สำนวนนี้ใช้ในการแนะนำการวางตัวให้เข้ากันกับสถานที่หรือ สังคมที่ได้เข้าไปอยู่อาศัย หรือวิถีและวัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้น ๆ ด้วยการปรับตัวให้กลมกลืนกับคนท้องถิ่นในทุกอย่าง ตั้งแต่การใช้ชีวิต การวางตัว กฎเกณฑ์ และกติกาของสังคมนั้น ๆ ให้เหมาะสมกับลักษณะต่างๆให้มากที่สุด เพื่อที่จะให้คุณสามารถอยู่ในสังคมนั้นได้อย่างสงบสุขนั่นเอง การวางตัวเป็นอย่างอื่นที่อาจจะเข้าไปขัดแย้งกับสังคมนั้นอาจจะไม่ได้รับการยอมรับ และอาจจะตกอยู่ในลักษณะ การอยู่ไม่ได้ ต้องออกไป หรือ ย้ายไปยังสังคมที่เราสามารถอยู่ได้ ดังนั้นถ้าต้องการอยู่ในสังคม เราควร เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม
- เข้า หมายถึง ก. อาการที่เคลื่อนไปข้างในหรือทำให้เคลื่อนไปข้างใน เช่น เข้าบ้าน เข้าถํ้า เอาหนังสือเข้าตู้, เคลื่อนมาสู่, มาถึง, เช่น รถด่วนเข้า ๑๐ นาฬิกา พระศุกร์เข้า, สิง เช่น ผีเข้า เจ้าเข้า
- เมือง หมายถึง น. แดน เช่น เมืองมนุษย์ เมืองสวรรค์ เมืองบาดาล, ประเทศ เช่น เมืองไทย เมืองจีน เมืองลาว
- ตา หมายถึง น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ ทำหน้าที่ดู
- หลิ่ว หมายถึง ก. หรี่ตาลงข้างหนึ่ง เพื่อเล็งดูด้วยตาอีกข้างหนึ่ง, โดยปริยายหมายถึงให้สัญญาณด้วยอาการเช่นนั้นเพื่อให้ลงมือทำการหรือไม่ทำการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือเพื่อแสดงอาการล้อเลียนหยอกล้อ.
- ต้อง หมายถึง ก. เป็นกริยาช่วยบอกความแน่ใจหรือบังคับ เช่น เขาต้องมาแน่ เด็กต้องนอนแต่หัวค่ำ.
- หลิ่วตา หมายถึง ก. หรี่ตาลงข้างหนึ่ง เพื่อเล็งดูด้วยตาอีกข้างหนึ่ง, โดยปริยายหมายถึงให้สัญญาณด้วยอาการเช่นนั้นเพื่อให้ลงมือทำการหรือไม่ทำการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือเพื่อแสดงอาการล้อเลียนหยอกล้อ.
- ตาม หมายถึง ก. ไปหรือมาข้างหลังหรือภายหลังโดยลำดับของสิ่งหรือเหตุการณ์ที่มีมาก่อน เช่น ตามเขาไป แล้วจึงค่อยตามมา ตามเหตุการณ์
เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม ภาษาอังกฤษ
สำนวน “เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม” นั้น มีความหมายว่า ให้ปฏิบัติตนให้เหมาะสม เข้ากับสภาวะแวดล้อมหรือสังคมที่เรากำลังอยู่ ในภาษาอังกฤษก็มีสำนวนที่มีความหมายคล้ายกันคือ When in Rome do as Roman do ก็คือให้ทำตัวให้เหมือนคนโรมัน เมื่ออยู่ในกรุงโรมนั่นเองตัวอย่างประโยคการใช้งานสำนวนไทยที่กล่าวว่า เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม
1. เราอาจจะเคยได้ยินสำนวน เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม ในหนัง หรือทีวี เวลาที่พระเอก นางเอก ต้องปลอมตัวให้เข้ากับคนใน เมืองนั้นๆ เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม ทำตัวให้เหมือนชาวเมือง ก็จะไม่ผิดสังเกตุ คนก็จะคิดว่า เป็นคนเมืองนั้น เพราะปฏิบัติตัว คล้ายกัน2. เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม เช่น เราไปอาศัยอยู่บ้านญาติซึ่งเขานิยมเข้าวัดเข้าวา ทำบุญตักบาตรอยู่เป็นประจำ เราก็ควรที่จะทำตามแบบเขาบ้าง ไม่ใช่คอยหลบหลีกไม่ยอมร่วมกิจกรรมกับเขา หรือพยายามพูดว่าสิ่งที่เขาทำอยู่เป็นสิ่งไม่ดีหรือไม่ควรทำ
3. "เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม" ยังใช้ได้เสมอไม่ว่ายุคไหน คนไทยไปเที่ยวญี่ปุ่นก็เช่นกัน.
4. เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม, ความหมาย ประพฤติให้ถูกต้องตามกาลเทศะ เมื่อไปอยู่ในพวกเขาแล้ว ก็ต้องประพฤติคล้อยตามเขา.
5. เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม. หลายครั้งที่การเดินทางไปยังที่ใหม่ๆ มันสามารถเปลี่ยนความคิดของเราได้เสมือนกับเปลี่ยนเป็นคนละคน.
6. "เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม" ถือเป็นเรื่องที่สอนและบอกต่อๆ กันมานาน พร้อมกับยกตัวอย่างเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจกับสุภาษิตดังกล่าวให้ถ่องแท้.
7. แปลตามประโยคสำนวนก็ว่า 'เข้าเมืองตาบอดข้างเดียว ถึงแม้ตาเราไม่บอด ก็ต้องทำตาบอดข้างเดียวตามเขาไปด้วย' ('ตาหลิ่ว' ในที่นี้หมายถึง 'ตาบอดข้างเดียว' หรือ 'คนตาเดียว' ไม่ใช่หมายถึง 'ทำตาหลิ่ว' หรือ 'หลิ่วตา' ) หมายความว่า 'ที่แห่งใดเขาประพฤติตามเขาไปด้วย อย่าไปประพฤติขัดแย้งกับเขา'
8. เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตามดัชนีตลาดบ้านเราวันนี้เจ้าค่ะ กลับมาปังๆได้อีกครั้ง ยืนเหนือ 1,650 จุด จนได้.
9. เข้าเมืองตาหลิ่ว ไม่ต้องหลิ่วตาตาม. ลัทธิเอาอย่างในวิถีชีวิตของมนุษย์เงินเดือน ที่ผ่านมาสะท้อนในหลายรูปแบบ ปะปนกันไป มีทั้งดี และไม่ดี.