สำนวนไทย เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า หรือ เข้าป่าอย่าลืมพร้า (เถื่อน แปลว่า ป่า) คนโบราณท่านนิยมใช้เตือนสติให้เป็นคนรอบคอบ ไม่ประมาท จะทำอะไรให้ตระเตรียมของให้พร้อม เมื่อถึงเวลาจำเป็นจะได้หยิบฉวยมาใช้ได้ทันที สำนวนนี้เข้าทำนองที่ว่า “เหลือดีกว่าขาด” เหมือนกับตอนที่เดินทางเข้าป่านั้นอย่าได้ลืมเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้ปลอดภัย และ มีตัวช่วยอย่างเช่นมีดพร้าที่เป็นเครื่องมือสารพัดประโยชน์ ที่สามารถใช้ทำได้เกือบทุกอย่างที่ต้องการ
- เข้า หมายถึง ก. อาการที่เคลื่อนไปข้างในหรือทำให้เคลื่อนไปข้างใน เช่น เข้าบ้าน เข้าถํ้า เอาหนังสือเข้าตู้, เคลื่อนมาสู่, มาถึง, เช่น รถด่วนเข้า ๑๐ นาฬิกา พระศุกร์เข้า, สิง เช่น ผีเข้า เจ้าเข้า
- เถื่อน หมายถึง น. ป่า เช่น เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า.
- อย่า หมายถึง [หฺย่า] ว. คำประกอบกริยาบอกความห้ามหรือไม่ยอมให้ทำการต่าง ๆ.
- ลืม หมายถึง ก. หายไปจากความจำ, นึกไม่ได้, นึกไม่ออก, เช่น เขาลืมความหลัง ลืมชื่อเพื่อน, ระลึกไม่ได้เพราะขาดความเอาใจใส่เป็นต้น เช่น ลืมทำการบ้าน ลืมรดน้ำต้นไม้.
- พร้า หมายถึง [พฺร้า] น. มีดขนาดใหญ่, ถ้าเป็นรูปเพรียวยาวสำหรับถือกรีดกราย เรียกว่า พร้ากราย หรือ มีดกราย ทางถิ่นปักษ์ใต้เรียกว่า พร้าโอ หรือ มีดโอ, ถ้าปลายเป็นขอมีด้ามยาวสำหรับใช้เกี่ยวตัด เรียกว่า พร้าขอ หรือ มีดขอ, ถ้าปลายงุ้ม สันหนา และด้ามสั้น เรียกว่า พร้าโต้, มีดโต้ หรือ อีโต้ ก็เรียก, ถ้าเป็นรูปเพรียวยาวด้ามงอ ๆ สำหรับหวดหญ้า เรียกว่า พร้าหวด หรือ มีดหวด, ถ้าปลายแบนโตมีคม สำหรับขุดดินได้ เรียกว่า พร้าเสียม, ถ้าปลายตัดมีรูปโค้งนิด ๆ เรียกว่า พร้าถาง.
ตัวอย่างการใช้งาน สำนวนไทยที่กล่าวว่า เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า หรือ เข้าป่าอย่าลืมพร้า
1. เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า. คำนี้โบราณสอนไว้ หมายความว่า ยามจำเป็นต้องเข้าป่าพงที่มีรกชัฏ ต้องมีมีดพร้าติดตัว จะได้ถากถางสิ่งขวางทาง ให้สัญจรไปได้สะดวก.2. ก่อนจะเกินทางไกล เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า เพราะฉะนั้นอย่าลืมเอารถเข้าอู่ไปเช็คสภาพด้วยนะจ๊ะ
3. ถ้าเธอจะไปญี่ปุ่น อย่าลืมเอาเสื้อกันหนาวติดไปด้วย เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้านะ
4. เมื่อเราใช้คำว่า “ป่า” แทน wild ไม่ได้เต็มความหมาย เราก็หาดูตัวเลือกอื่น ก็มีคำว่า “เถื่อน” คำนี้ไม่จำกัดอยู่กับดงไม้ ดังคำพังเพยไทย “เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า” ...
5. เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า เข้าป่าอย่าลืมไฟแช๊ค ให้ไฟที่พุ่งเป็นมุมแคบ เหมาะมากสำหรับการจุดเตา. ให้อุณภูมิถึง 1300°C ช่วยให้จุดไฟติดได้แม้ในสภาพอากาศเลวร้าย.
6. เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้าคำนี้โบราณสอนไว้ หมายความว่า ยามจำเป็นต้องเข้าป่าพงที่มีรกชัฏ ต้องมีมีดพร้าติดตัว จะได้ถากถางสิ่งขวางทาง ให้สัญจรไปได้สะดวก นำมาเทียบกับโลกที่เหมือนดังป่ารกชัฏ อันมี รัก โลภ โกรธ หลง เป็นต้น ทุกคนเหมือนผู้เดินทางอยู่ในป่านั้น ย่อมหลงวนเวียนยากจะหาทางออก กล่าวคือ สังสารวัฏฏ์ ยากจะเห็นทางหลุดพ้นไปได้ สติ อุปมาดังอาวุธ เพราะมีลักษณะให้รู้สึกตัว ไม่ให้ประมาท ไม่หลงลืม.
7. อย่าอวดหาญแก่เพื่อน เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า: หน้าศึกอย่านอนใจ ไปเรือนท่านอย่านั่งนาน: การเรือนตนเร่งคิด อย่านั่งชิดผู้ใหญ่: อย่าใฝ่สูงให้พ้นศักดิ์ ที่รักอย่าดูถูก: ปลูกไมตรีอย่ารู้ร้าง.
8. ผักต้มขนมยำ ปนเปไปไม่รู้พอ เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า ทุกแนวป่ามีภัยรอ ประมาทอาจทุกข์ท้อ ทุกข์การณ์ก่อต้องใคร่ครวญ ฝนตกอย่าเชื่อดาว ราวฟ้ากว้างกว่าเมฆกวน.
9. แต่ก่อนนั้น เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า เข้าป่าอย่าลืมปืน เป็นปกติ บางหมู่บ้านอยู่รอดมาได้ทุกวันนี้ เพราะปืนโดยแท้. มีดดี ไม่เคยได้มาจากเหล็กที่ไม่ดี.
อ้างอิงข้อมูล : พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔