การกระทำสิ่งใดที่ไม่ค่อยถูกเวลา เช่นซื้อของไม่ดูฤดูกาล ทำให้ได้ของที่มีราคาแพงกว่าฤดูอื่นมากโดยเฉพาะในช่วงที่มีความต้องการสูง เช่นเสื้อผ้ากันหนาวในหน้าหนาว หรือ ผลไม้นอกฤดู ราคาก็จะแพงมากกว่าช่วงที่ผลไม้ต้นนั้นออกลูกหรือผลปกติ ซื้อผ้าหน้าตรุษ คำว่า ผ้า ในสมัยก่อนก็คือเสื้อผ้าในสมัยนี้ เพราะการแต่งกายแต่ก่อนมีผ้านุ่ง ผ้าห่ม ทั้งหญิงและชาย หรือเป็นผ้าชิ้นที่ซื้อไปตัดเสื้อเพราะไม่มีร้านเสื้อผ้าสำเร็จรูปอย่างในสมัยนี้ ส่วนคำว่า ตรุษ หมายถึง สิ้นปี ขึ้นปีใหม่ นั่นคือตรุษสงกรานต์ การที่จะซื้อผ้าในช่วงนั้นที่ใคร ๆ ก็อยากแต่งตัวสวยงามแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าใหม่ในปีใหม่ ในเทศกาลรื่นเริงประจำปี ผ้าก็จะแพงเพราะเป็นที่ต้องการ ดังนั้นโบราณตั้งสำนวนนี้ขึ้น
ที่มาของสํานวน “ ซื้อควายหน้านา ซื้อผ้าหน้าตรุษ ” เปรียบเปรยถึงการที่จะซื้อควายในช่วงที่เป็นฤดูไถนา ราคาควายก็จะแพงกว่าช่วงที่ไม่ใช่ฤดูไถนาซึ่งเป็นช่วงที่มีความต้องการควายไปไถนามากกว่าปกติ ต้องนึกภาพตามว่า ในช่วงฤดูทำนา ชาวนาสมัยก่อนจะใช้ควายในการไถนา หากเราจะไปขอซื้อควายในช่วงนั้นคงจะหาซื้อได้ยาก และมีราคาแพงมาก จึงสามารถตีความหมายได้ว่า เป็นการกระทำที่ไม่ถูกเวลา นั่นเองทำให้ต้องจ่ายแพงกว่า หรือหาของที่ต้องการได้ยากกว่า ซื้อควายหน้านาซื้อผ้าหน้าตรุษ หรือ ซื้อควายหน้านาซื้อผ้าหน้าหนาว (คำว่าควายบางทีก็ใช้ว่า วัว) หมายความอย่าซื้อหาอะไรในเวลาที่ของนั้นกำลังเป็นที่ต้องการใช้ หรือกำลังออกมาใหม่ ๆ อยู่ในที่นิยมเพราะมันจะมีราคาแพง เหมือนกับถ้าเราจะซื้อควายในช่วงฤดูทำนาตั้งแต่ราวเดือน ๖ - เดือน ๑๒ (พฤษภาคม - พฤศจิกายน) ช่วงนั้นแรงงานวัวควายกำลังเป็นที่ต้องการก็มีราคาแพง เปรียบได้กับการทำอะไรที่มักไม่เหมาะสมกับการเวลา และสถานที่ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความเสียหายมากได้ ดังนั้นก่อนที่จะทำสิ่งใดควรศึกษาให้ถ่องแท้ เพื่อที่จะช่วยลดความผิดพลาดลงไปให้น้อยที่สุด
ตัวอย่างการใช้งาน สำนวนไทยที่กล่าวว่า “ ซื้อควายหน้านา ซื้อผ้าหน้าตรุษ ”
1. เธอซื้อมาทองช่วงเทศกาลตรุษจีนแบบนี้ ก็แพงนะซิ เพราะใครๆเขาก็ซื้อกัน อย่างที่โบราณว่าอย่าซื้อควายหน้านา ซื้อผ้าหน้าหนาว ถ้ารู้ว่าต้องใช้ทำไมไม่เตรียมการไว้ล่วงหน้า.2. การรู้จักจับจ่ายใช้สอย ไม่ ซื้อควายหน้านา ซื้อผ้าหน้าตรุษ จะซื้อสินค้าใด ก็รู้จักเลือกช่วงเวลา รู้จักหักห้ามใจ รอเวลาที่เหมาะสม ก็จะได้ของถูกกว่า ประหยัดเงินมากกว่า การซื้อสินค้าในช่วงเทศกาล
3. การท่องเที่ยวในช่วงเทศกาล หรือช่วงวันหยุด สินค้าและบริการต่างๆ อาจจะมีราคาสูง จึงควรหลีกเลี่ยง ไม่ ซื้อควายหน้านา ซื้อผ้าหน้าตรุษ จะเสีย เงินเปล่า รู้จักอดใจรอเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสมจะดีกว่า ประหยัดเงินมากกว่า
4. นายน้อยรู้อยู่แล้วว่าเสื้อกันหนาวของตนนั้นไม่อยู่ในสภาพที่จะใส่ต่อไปได้ ซึ่งเสื้อกันหนาวมีวางขายทั่วไป สามารถซื้อหาได้ทันที แต่นายน้อยก้โอ้เอ้ไม่ใส่ใจ รอจนเข้าหน้าหนาวถึงจะไปเดินเลือกซื้อ ซึ่งต้องซื้อในราคาที่แพงกว่าช่วงอื่นๆ
5. ซื้อควายหน้านา ซื้อผ้าหน้าตรุษ ซื้องัวหน้านา ซื้อผ้าหน้าหนาว ซื้อของไม่คำนึงถึงกาลเวลา ย่อมได้ของแพง ทำอะไรไม่เหมาะกับกาลเวลา ย่อมได้รับความเดือดร้อน
6. ซื้อควายหน้านา ซื้อผ้าหน้าตรุษ (หน้าหนาว), ซื้อของไม่คำนึงถึงกาลเวลาย่อมได้ของแพง (Demand สูง Supply ต่ำ).
อ้างอิงข้อมูล : พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔