สำนวนไทย มากหมอมากความ นั้นใช้ในการเปรียบเปรยถึงการรับฟังที่ต่างฝ่ายต่างมีความคิดเห็นเป็นของตน ยิ่งมากคนก็ยิ่งมากความ มีหลากหลายความคิดเห็นจากหลายบุคคลที่แตกต่างทำให้การพูดคุยหรือตกลงบางเรื่องนั้นทำได้ยากเย็น เพราะแต่ละความเห็นต่างมีทั้งข้อดี และข้อด้อยที่จะต้องนำมาพิจารณา ไม่สามารถมองข้ามไปได้ เรื่องแบบนี้สามารถจบลงได้ด้วยการใช้หลักการประชาธิปไตย คือใช้การโหวตหรือลงคะแนนเสียง และช่วยกันพิจารณาว่าสิ่งใดที่ดี ไม่ดี ด้วยการโต้แย้งกันอย่างสร้างสรรค์เพื่อให้บรรลุผลประโยชน์สูงสุดในงานนั้น ๆ เพราะแน่นอนต่างฝ่ายต่างต้องคิดว่าตัวเองถูกเสมอ การที่จะยึดเอาความคิดเห็นของตัวเองฝ่ายเดียวนั้นก็ไม่ได้เพราะว่าหากผิดพลาดมานั้นอาจจะทำให้หมดความน่าเชื่อถือ ได้นั่นเอง
ที่มาของสำนวน มากหมอมากความนั้น มาจากการที่จะตกลงหรือตัดสินเรื่องราวต่างๆนั้นหากอยู่กันเป็นหมู่คณะที่จะต้องพิจารณร่วมกัน ก็มักจะมีพวกหัวหมอ ซึ่งหมายถึงบุคคลที่ชอบตั้งตัวเป็นเสมือนผู้รอบรู้หรือนักกฎหมาย อ้างเหตุอ้างผลเพื่อโต้แย้งในเรื่องต่าง ๆ. อยู่ในกลุ่มเสมอดังนั้นจึงทำให้เรื่องต่างๆนั้นทำได้ล่าช้า เพราะมัวแต่ต้องฟังความเห็นจากพวกหัวหมอเหล่านี้
- มาก หมายถึง ว. หลาย, ตรงกันข้ามกับ น้อย, เช่น คนมาก น้ำมาก กินมาก.
- หมอ หมายถึง บุคคลที่ชอบตั้งตัวเป็นเสมือนผู้รอบรู้หรือนักกฎหมาย อ้างเหตุอ้างผลเพื่อโต้แย้งในเรื่องต่าง ๆ.
- ความ หมายถึง (๑) [คฺวาม] น. เรื่อง เช่น เนื้อความ เกิดความ
ตัวอย่างการใช้งานสำนวนไทยที่กล่าวว่า “มากหมอมากความ” ในประโยค
1. เหมือนโบราณว่า มากหมอมากความ จึงแก้น้ำท่วม-ภัยแล้งไม่สำเร็จ .2. ฝั่งป้อมมหากาฬ มีชุมชนเป็นพืดยืดยาวตามคลองโอ่งอ่าง ทั้งสองฝั่งตั้งแต่โบราณกาล ไม่ต้องพรรณนาเยิ่นเย้อมากหมอมากความ
3. มากหมอมากความ 'วิทยา' บอกเป็นความตั้งใจดี แต่คงไม่สมัครแข่ง เพราะเชื่อมั่นในมาตรฐานก.สาธารณสุข ปัดให้คะแนนการแก้ไขปัญหาหวัด.
4. มากหมอมากความ ! คำกล่าวนี้มีความจริงเพียงไร จะเห็นได้จากสภาพการในบ้านสุขนิวาศ ตั้งแต่ ๑๔ นาฬิกาล่วงแล้ว รถของบ้านสุขนิวาศทั้ง ๓ คันเลี้ยวกลับเข้าบ้านในเวลาไล่เลี่ยกัน.
5. มากหน้าหลายตามากหมอมากความ อย่าหัดวู่วามควรถามถ้วนถี่. ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว ไม่มีเงาหัวไม่รู้ชั่วดี. ไม่มีมูลฝอยหมาก็ไม่ขี้ ยินลากขากตีไม่รู้ดูตน.
6. กระทรวงสาธารณสุขต้องสงบ เป้าหมายรับตำแหน่ง รมว. ก็อยู่ที่ไม่มีลูกล่อลูกชนเพียงพอที่จะบริหารกระทรวงที่เต็มไปด้วยหมอๆ ที่มากหมอมากความเหล่านี้ได้.
7. สาวๆ สมัยนี้เป็นม้าดีดกะโหลกกันทั้งนั้น จะหาที่กิริยามารยาทเรียบร้อยได้ยากเหลือเกิน. เราปรึกษากันสองสามคนก็พอ มากหมอมากความ หลายคนนักก็สรุปยาก.
8. เราคิดกัน 2-3 คนพอแล้วละ หลายคนเกินไปก็มากหมอมากความเสียเปล่าๆ
9. เราจะทำอะไรก็ปรึกษากันแค่สองคนเท่านั้น ถ้าไปปรึกษาหลายๆคนมันก็จะ “ มากหมอมากความ ” ไปเปล่าๆ
10. เริมประชุม ตอนหัวคํา ไปเลิกประชุมเอาเกือบเที่ยงคืนเป็นประจำ อยู่มาได้สองสาม เดือนปรากฏว่าวงแตก เพราะ “มากหมอมากความ”
11. ต้องใช้เวลาในการประสานงานและอาจเกิดการซ้ำซ้อนสับสนและล่าช้า เหมือนอย่างภาษิตที่ว่า มากหมอมากความ เราจึงจับหมอให้มาเรียงความใหม่.
12. ฟังธรรมะเหมือนเข้าใจ แต่ ไม่ปฏิบัติตาม กลับไปปรึกษาหลายที่ เลยมากหมอมากความ เหมือนที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อว่า เข้าวัดนู้นที เข้าวัดนี้ที เลยไม่ได้อะไร สับสน
13. นี่ แต่ก็อย่างว่า 'มากหมอมากความ'. มีคนนิยามเสาเหล่านี้แตกต่างๆ กันบ้าง ผมขอถือเอาแบบโบราณที่ผมว่าน่าจะเข้าใจตรงกันมากที่สุด. ซึ่งเสาหลักที่ว่านั้นมี 4 ต้น.
14. มากหมอมากความ. การฟังต้องพิจารณาให้รอบคอบ ไม่หลงเชื่อคำพูดจนเกิดผลเสียหายแก่ตัวและสังคม. ในการฟังต้องมีวิจารณญาณ ทำความเข้าใจ วิเคราะห์เหตุผล ข้อเท็จจริงให้ได้