-->

ขนมผสมน้ำยา หมายถึงอะไร ?





Laz Flash Sale ลดแรงกว่า 90%
ดีลจำกัดเวลา ให้คุณเลือกซื้อสินค้าราคาพิเศษได้ทุกวัน สินค้าลดราคากับ Flash Sale
Lazada แฟลชเซล จัดเต็มดีลฮิตทุกวัน ช้อปออนไลน์ 24 ชั่วโมง ☆ดีลจำกัดเวลาสุดฮอต ☆ลดราคาแรง ☆สินค้าหลากหลาย

ช้อปเลย





ขนมผสมน้ำยา หมายถึงอะไร ?



ขนมผสมน้ำยา หมายถึงอะไร ? สำนวนสุภาษิตไทยที่กล่าวว่า ขนมผสมน้ำยา หรือบางทีก็ว่า ขนมพอสมน้ำยา นั้นหมายถึง (สำ) ว. พอดีกัน จะว่าข้างไหนดีกว่ากันก็ไม่ได้. อ้างอิงจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔ สำนวนดังกล่าว ใช้ในการเปรียบเทียบว่า ทั้งสองฝ่ายหรือคนสองคนนั้น มีความดี และความเลวพอกันอยู่ในระดับเดียวกัน พอฟัดำพอเหวี่ยงกัน ถ้าเป็นคู่ชกก็สูสี ไม่มีใครเด่นกว่าใคร ซึ่งใช้ในการกล่าวถึงทั้งในทางดี และทางไม่ดีต้องไปดูในรูปประโยคเสียก่อนว่าจะสื่ออกไปในแนวใด 
ที่มาของสำนวน ขนมผสมน้ำยา ขนมดังกล่าวคือขนมจีน โดยปกติขนมจีนใช้กินกับน้ำยาหรือน้ำพริกหรือแกงเผ็ด ขนมจีนน้ำยาเป็นอาหารไทยยอดนิยมอย่างหนึ่งมาแต่โบราณ ขนมจีนน้ำยาจะอร่อยต้องมีปริมาณขนมจีนและน้ำยาเหมาะสมกัน ถึงจะออกรสชาติ และอร่อย ดังนั้น ขนมผสมน้ำยานั้นจึงหมายถึง พอดีกัน จะว่าข้างไหนดีกว่ากันก็ไม่ได้ นั่นเอง

รศ.ม.ล.จรัลวิไล จรูญโรจน์ หัวหน้าสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน เสริมว่า --- "เพราะสระออ เป็นสระยาว เวลาพูดเร็วๆ ก็จะกร่อนไป จากพอสมกลายเป็นผสม ในพจนานุกรมปี 2525 ยังเก็บว่าผสมน้ำยา แต่เราก็ทราบว่าจริงๆ มันไม่ใช่ผสม เพียงแต่เราพูดกร่อนกันจนจำเป็นต้องยอมรับ พอสม คือพอสมควรกัน หมายถึงขนมจีนมีปริมาณสมควรพอดีกันกับน้ำยา ความหมายคือ ไม่ได้ดี ไม่ได้เลวทั้งคู่ ไม่ได้เก่ง ไม่ได้แย่ ไม่ต้องเปรียบเทียบกันหรอก"
แม้มีผิดเพี้ยนเปลี่ยนไป แต่ก็เป็นเรื่องน่ารู้ของภาษา ที่ทำให้สำนวนไทยเป็นอีกแหล่งข้อมูลชั้นดี ที่บอกถึงวิถีวัฒนธรรมความเป็นอยู่แล้ว ยังเป็นที่มาของสำนวนอีกด้วย.

สำนวนไทย สุภาษิต คำพังเพย ที่มีความหมายใกล้เคียงกันได้แก่


  • ขนมผสมน้ำยา
  • ขิ่งก็ราข่าก็แรง
  • ไม้เบื่อไม้เมา

  • ขนม หมายถึง [ขะหฺนม] น. ของกินที่ไม่ใช่กับข้าว มักปรุงด้วยแป้งหรือข้าวกับกะทิหรือนํ้าตาล, ของหวาน, ทางเหนือเรียกว่า ข้าวหนม.
  • ผสม หมายถึง [ผะ-] ก. รวมกันเข้า. (ข. ผฺสํ).
  • น้ำยา หมายถึง น. อาหารคาวอย่างหนึ่ง ลักษณะอย่างแกงกะทิ กินกับขนมจีน มีรสค่อนข้างเค็ม ทำด้วยเนื้อปลาต้ม โขลกกับเครื่องแกงผสมกระชาย กินกับถั่วงอกลวก ใบแมงลักเป็นต้น

 ตัวอย่างการใช้งานสำนวนไทยที่กล่าวว่า ขนมผสมน้ำยา 


  1. “พูดกันตรง ๆ ฉันว่าคู่นี้มัน ขนมพอสมน้ำยา อย่าไปเข้าข้างคนไหนเลย”
  2. เราต่างก็เป็นขนมผสมน้ำยาไม่มีใครดีเลวไปกว่ากันหรอก
  3. สิ่งที่ทำมานี้เหมือนขนมผสมน้ำยา
  4. เขาทั้งคู่ก็เหมือนขนมผสมน้ำยา ต่างคนต่างคุยโม้ โอ้อวดว่าตัวเองเก่ง มีความสามารถเหนือกว่าอีกฝ่าย แต่สุดท้ายแล้วก็ไม่มีใครดีกว่าใคร
  5. ดารากับคนรวยก็เหมือนขนมผสมน้ำยา สังคมชอบมองว่าดาราชอบจับคนรวย แต่จริงๆแล้วคนรวยก็ชอบรูปร่างหน้าตา ความมีชื่อเสียงของดาราเหมือนกัน สุดท้ายหวังผลทั้งสองฝ่าย ไม่มีฝ่ายไหนดีไปกว่ากัน
  6. “ขนมจีนน้ำยา” คือ ขนมจีนกับน้ำยาจะต้องผสมให้ได้ส่วนพอเหมาะ จึงจะรับประทานอร่อย ต้องกะส่วนให้มีสัดส่วนเข้ากันพอดีทั้งสองฝ่าย เมื่อรับประทานแล้วเกิดอร่อยไม่ใช่ว่าขนมจีนอร่อย หรือน้ำยาอร่อย แต่ควรอร่อยด้วยกันทั้งสองอย่าง
  7. ขนมพอสมกับน้ำยา เคยพูดว่า ขนมผสมน้ำยา แปลว่า เข้ากันเป็นปี่เป็นขลุ่ย จีดชืดเป็นน้ำยาเย็น เคยพูดว่า จืดชืดเป็นยาเย็น แสดงกิริยาว่า กินของต้องกินร้อนๆ ..
  8. สำนวนไทยท่านว่าไว้ “คำพูด. ... ต้องยอมรับว่า หัวหน้าพรรคกับเลขาธิการพรรค “อนาคตใหม่” ช่างเหมาะสมเป็นคู่ตุนาหงันเยี่ยง “ขนมผสมน้ำยา” โดยแท้.
  9. ทั้งฝ่ายค้าน และฝ่ายรัฐบาล ต่าเขี้ยวลากดินทั้งคู่ไม่มีใครด้ยกว่ากัน เหมาะสมเท่าเทียมกันยังกับ “ขนมผสมน้ำยา” จริงๆ
  10. สส.พรรคฝ่ายร่วมรัฐบาล ต่างมีปูมหลังที่ไม่ธรรมดาทั้งนั้น โดยส่วนมากจะเป็นที่ดูดมาจาก สส.ฝ่ายตรงข้ามเสียส่วนใหญ่ ช่างเหมาะสมกันปาน “ขนมผสมน้ำยา” จริงๆ มีแต่คนเลวๆทั้งนั้นที่ไปเก็บเอามาเป็นพวก.
  11. ปารีณา และพ่อต่างคนต่างมีข้อดีที่พอๆกัน ยังกะ“ขนมผสมน้ำยา” ทำความผิด โดยที่ไม่ยอมรับผิด ซ้ำยังตีมึนไปฟ้องคนไม่ผิดอีกเลวจริงๆ
อ้างอิงข้อมูล : พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔