป็น "วันเนา" หรือเรียกอีกชื่อว่า "วันดา" ซึ่งชาวบ้านจะเตรียมข้าวของเครื่องใช้ เพื่อนำไปทำบุญที่วัดในวันพรุ่งนี้
5. ระชาชนในหลายจังหวัด ร่วมกันขนทรายเข้าวัดและก่อเจดีย์ทราย เนื่องในเทศกาลสงกรานต์อย่างคึกคัก โดยที่ จ.เชียงใหม่ ชาวบ้านร่วมกันจัดพิธี...
6. สำนวนนี้หมายถึงการร่วมด้วยช่วยกันทำประโยชน์ให้ส่วนรวม ให้สังคม เพื่อพัฒนาสังคมที่อยู่อาศัยให้ดีขึ้น ซึ่งเปรียบได้กับการขนทรายเข้าวัด ..
7. ผู้ใหญ่บ้านเชิญชวนชาวบ้านให้ร่วมกันทำบุญหมู่บ้าน ชาวบ้านต่างก็ให้ความร่วมมือ เพราะถือว่าเป็นการร่วมกันทำประโยชน์ ขนทรายเข้าวัด บางคนก็บริจาคเงิน บริจาคของใช้ สิ่งของต่างๆ
8. ประเพณีขนทรายเข้าวัด มีมานานตั้งแต่โบราณกาล ถือกันว่า เมื่อเข้าวัดแล้วเดินออก ไปนอกวัด การเดินออกไปนอกวัดอาจจะมีดินติดเท้าออกไป ทำให้เกิดบาปอีกประการหนึ่งการ ขนทรายเข้าวัดแล้วควรจะก่อเป็นเจดีย์ทราย เพื่อบูชาพระพุทธเจ้า หมายถึงบูชา “ พระจุฬามณีเจดีย์ “ ที่พระอินทร์นำเอาของ ๔ อย่าง
9. ภาพกิจกรรมประเพณีขนทรายเข้าวัด การขนทรายเข้าวัดของชาววังฟ่อนแต่อดีตมาเพื่อต้องการทำบุญในการร่วมสร้างวัดวังฟ่อนให้เป็นวัดที่สวยงาม
10.คือว่าปีนี้เรายังไม่ได้ก่อเจดีย์ทรายเลย เพราะติดงานหารายได้พิเศษ แต่ก็มีข้อสงสัยในใจว่าไม่ได้ขนทรายเข้าวัดแล้ว จะมีบาปติดตัวไหม หรือว่าปีหน้าค่อยไปทำแทน
11. พอได้เห็นรูปก็นึกถึง ตอนสมัยเด็ก ๆ ขนทรายเข้าวัดครับ สมัยก่อนถนนเข้าออกหมู่บ้านหลายเส้นทาง ยังเป็นถนนดินทรายทรายอยู่เลย การหาทรายเข้าวัดเป็นเรื่องง่ายมาก
อ้างอิงข้อมูล : พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔