สำนวนดังกล่าวมักใช้ในการอธิบายถึงผู้ที่ชอบมองด้านเดียว แล้วตีความเอาตามที่ตนเองเข้าใจเพียงคนเดียว โดยที่ไม่ยอมที่จะฟังความคิดเห็น หรือพิจารณาความคิดเห็นของผู้อื่นด้วย ซึ่งแน่นอนสิ่งที่เขารับรู้และเข้าใจอาจจะไม่ใช่ทั้งหมดของความจริงที่ปรากฏอยู่ เพราะว่ามองและสรุปด้วยข้อมูลเพียงด้านเดียว ดังนั้นจึงไม่เหมาะสมที่จะสรุป และศึกษา หรือเรียนรู้อะไรเพียงด้านเดียว ควรจะมีการศึกษาและ เรียนรู้หลายๆด้านในเรื่องนั้นทั้งด้านที่ดี และไม่ดี รวมถึงต้องมีการรับฟัง และพิจารณาความเห็นของผู้อื่นด้วยนั่นเอง
โดยที่มาของสำนวน ตาบอดคลำช้าง นั้นมาจากเรื่องเล่าโดยพระพุทธเจ้าในสมัยพุทธกาล ที่ตรัสสั่งสอนแก่ภิกษุมีเนื้อเรื่องว่า มีพระราคชาองค์หนึ่งในนครสาวัตถี ใด้นำเอาคนตาบอดแต่กำเนิดทั้งหมดหลายคนมาประชุมกันโดยให้นำช้างตัวหนึ่งมาให้คนตาบอดเหล่านั้นทำความรู้จักด้วยการลูบคลำโดยแบ่งให้แต่ละกลุ่มนั้นแสดงส่วนอวัยวะของช้างแต่ละส่วนให้คนตาบอดพัง และสัมผัสบอกว่าช้างเป็นอย่างนี้นะ เป็นอย่างนั้นนะ โดยให้แสดงงาช้างแก่อีกพวกหนึ่ง แสดงงวงช้าง ตัวช้าง เท้าช้าง หลังช้าง หางช้าง ปลายหางช้าง แก่คนตาบอดทีละพวกๆ ไปจนหมด บอกว่าช้างอย่างนี้นะ ช้างอย่างนี้นะ เสร็จแล้วกราบทูลพระราชาว่า คนตาบอดทั้งหมดได้ทำความรู้จักช้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ครั้งนั้น พระราชาจึงเสด็จมายังที่ประชุมคนตาบอด แล้วตรัสถามว่า “พวกท่านได้เห็นช้างแล้วใช่ไหม?” คนตาบอดก็กราบทูลว่า “ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้เห็นแล้วพระเจ้าข้า” พระราชาตรัสถามต่อไปอีกว่า “ที่ท่านทั้งหลายกล่าวว่า ได้เห็นช้างแล้วนั้น ช้างเป็นเช่นไร?”คราวนั้นคนตาบอดที่ได้คลำศีรษะช้าง ก็ว่าช้างเหมือนหม้อ คนที่ได้คลำหูช้าง ก็ว่าช้างเหมือนกระด้ง คนที่ได้คลำงาช้างก็ว่าช้างเหมือนผาล คนที่ได้คลำงวงช้าง ก็ว่าช้างเหมือนงอนไถ
คนที่ได้คลำตัวช้าง ก็ว่าช้างเหมือนยุ้งข้าว คนที่ได้คลำเท้าช้าง ก็ว่าช้างเหมือนเสา คนที่ได้คลำหลังช้าง ก็ว่าช้างเหมือนครกตำข้าว คนที่ได้คลำหางช้าง ก็ว่าช้างเหมือนสาก คนที่ได้คลำปลายหางช้าง ก็ว่าช้างเหมือนไม้กวาด เสร็จแล้วคนตาบอดเหล่านั้น ก็ได้ทุ่มเถียงกันว่า ช้างเป็นอย่างนี้ ช้างไม่ใช่อย่างนั้น จนถึงชกต่อยชุลมุนกัน เป็นเหตุให้พระราชานั้น ทรงสนุกสนานพระทัยมาก
ดังนั้นในการมองสิ่งที่เกิดขึ้นนั้น เราไม่สมควรที่จะมองเพียงด้านเดียว แล้วสรุปเองว่ามันเป็นอย่างนี้ อย่างนั้นเราควรที่จะมองให้รอบด้าน พร้อมกับรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นด้วย จะทำให้เราสามารถได้ข้อมูลที่ผิดพลาดน้อยที่สุด และใกล้เคียงความจริงมากที่สุด ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถนำเอาข้อมูลดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ได้ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ตัวอย่างการใช้งานสำนวนสุภาษิตไทยที่กล่าวว่า “ตาบอดคลำช้าง” ในประโยค
1. ผมว่าการที่เราจะปฏิรูปการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการควรจะออกมาแจกแจงรายละเอียด ให้สถาบันการศึกษาทุกหน่วยงานได้มีความเข้าใจตรงกัน มิเช่นนั้นก็จะเหมือนตาบอดคลำช้าง บริหารงานกันไปคนละทิศคนละทาง2. ตาบอดคลำช้าง นินทาและสรรเสริญ เป็นโลกธรรม ที่อยู่คู่มนุษยชาติมาตลอด เพราะในโลกนี้ “นักพูด” มีมากกว่า “นักทำ” ผู้ที่มีปกติชอบพูดวิพากษ์วิจารณ์ เยาะเย้ยถากถางผู้อื่น
3. นิทานเรื่องคนตาบอดคลำช้างเป็นตัวอย่างที่ดีมาก เพราะตาบอด แต่ละคนจึงรู้จักช้างเป็นส่วนๆ ไม่เห็นช้างทั้งตัว คนที่คลำเจอขาก็ว่าช้างเหมือนเสา คนคลำเจอตัวก็ว่าช้างเหมือนกำแพง .
4. ได้อ่านหนังสือ "อินเดียใต้ต้นไม้" มีเรื่องราวที่อ้างอิง เกี่ยวกับตาบอดคลำช้าง นิทานไทย : จะพูดถึงเรื่องของ คนตาบอดแต่ละคน ที่ไปลูบคลำช้าง แต่ละคน .
5. อุบลฯ ชี้กลุ่มสามมิตร ทำตัวประหนึ่งตาบอดคลำช้าง แนะ พปชร.ระวังตัวคนกลุ่มนี้หักหลัง. หารือกับประชาชนเกี่ยวกับปัญหาเรื่องปากท้อง.
6. ผู้ช่วยรมว ศธ ฟันธงการศึกษาไทยเหมือน ตาบอดคลำช้าง ชี้แก้ได้ ต้องรู้หน้าตา จึงจะรู้วิธีปลุกช้างฟื้นคืนชีพ นพ ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ ผู้ช่วยรัฐม..
อ้างอิงข้อมูล : พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔