สำนวนไทย ไม่รู้จักหัวนอนปลายตีน หรือไม่รู้จักหัวนอนปลายเท้านั้นใช้ในการเปรียบเปรยถึง การไม่รู้จักความเป็นมาหรือพื้นเพของคนคนนั้นจึงทำให้ยากที่จะเชื่อใจ หรือวางใจได้ ว่าเป็นคนแบบไหน เป็นคนดีหรือไม่ดี หรือเราไม่สามารถดูหรือทราบว่าคนคนนั้นเป็นใครมาจากไหน หากมีปัญหาหรือเกิดเรื่องอะไรขึ้นจะได้ติดตามครอบครัวญาติมิตร หรือผู้คนที่รู้จักได้ การรู้จักหัวนอนปลายตีนนั้นก็สามารถที่จะรู้ได้ว่าเขาคนนั้นเป็นคนเป็นไร ในเบื้องต้นโดยดูจากครอบครัว เทือกเขาเหล่ากอว่าเป็นคนเช่นไร โดยส่วนใหญ่ก็จะมีนิสัยใกล้เคียงกันนั่นเอง
สำหรับที่มาของสำนวน ไม่รู้จักหัวนอนปลายตีน น่าจะมาจากการที่เราไม่รู้ที่นอน หรือที่พักอาศัยของเขา และปลายเท้าหมายถึง ที่อยู่บ้านช่องหรือความเป็นมาว่ามาอย่างไร ไปอย่างไรทำให้ยากที่จะคาดเดา หรือเสี่ยงที่จะคบหานั่นเอง คนไทยให้ความสำคัญกับหัวนอนปลายตีนมากตั้งแต่สมัยโบราณ ถึงขั้นต้องทำเครื่องหมายว่าด้านใดเป็นด้านหัว และด้านใดเป็นด้านตีน การที่นอนกลับข้าง หัว ข้างตีนนั้น จึงเป็นสิ่งที่อัปมงคล และเขาถือกัน
- ไม่ หมายถึง ว. มิ, คำปฏิเสธความหมายของคำที่อยู่ถัดไป เช่น ไม่กิน ไม่ดี, ถ้าอยู่ท้ายคำ ต้องมีคำ หา อยู่หน้า เช่น หากินไม่.
- รู้จัก หมายถึง ก. คุ้นเคยกัน เช่น เขารู้จักมักคุ้นกับน้องฉันมานานแล้ว.
- หัวนอน หมายถึง (๑) น. ด้านทางหัวของผู้นอน, ตรงข้ามกับปลายตีน
- ปลายตีน หมายถึง น. ด้านปลายเท้าของผู้นอน, ตรงข้ามกับ หัวนอน.
ตัวอย่างการใช้งานสำนวนไทยที่กล่าวว่า ไม่รู้จักหัวนอนปลายตีน ในประโยค
1. คุณพ่อได้สั่งสอนเธอเสมอๆว่า จะไปคบหาสมาคมกับผู้ใดจะต้องพิจารณานิสัยใจคอบุคคลผู้นั้นก่อน ไม่สมควรที่จะไปปฏิสัมพันธ์กับบุคคลที่เรา “ ไม่รู้จักหัวนอนปลายตีน ”2. การคบคนแปลกหน้า ที่ ไม่รู้จักหัวนอนปลายตีน ไม่รู้ว่าเป็นใครมาจากไหน อาจจะไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรหากการพบเจอกันนั้น เป็นการพบเจอกันขณะเดินทางท่องเที่ยว อย่างการเที่ยวกางเต็นท์ไปตามอุทยานแห่งชาติในประเทศไทยเรา มีโอกาสเจอนักท่องเที่ยวในลักษณะนี้ เพราะนักท่องเที่ยวก็มีหลายแบบ บางคนก็เที่ยวตามอัตถภาพ ตามกำลังทรัพย์ ใช้จักรยานบ้าง รถมอเตอร์ไซค์เก่า รถยนต์เก่าบ้าง การแต่งตัวก็อาจะไม่ดูดี แต่ก็ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอะไร เพราะต่างคนต่างอยู่ทางใครทางมัน
3. อานนท์ มิ่งขวัญตา ระบุเห็นใจ แจ็ค ฟีนิกซ์ เพราะตนเคยมีประสบการณ์คล้ายแบบนี้ "อ่านขาวพี่แจ๊ค ฟีนิกแล้ว หดหู่ใจ คนเราไม่รู้จักหัวนอนปลายตีน.
4. “แล้วแกรู้ได้ไงว่าชั้นไม่รู้จักหัวนอนปลายตีนเด็กคนนั้น”. “อ้อ นี่หมายความว่าเด็กนั่นมันเป็นเมียลับของนายใช่มั้ย”.
5. ผู้ว่าจ้างจึงกล้าหาญว่าจ้างนายตำรวจได้เช่นนี้ ทั้งที่ฝ่ายนายตำรวจก็ไม่รู้จักหัวนอนปลายตีนของ 'นายโอ็ด' เช่นกัน สตร.น่าจะสืบสาวให้ชัดแจ้ง.
6. สำนวนที่พูดกันว่า “ไม่รู้จักหัวนอนปลายตีน” ก็เป็นจะมาจากความเชื่อดังกล่าว รวมถึงห้ามเอาหมอนหนุนศีรษะมารองนั่งด้วย ถือเป็นเรื่องอัปมงคลเช่นเดียวกัน ...
7. คนเราไม่รู้จักหัวนอนปลายตีน ช่วยไปก็เท่านั้น เคยช่วยมาเหมือนกันสุดท้ายเอาเราไปพูดว่าเราจะไปปล้ำมันมันเที่ยวไปพูดว่าถ้ามันยอมเราเราจะให้มัน10ล้าน
8. เมื่อเจอหมาแปลกหน้า. หลายๆ ท่านที่มีความรักหมามากเป็นพิเศษ เมื่อเจอะเจอหมาที่แม้ไม่รู้จักหัวนอนปลายตีน เป็นต้องรี่เข้าหาเพื่อจับต้องลูบไล้เพื่อทักทาย
9. นักธุรกิจสาวไฟแรงถึงกับพูดไม่ออกกับพฤติกรรมของคนโซเซียลที่จู่ๆก็เข้ามาคอมเม้นเธอแบบเสียๆหายๆทั้งที่ไม่รู้จักหัวนอนปลายตีน .
10. ไม่เคยเห็นกันตัวจริงไปไว้ใจให้เค้ายืมเงินง่ายๆได้ไง ขนาดญาติกันยืมเงินกันยังโกง นับประสาไรกะคนอื่นไม่รู้จักหัวนอนปลายตีน
อ้างอิงข้อมูล : พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔