สำนวนไทย“ทำนาออมกล้า ทำปลาออมเกลือ” ใช้ในการเปรียบเปรยถึงการที่จะทำกิจการใด ๆแต่ไม่กล้าที่จะลงทุน กลัวที่จะหมดเปลือง หรือตระหนี่ถี่เหนี่ยวจนเกินไปมักจะให้ผลออกมาได้ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยเท่าที่ควรจะเป็น โดยมีการยกเอาการทำนามาเป็นตัวอย่างว่า ทำนาออมกล้า ซึ่งหมายถึงใช้กล้าข้าวซึ่งเป็นต้นกล้า หรือต้นอ่อนของข้าวเราเรียกว่าต้นกล้านั้นไม่เพียงพอ หรือน้อยจนเกินไป จนปลูกได้ไม่เต็มพื้นที่ จนทำให้เมื่อข้าวออกรวงมาจะทำให้ได้ผลผลิตข้าวน้อยลงกว่าปกติมาก หรือทำปลาออมเกลือก็คือการที่เราจะหมักปลาด้วยเกลือเพื่อที่จะนำไปถนอมอาหาร หรือ ปรุงรสเพื่อป้องกันหนอนและแมลง แต่ว่าใส่เกลือน้อยเกินไปจนทำให้ปลานั้นเน่าเสียได้นั่นเอง ซึ่งอย่างไรก็ไม่คุ้มเสียหากการที่จะใช้เกลือในปริมาณที่น้อย ประหยัดเกลือแต่ปลาเน่า ดังนั้นสำนวนนี้จึงหมายถึงว่า ทำอะไรควรที่จะเต็มที่กับสิ่งนั้นไม่ควรกลัวที่จะสิ้นเปลืองจนเกินเหตุอาจจะทำให้ผลที่ออกมาไม่ดีเท่าที่ควรได้นั่นเอง
- ทำนา หมายถึง ก. ประกอบการงาน เช่น ทำนา ทำสวน ทำโป๊ะ
- ออม หมายถึง ก. ถนอม, สงวน, เช่น ออมแรง.
- กล้า หมายถึง [กฺล้า] น. ต้นข้าวอ่อนที่เพาะจากข้าวเปลือกสำหรับย้ายไปปลูกที่อื่น, โดยอนุโลมเรียกพืชที่เพาะไว้สำหรับย้ายไปปลูกในที่อื่น ว่า กล้า เช่น กล้าพริก กล้ามะเขือ.
- ปลา หมายถึง [ปฺลา] น. ชื่อสัตว์น้ำเลือดเย็นมีกระดูกสันหลัง ร่างกายแบ่งเป็นส่วนหัว ลำตัว และหาง หายใจด้วยเหงือกยกเว้นปลาปอด มีครีบใช้ช่วยในการเคลื่อนไหวและทรงตัว บางชนิดมีเกล็ด บางชนิดไม่มี รูปร่างลักษณะ ขนาด และพฤติกรรมแตกต่างกันมากมาย กินทั้งพืชและสัตว์ พบในแหล่งนํ้าทั่วไป.
- เกลือ หมายถึง [เกฺลือ] น. วัตถุที่มีรสเค็ม ใช้ประกอบอาหารเป็นต้น โดยทั่วไปได้มาจากนํ้าทะเล, เกลือสมุทร ก็เรียก
ตัวอย่างการใช้งานสำนวน ทำนาออมกล้า ทำปลาออมเกลือ ในประโยค
1. การลงทุนในการศึกษาของลูกนั้นสำคัญ มีเท่าไรควรจัดให้เหมาะสม ไม่ควร “ทำนาออมกล้า ทำปลาออมเกลือ”2. การช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อน ประยุทธต้องใส่งบเข้าไปให้เต็มที่ไม่ใช่มัวแต่ “ทำนาออมกล้า ทำปลาออมเกลือ” แบบนี้ชาวบ้านจะไม่นิยมเอา
3. การลงทุนให้เหมาะสมกับกำลังทรัพย์ที่มี ทำนาออมกล้า ทำปลาออมเกลือ เป็นเรื่องดี แต่หากมั่นใจว่ากิจการน่าจะไปได้ดี อาจต้องลองเสี่ยงลงทุนเพิ่มให้มากขึ้น เพราะโอกาสดีๆ ที่เข้ามา อาจจะไม่บ่อยนัก และคู่แข่งที่มีทุนมากกว่า อาจจะเข้ามาแข่งขันทำให้เสียโอกาส บางคนมีความคิดที่ดีในการทำธุรกิจ แต่ทำเล็กๆ น้อยๆ แค่พออยู่ได้ ต่างจากบางคนที่กล้าลงทุนก็จะดึงลูกค้าไปหมด
4. ชาวนาต้องใช้ต้นกล้าข้าวในปริมาณที่เหมาะสม การใช้ต้นกล้าน้อยเกินไป ย่อมได้ต้นข้าวน้อย ส่งผลให้ได้เมล็ดข้าวน้อยไปด้วย เช่นเดียวกับคำว่าทำปลาออมเกลือ ซึ่งหมายถึงการทำปลา ปลาตากแห้ง ปลาเค็ม หรือปลาร้านั้น ต้องใช้เกลือในปริมาณที่เพียงพอ การเสียดายหรือใช้เกลือน้อยเกินไปย่อมส่งผลให้ปลาที่ได้มีกลิ่นเหม็นหรือเน่า ไม่ได้ปลาในรูปแบบที่ต้องการ
5. “(อย่า) ทำนาออมกล้า ทำปลาออมเกลือ” คนอีสานว่า “เฮ็ดนาอย่าแพงกล้า ไปค้าอย่าแพงทัน” ทั้งสองภาษิตสอนให้คำนึงถึง ผลประโยชน์ข้างหน้า สอนให้คิดไกลๆ
6. ทำนาออมกล้า ทำปลาออมเกลือ, ทําการสิ่งใดถ้ากลัวหมดเปลืองย่อมไม่ได้ผลสมบูรณ์. ทำบุญก็เช่นกัน
7. การลงทุนทำธุรกิจหรืออะไรก็ตามที่ต้องลงเป็นตัวเงิน ควรลงทุนให้เหมาะสม กับกำลังทรัพย์ตัวเอง ทำนาออมกล้า ทำปลาออมเกลือ เพื่อไม่ให้เกิดความเดือดร้อนนภายหลัง หากกิจการไม่ได้ด้วยดี อย่างที่คิด ไม่เป็นไปตามที่วางแผนไว้
อ้างอิงข้อมูล : พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔