สำหรับที่มาของสำนวนละเลงขนมเบื้องด้วยปากนั้น จะเปรียบเปรยถึงการทำขนมเบื้องก็คือ อาหารว่างชนิดหนึ่ง ทำโดยละเลงแป้งถั่วทองที่ผสมหัวกะทิลงบนกระทะแบนที่เรียกว่า กระเบื้อง ให้เป็นแผ่นกลม ๆ และบางเสมอกัน ใส่ไส้หวานหรือเค็มแล้วพับ หากดูเผิน ๆเหมือนกับว่าทำไม่ยากแต่ที่จริงแล้ว ต้องใช้ความชำนาญในการทำอย่างมากโดยเฉพาะขั้นตอนการละเลงแป้งบนกระทะให้เป็นแผ่น หากไม่ชำนาญจริงแผ่นแป้งจะเรียบบางไม่เท่ากัน แต่คนทั่วไปเห็นขั้นตอนการทำครั้งแรกก็บอกว่าง่าย และไปคุยโม้โอ้อวดกับคนอื่นว่าตนสามารถทำได้แต่พอได้ลองทำจริง ๆแล้วกลับไม่เป็นเหมือนที่พูดดังนั้นจึงเป็นที่มาของสำนวนไทยที่กล่าวว่า อย่าละเลงขนมเบื้องด้วยปากนั่นเอง
การ ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก ง่ายกว่าการทำขนมเบื้อง การพูดก็ง่ายกว่าการลงมือทำเช่นกัน คนดีแต่พูด พูดเก่ง หาได้น้อยที่สามารถทำได้ตามที่พูด หากจะต้องทำภาระกิจหรืองานสำคัญ ต้องคิดให้รอบคอบก่อนจะใช้งานหรือทำงานร่วมกับคนที่มีลักษณะแบบนี้ เพราะมีโอกาสทิ้งงาน ไม่สามารถทำตามที่พูดได้
- ละเลง หมายถึง ก. ป้ายทาหรือไล้ทาให้แผ่ออกไปด้วยวิธีวนเป็นวงกลม ๆ เช่น ละเลงขนมเบื้อง, โดยปริยายหมายความว่า ทำให้เลอะเทอะ เช่น เอาแป้งละเลงหน้า.
- ขนมเบื้อง หมายถึง น. อาหารว่างชนิดหนึ่ง ทำโดยละเลงแป้งถั่วทองที่ผสมหัวกะทิลงบนกระทะแบนที่เรียกว่า กระเบื้อง ให้เป็นแผ่นกลม ๆ และบางเสมอกัน ใส่ไส้หวานหรือเค็มแล้วพับ ๒, ขนมเบื้องไทย ก็เรียก.
- ด้วย หมายถึง ว. คำแสดงกริยารวมหรือเพิ่ม เช่น สวยด้วยดีด้วย, แสดงกริยาร่วมกันหรือในทำนองเดียวกัน เช่น กินด้วย, แสดงความขอร้อง เช่น ช่วยด้วย บอกด้วย.
- ปาก หมายถึง น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ อยู่ที่บริเวณใบหน้า มีลักษณะเป็นช่องสำหรับกินอาหารและใช้สำหรับเปล่งเสียงได้ด้วย
ตัวอย่างการใช้งานสำนวน ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก
- ประยุทธแกพูดเหมือนง่าย ทั้ง ๆที่แกเองก็ทำไม่ได้ แบบนี้แหละนะที่โบราณท่านว่าละเลงขนมเบื้องด้วยปาก
- นักเรียบต้องจำไว้ คนเราจะพูดอะไรต้องทำได้อย่างที่พูด อย่าสักแต่ว่าพูดเหมือนละเลงขนมเบื้องด้วยปาก
- เจ้านี่เอาแต่อวดโอ้ ไม่เห้นทำจริงได้ซักอย่าง เหมือนละเลงขนมเบื้องด้วยปากจริง ๆ
- คนเก่งจริงต้องมีผลงาน ไม่ใช่เป็นพวก ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก ดีแต่พูด แต่ไม่สามารถทำได้ตามที่พูด อย่างช่วงเลือกตั้ง ผู้สมัครแต่ละคนก็จะหาเสียงด้วยคำพูดสวยหรู แต่พอได้เป็น สส. แล้ว ก็หาน้อยมากที่สามารถทำตามได้ที่พูดไว้ ดังนั้นจึงต้องดูผลงานที่ผ่านมา และความเป็นไปได้ของนโยบายที่นำเสนอ
- เขาเป็นช่างสร้างบ้านที่ไม่มีใครกล้าจ้าง เพราะดีแต่พูด เป็นพวก ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก พูดดี หลักการดี แต่ไม่สามารถทำตามที่พูดได้ อย่างเรื่องการสร้างบ้าน ไม่มีหลังไหนเลยที่สร้างออกมาได้ตามแบบที่ตกลงกันไว้ในสัญญา
- การ ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก ง่ายกว่าการทำขนมเบื้อง การพูดก็ง่ายกว่าการลงมือทำเช่นกัน คนดีแต่พูด พูดเก่ง หาได้น้อยที่สามารถทำได้ตามที่พูด หากจะต้องทำภาระกิจหรืองานสำคัญ ต้องคิดให้รอบคอบก่อนจะใช้งานหรือทำงานร่วมกับคนที่มีลักษณะแบบนี้ เพราะมีโอกาสทิ้งงาน ไม่สามารถทำตามที่พูดได้
- เธออย่าเอาแต่ละเลงขนมเบื้องด้วยปากสิ ควรลงมือทำให้ดูดีกว่า
- ให้บอกเล่าเก้าสิบ จะเข้าตำรา “ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก” เสียละมั้ง…เอาละ มารู้จักกัน. ขนมเบื้องเป็นขนมไทยที่มีมาตั้งแต่โบราณ เชื่อกันว่ามีมาแต่สมัยสุโขทัย
- วันหนึ่งฉันก็เลยขอแม่ค้าลองละเลงขนมเบื้องเองดูบ้าง ผลที่ออกมาคือแผ่นขนมเลเทะฉีกขาดไปหมด จึงเข้าใจสำนวนโบราณที่ว่า “อย่าละเลงขนมเบื้องด้วยปาก” ..
- ที่มาของขนมเบื้อง นั้นเป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของกุลสตรีไทยในสมัยโบราญ คือการละเลงแป้งขนมเบื้องให้สวยงาม ดังที่ปรากฎในเรื่องขุนช้างขุนแผนที่นางศรีมาลาและนางสร้อยฟ้าละเลงขนมเบื้องเปรียบเที่ยบฝีมือกัน และยังมีคำพังเพยกล่าวถึงคนที่ช่างติ ชอบตำนิ คนที่ดีแต่พูด ว่า "อย่าละเลงขนมเบื้องด้วยปาก"
- พูดอะไรเอาไว้ก็ทำมันให้เป็นจริงอย่างที่พูดให้ได้ อย่าละเลงขนมเบื้องด้วยปาก ขยัน อดทน มุ่งมั่นที่จะฝึกฝน และไขว่ขว้าไว้ซึ่งความรู้และประสบการณ์ .
- ที่มาของสำนวนนี้มาจากการทำขนมเบื้องไทย คนที่ไม่เคยทำเห็นคนอื่นทำคิดว่าง่ายๆ แต่ที่จริงไม่ง่ายเลย เพราะความสำคัญ ของวิธีทำอยู่ตรงที่การละเลงแป้งกลางกระทะ โดยใช้จ่าที่ตักแป้งนั่นแหละละเลงแผ่ออกไปให้เป็นแผ่นกลมบางเรียบเสมอกันการจะทำได้เช่นนี้จะต้องมีความชำนาญมาก ไม่เช่นนั้นแป้ง จะไม่เสมอกัน หนาๆบางๆก็จะติดกระทะ ส่วนที่บางจะใหม้เกรียมจึงเป็นการกระทำที่ไม่ง่ายเลย เช่นนี้เองเมื่อใครพูดอะไรง่ายๆ โดยไม่คำนึงถึงการกระทำ จึงพูดกันเป็นสำนวนขึ้นว่า''ละเลงขนมเบื้องด้วยปาก''
อ้างอิงข้อมูล : พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔