สำนวนดังกล่าวใช้ในการเตือนสติคนเราไม่ให้ไปสร้างความเดือดร้อนให้กับผู้อื่น เพราะว่าผลของการกระทำดังกล่าวนั้นจะย้อยกลับมาหาตัวเองอย่างแน่นอนเพราะว่าตัวเราเป็นคนไปก่อเรื่องให้คนอื่นไว้ ดังนั้นเราจะต้องเป็นคนรับผิดชอบโดยตรงที่ได้ไปทำเรื่องไม่ดีต่างๆไว้ พอมีการสอบสวนนั้น ผลการสอบสวนเองก็จะชี้มาที่ตัวเรา หรือตัวคนที่สร้างความเดือดร้อน อย่างแน่นอน ไม่ช้าก็เร็ว ดังนั้นการหลีกเลี่ยงที่จะสร้างความเดือดร้อนให้กับตนเอง และผู้อื่นนั้นจะดีที่สุด
- ให้ หมายถึง ก. มอบ เช่น ให้ช่อดอกไม้เป็นรางวัล, สละ เช่น ให้ชีวิตเป็นทาน, อนุญาต เช่น ฉันให้เขาไปเที่ยว
- ทุกข์ หมายถึง น. ความยากลำบาก, ความไม่สบายกายไม่สบายใจ, ความทนได้ยาก, ความทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้. (ป.; ส. ทุะข).
- แก่ หมายถึง ว. มีอายุมาก เช่น แก่ไปทุกวัน ไม้แก่ เด็กคนนี้แก่กว่าเด็กคนนั้น, อยู่ในวัยชรา เช่น คนแก่ หญิงแก่, จัด เช่น เหลืองแก่ แก่เปรี้ยว แก่หวาน
- ท่าน หมายถึง ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เป็นคำกลาง ๆ หรือแสดงความเคารพ เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, ใช้แทนผู้ที่เราพูดถึงด้วยความเคารพ เช่น ท่านไม่อยู่ คุณพ่อท่านหลับแล้ว หรือโดยไม่เจาะจง เช่น อย่าลักทรัพย์ท่าน เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
- นั้น หมายถึง ว. ใช้ประกอบนามหรือข้อความที่กล่าวอ้างมาแล้ว เช่น ในจดหมายฉบับนั้น ตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนั้น, ใช้ประกอบนามที่หมายถึงบุคคล หรือสิ่งที่อยู่ห่างออกไป เช่น คนนั้น สิ่งนั้น, ใช้ประกอบคำอื่นคู่กับคำ ใด แสดงความแน่นอน เช่น คนใด…คนนั้น เมื่อใด…เมื่อนั้น.
- ถึง หมายถึง ก. บรรลุจุดหมาย เช่น เมื่อไรจะถึง ไปถึงบ้าน
- ตัว หมายถึง น. ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น ตัวจะไปไหม.
ที่มาของสำนวนดังกล่าวนี้ ได้ มาจากพุทธศาสนสุภาษิต ที่ว่า “ ทุกขะโต ทุกขะถานัง “ แปลว่า ให้ทุกข์แก่ท่านทุกนั้นถึงตัว
จากการศึกษาพบว่า “การให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัว” นั้นเป็นความจริง พวกเขาได้ศึกษาในความเป็นจริงของชีวิตเพื่อจุดประสงค์ทางวิชาการได้ผลว่า เมื่อใครคิดตั้งข้อรังเกียจเดียดฉันท์คนอื่น ตัวเองก็จะต้องพลอยรู้สึกเจ็บปวดไปด้วย ไม่ได้เบาบางกว่าเลย งานวิจัยยังได้พบอีกว่า แม้แต่การฝืนใจทำตามคำสั่ง ให้ขับไล่ไสส่งคนอื่น คนส่วนใหญ่ก็ยังรู้สึกผิดและละอายแก่ใจไปด้วย.
ให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัว ภาษาอังกฤษ
สำนวนไทยดังกล่าวมีความหมายตรงกับสำนวนในภาษาอังกฤษ ที่ว่า “What gose around comes around” ซึ่งหมายความว่า เราทำอะไรลงไปย่อมได้รับผลของการกระทำอย่างนั้น สะท้อนกฎแห่งกรรมที่ว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว หรือ “ ทุกขะโต ทุกขะถานัง “ ซึ่งมีความหมายใกล้เคียงกับสำนวนไทยมาก สามารถใช้แทนกันได้ตัวอย่างการใช้งาน สำนวน ให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัว
- นักวิจัยมหาวิทยาลัยโรเชสเตอร์ของอังกฤษ ศึกษาพบว่า “การให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัว” นั้นเป็นความจริง...
- คมธรรมประจำวันกับท่าน ว.วชิรเมธี ตอน ให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัว การหาความสุขโดยไม่ได้สนใจว่าความสุขที่เราได้ทำ จะส่งผลกระทบต่อสิ่งใดบ้างนั้น มันเป็นความสุขที่แท้จริงหรือไม่ สกู๊ปคมธรรมกับท่าน ว.วชิรเมธี
- เห็นไหม ฉันเตือนแล้วว่าอย่าใช้อารมณ์แก้ปัญหา นายไล่ผู้จัดการฝ่ายขายออกเพราะไม่ชอบเขา แล้วเป็นไงละ ตอนนี้ยอดขายเลยตกอย่างหนัก โบราณว่าไว้ว่าให้ทุกข์แก่ท่านทุกข์นั้นถึงตัว แต่แกไม่เคยสนใจเอง
- ครูคนนี้ขอบแกล้งเด็กที่ตัวเองไม่ชอบ ให้ตกอยู่เป็นประจำ แต่เห็นไหมว่าบาปกรรมมีจริง ให้ทุกข์แก่ท่านทุกข์นั้นถึงตัว ตอนนี้กำลังโดนตั้งกรรมการสอบสวน อาจจะโดนไล่ออก
- จำไว้นะลูก การแกล้งเพื่อนไม่ใช่เรื่องที่ดีเลย ให้ทุกข์แก่ท่านทุกข์นั้นจะถึงตัวเราได้ คนอื่นเห็นเขาจะพาลเกลียดเรา
- บ้านของประยุทธอยู่ในเมือง ตอนกลางคืนมีรถผ่านไปมาตลอด เพราะมีบางคนทำงานในตอนกลางคืน บ้างก็ออกไปเที่ยว ทำให้สมชายเกิดความรำคาญในเสียงรถ เขาจึงนำตะปูไปโรยเพื่อให้รถคนอื่นรั่ว ต่อมาไม่นานประยุทธก็พบว่ารถของตัวเองเกิดรอยรั่วเนื่องจากตะปูที่ตนโรยไว้ นี่แหละที่เขาเรียกว่า “ ให้ทุกข์แก่ท่านทุกนั้นถึงตัว “
- "กัมมุนา วัตติโลโก" ให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัว"หนุ่มใหญ่ก่อสร้างเมืองกาญจน์ ใช้วิธีหาปลาแปลกๆ ในช่วงวันออกพรรษา โดยการต่อสายไฟจากปลั๊กไฟในบ้านเสียบท่อพีวีซี.ยืนริมตลิ่งแหย่ท่อพีวีซี.ลงแม่น้ำ เกิดพลาดท่าพลัดตกแม่น้ำถูกไฟช๊อตร่างเสียชีวิต ตื่นเช้าภรรยาเห็นหายไปทั้งคืน ออกเดินหาพบสายไฟต่อปลั๊กไฟลากสายออกหลังบ้าน ถอดปลั๊กไฟเดินหาเจอร่างสามีจมน้ำในสภาพมือข้างขวากำท่อพีวีซี.มือซ้ายจับสายไฟ