สำนวนดังกล่าว ใช้ในการเปรียบเปรยถึงคนที่มีนิสัยปากโป้ง เก็บความลับสำคัญๆเอาไว้ไม่ได้ พอไปรู้ความลับอะไรมาก็จะรู้สึกคันปากยิบๆที่จะเผยความลับให้คนอื่นได้รับรู้ เรามักเรียกคนประเภทนี้ว่าพวก ฆ้องปากแตก อาการนี้สามารถเป็นกันได้ทุกคน ดังนั้นเราควรที่จะระลึกตนเสมอว่าไม่ควรนำเอาความลับไปเปิดเผยจนทำให้คนอื่นเดือดร้อน ถ้าไม่สามารถควบคุมตัวเองได้จริงๆ ก็พยายามหลีกเลี่ยงข้อมูลที่เป็นความลับต่างๆให้มากที่สุด
ที่มาของสำนวนนี้ มาจากการเปรียบเปรยถึง ฆ้องที่ยังคงมีสภาพดี ปากฆ้องยังดี ไม่แตก เวลาตีฆ้อง เสียงก็จะความไพเราะ ดังกังวาน น่าฟังแตกต่างฆ้องที่ปากแตกแล้ว เสียงไม่ดี ก็เหมือนคน ปากไม่ดี เก็บความลับไม่อยู่ ไม่ต่างอะไรกับ ฆ้องปากแตก เที่ยวโพนทะนาความลับคนอื่นไปทั่ว ฆ้องปากแตก เสียงย่อมฟังดูแปร่งประหลาดหู จึงนำลักษณะนี้ไปเปรียบเปรยผู้ที่มีพฤติกรรมการพูดไม่เหมาะสมดังกล่าว ว่าจริงแล้วไม่ใช่เรื่องที่ชวนฟังเท่าไรนัก เพราะมีแต่จะทำให้ระคายหูเท่านั้นเอง
- ฆ้อง หมายถึง น. เครื่องตีชนิดหนึ่ง ทำด้วยโลหะผสม รูปร่างเป็นแผ่นวงกลมมีปุ่มนูนกลมตรงกลางสำหรับตี มีขอบยื่นลงมารอบตัว เรียกว่า ใบฉัตร มีหลายชนิด เช่น ฆ้องกระแต ฆ้องชัย ฆ้องวง.
- ปาก หมายถึง น. ขอบช่องแห่งสิ่งต่าง ๆ เช่น ปากหม้อ ปากไห
- แตก หมายถึง ก. มีรอยแยก, แยกออกเป็นรอย, เช่น กำแพงแตก หน้าขนมแตก
ตัวอย่างการใช้งานสำนวน ฆ้องปากแตกในประโยค.
1. เจ้านายเริ่มไม่ไว้ใจคนที่เป็นฆ้องปากแตกเช่นเขา เพราะเขาเก็บความลับไม่อยู่กลัวว่าซักวันหนึ่งความลับของบริษัทจะไปเข้าหูฝ่ายตรงข้ามที่เป็นคู่แข่ง2. นี่สมจิตรมีเรื่องอะไรอย่าไปเผลอเล่าให้หล่อนฟังนะ เพราะหล่อนเป็นพวกฆ้องปากแตก วันๆไม่ทำอะไร เอาแต่พูดนินทาเรื่องชาวบ้าน
3. หากรู้ว่า ตัวเอง เป็นคนประเภท ฆ้องปากแตก เก็บความลับไม่อยู่ ก็อย่าไปรับฟังความลับของใคร เพราะรู้แล้วมักจะเกิดอาการคัน ปาก ทนไม่ได้ ต้องเอาไปเล่าให้คนอื่นฟัง ประเดี๋ยวจะกลายเป็นว่า โดนต่อยปากแตก แทน ฆ้องปากแตก
4. "ฆ้องปากแตก" ร้องแรก แหกกระเชอ. ชอบเสนอ เรื่องคนอื่น ฟื้นออกเกลี้ยง. ความลับ-แจ้ง แจงโพนทนา ซ่าไม่เลี้ยง. ปากโป้งเยี่ยง เพียงนักข่าว ชาวปากบอน.
5. ฆ้อง หมายถึงเครื่องตีชนิดหนึ่งที่ทำด้วยโลหะผสม มีหลายอย่าง อาทิ ฆ้องวง ฆ้องกระแต ฆ้องคู่ แต่ถ้าใครก็ตามถูกกล่าวหาว่าเป็นพวก ฆ้องปากแตก ...
6. ถ้าไม่ใช่คำไทยเก่าแก่แล้ว จะมีคนชื่อเล่นมากมายว่า “เม้า” ที่คนโบราณเรียกกันมาแสนนานว่าโดยความเอ็นดูปนหมั่นไส้ได้อย่างไร เช่น “ยายเม้าปากปลาร้า ยายเม้าฆ้องปากแตก”
7. พูดอย่างนี้ไม่ใช่ปกป้องสมชัย แต่การใช้ ม.44 ต่างหากจะถูกมองว่าระงับอารมณ์ไม่อยู่ อยากเบรกฆ้องปากแตก แต่เอาเข้าจริงไม่มีผล สมชัยยังคงเป็น กกต.โซเชี่ยล..
8. ประชาชนมีความคิด มันสมองด้วยแล้ว การใช้อำนาจแบบยโสโอหัง ล้วนเป็นชนวนนำสู่วิกฤติ จึงมีพวกผีโม่แป้ง ฆ้องปากแตกระดับต่างๆ ออกมาตีปลาหน้าไซ
9. : สำนวนนี้ใช้เปรียบเทียบคนที่ชอบเอา ความลับของคนอื่นไปเปิดเผย เป็นพวก ฆ้องปากแตก รู้เรื่องอะไร ก็ต้องพูด คันปาก ต้องบอกให้คนอื่นรู้
10. ฆ้องปากแตก นิยมใช้กับคนที่เป็นคนปากสว่าง เก็บความลับไม่เป็น ถ้าให้ได้รู้เรื่องอะไรหรือความลับของใคร ก็ได้รู้กันทั้งบางแน่นอน ศัพท์สมัยนี้นิยมเรียกกันว่าหอกระจายเสียงประจำหมู่บ้าน หรือ หอกระจายเสียงเคลื่อนที่นั่นเอง ดังนั้นถ้าเจอคนประเภทนี้อย่าบอกอะไรที่เป็นความลับเป็นอันขาด เพราะไม่เพียงจะเอาเรื่องคนอื่นมาเล่าให้เราฟัง ความลับของเราเองก็คงไม่รอดปากเหยี่ยวปากกาไปได้