สำนวนนี้คนมักจะตีความหมายไปในเชิงที่ว่าตัวเองก็แย่อยู่แล้ว กลับต้องมารับภาระดูแลคนอื่นด้วย กลับจะทำให้ดูแย่ไปกว่าเดิมแต่ว่าคนที่มีฐานะยากจนที่ช่วยเหลือคนที่มีฐานะที่ยากจนกว่าซึ่งถือได้ว่าน่าชื่นชมในน้ำใจอย่างมาก เรียกได้ว่าถึงจะยากจนแต่ไม่จนน้ำใจ ช่วยเหลือคนอื่นๆได้ทั้งๆที่ตัวเองก็ลำบากเหมือนกัน คนประเภทนี้น่าคบหาอย่างยิ่งเพราะว่าเป็นคนที่มีจิตใจดีงาม ที่คิดช่วยเหลือคนอื่นที่ตกทุกข์ได้ยากเหมือนกัน
ที่มาของสำนวนนี้มาจากการเปรียบเปรยถึงคนที่มีส่วนสูงไม่มาก หรือเตี้ยนั่นเองยังมีน้ำใจอุ้มคนที่หลังค่อมหรือพิการเดินลำบากซึ่งดูทุลักทุเลมากแต่ว่าเต็มไปด้วยความเห็นอกเห็นใจคนที่อยู่ในฐานะที่ต่ำกว่า พยายามช่วยเหลือคนอื่นที่ลำบากมากกว่าตัวเขาซึ่งน่าชื่นชมจริงๆ การยื่นมือช่วยเหลือคนอื่นแม้จะเป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย แต่ให้เราช่วยเหลือเท่าที่เราจะสามารถทำได้ ตามกำลังที่เราช่วยไหวและเหมาะสมจะดีที่สุด ไม่ควรช่วยเหลือคนอื่นจนตัวเองลำบาก ซึ่งจะทำให้เรานั้นลำบากจนเกินไป
- เตี้ย หมายถึง ว. มีรูปร่างตํ่ากว่าปรกติ.
- อุ้ม หมายถึง ก. โอบยกขึ้น, ยกขึ้นไว้กับตัว, เช่น อุ้มเด็ก
- ค่อม หมายถึง ว. เตี้ยผิดธรรมดาและหลังงอ เช่น คนค่อม, เรียกหลังที่งอมาก ว่า หลังค่อม
ตัวอย่างการใช้งานสำนวนไทยที่กล่าวว่า “เตี้ยอุ้มค่อม” ในประโยค
1. นี่ปารีณาเธอควรจะเป็นคนคอยให้คำปรึกษาอยู่ห่างๆ นะ ไม่ใช่ไปรับภาระเอางานทำเองมาแบบนี้ งานตัวเองก็ทำไม่ทันอยู่แล้วมันจะกลายเป็นเตี้ยอุ้มค่อมเข้านะซิ2. นี่ประวิตรเธอเองก็ลำบากกำลังตกงาน แถมมีหนี้สินมากมาย แต่ก็ยังจะไปดูแลช่วยเหลือน้องชายที่ไม่เอาไหน แบบนี้มันเตี้ยอุ้มค่อมชัดๆ ยิ่งแย่ไปกันใหญ่
3. นายประยุทธมีฐานะไม่ดีนัก หนี้สินก็รุงรัง แต่ด้วยความรักน้องสาว ที่มีฐานะไม่ดีเช่นกัน จึงต้องคอยแบ่งเงินทองให้น้องสาวใช้ ทำให้ตัวเองที่แย่อยู่แล้วกลับแย่ลงไปอีก ไม่มีทางจะดีขึ้นได้เลย
4. เตี้ยอุ้มค่อม" เป็นสํานวนสุภาษิตหมายถึง ผู้ที่มีฐานะยากจนหรือผู้ที่ไม่สามารถรับภาระใดๆ ได้มากนัก แต่ไปช่วยเหลือคนอื่นที่ลำบากเหมือนกับตน ทำให้มีสภาพที่แย่ลงไปกว่าเดิม ซึ่งผลสุดท้ายแล้วอาจจะทำให้ย่ำแย่ทั้งคู่
5. นักเรียนคงเคยได้ยินคำพังเพยที่ว่า "เตี้ยอุ้มค่อม" เชื่อว่านักเรียนหลายคนไม่รู้ว่าหมายถึงอะไรถ้านักเรียนเป็นคนช่างสังเกตคำที่นำมาเปรียบเทียบ ก็จะพอเข้าใจความหายที่มันซ่อนอยู่ คนเตี้ย จะอุ้มคนหลังค่อมไม่สมประกอบได้อย่างไร คงอุ้มกันลากกันไปไม่ไหว จึงชัดเจนนะคะว่าเตี้ยอุ้มค่อม หมายถึง "ต่างคนต่างอยู่ในฐานะลำบากแล้วยังต้องเอาอีกคนหนึ่งมาเป็นภาระอีก"หากนำคำพังเพยนี้ไปประกอบประโยคบอกเลาก็น่าจะได้ว่า "ฐานะเราก็แย่ขนาดนี้ คงไม่สามารถยื่นมือไปช่วยเหลือเจือจุนพวกเขาได้หรอกนะลูก เดี๋ยวพวกเราจะเหมือนเตี้ยอุ้มค่อม ลำบากกันไปเปล่าๆ"
6. เตี้ยอุ้มค่อม ในรัฐวิสาหกิจด้านคมนาคมขนส่ง ท่านทั้งหลายคงรู้จักรัฐวิสาหกิจไทยเกี่ยวกับเรื่องไร้ประสิทธิภาพในหลายมิติกันแล้ว ไม่ว่ากี่ยุคกี่สมัยก็เป็นอยู่อย่างนั้น รัฐบาลไม่รู้กี่ยุคก็แก้ไขไม่ได้
7. การเมืองนำ ทำเละ รถเมล์เชียงใหม่ เตี้ยอุ้มค่อม แต่หากเมื่อได้ลงลึกในรายละเอียดของระบบแล้ว เมื่อมี "การเมือง"เข้าแทรก เลยทำให้บทสรุปยกแรกของอนาคตรถเมล์ต้องเลือกใช้ทางออกแบบ "เตี้ยอุ้มค่อม".
8. เตี้ยอุ้มค่อม คนยากจน ย่ำแย่ ที่ต้องเลี้ยงดูคนแบบเดียวกัน. ความหมาย : สำนวนนี้มักจะใช้พูดถึงคนยากจน บางคนยากจะลืมตาอ้าปาก ตั้งตัว เพราะ ต้องดูแลคนที่ลำบากเหมือนกัน ..
9. เตี้ยอุ้มค่อม : เป็นสำนวนที่หมายถึง คนที่มีฐานะยากจนอยู่แล้ว ยังอุตส่าห์ไปช่วยคนที่ยากจนกว่าตนเข้าอีก เท่ากับ " เตี้ยอุ้มค่อม " คือ ยิ่งทำให้ตัวเองแย่ลงไปอีก หรือจะเปรียบได้อีกทางหนึ่งว่าคนที่ทำงานหรือทำอะไรเป็นภาระใหญ่มากมายเกินสติกำลังของตน ซึ่งไม่แน่ว่าจะทำไปได้ตลอดหรือไม่