สำนวนไทยดังกล่าวมีความหมาย และใช้งานในเชิงการเปรียบเปรยถึงสัตว์ที่เดินสี่เท้าที่คิดว่าไม่มีทางเดินล้มได้ เพราะว่าเดินด้วยขาทั้งสี่ข้าง ซึ่งมีความมั่นคงมากกว่าขาเพียงสองข้าง แต่ว่าบางทีก็อาจจะมีการก้าวเดินที่ผิดจนทำให้ล้มได้เช่นกัน เช่นเดียวกับนักปราชญ์ ที่กล่าวกันว่าเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถในด้านต่างๆอย่างถ่องแท้นั้นบางทีก็เข้าใจผิดพลาดได้เช่นกัน ดังนั้นการที่จะทำอะไรนั้นควรให้ความระมัดระวังในทุกเรื่อง และมีการวางแผนในการทำสิ่งต่างๆให้ดีเพื่อป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นให้มากที่สุด
- สี่ หมายถึง น. จำนวนสามบวกหนึ่ง
- ตีน หมายถึง น. อวัยวะส่วนล่างสุดของคนหรือสัตว์ นับตั้งแต่ใต้ข้อเท้าลงไป สำหรับยืนหรือเดินเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึงสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้นหรือส่วนล่างของสิ่งบางอย่าง เช่น ตีนม่าน ตีนมุ้ง
- ยัง หมายถึง คำช่วยกริยาในประโยคคำถามปฏิเสธหรือประโยคปฏิเสธ โดยละกริยานั้นไว้ให้เข้าใจเอาเอง เช่น ถามว่า จะไปหรือยัง ตอบว่า ยัง, ถ้าใช้นำหน้าคำกริยาเข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า กริยานั้นกำลังกระทำอยู่ เช่น เขายังกินอยู่ เขายังนอนอยู่, ถ้าใช้นำหน้าคำวิเศษณ์เข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า ยังอยู่ในภาวะนั้น เช่น ยังเด็กอยู่ ยังสาวอยู่ ยังเช้าอยู่, ใช้ประกอบคำกริยาเชิงปฏิเสธที่เริ่มหรือกำหนดไว้แล้ว แต่ยังไม่เสร็จสิ้นลงไป เช่น ป่านนี้ยังไม่มา ทั้ง ๆ ที่น่าจะมาแล้ว, ใช้เข้าคู่กับคำอื่นเพื่อเชื่อมประโยคหน้ากับประโยคหลังที่มีข้อความในลักษณะคล้ายคลึงกันให้เนื่องกัน เช่น นอกจากโง่แล้วยังหยิ่งอีกด้วย นอกจากสวยแล้วยังรวยอีกด้วย.
- รู้ หมายถึง ก. แจ้ง, เข้าใจ, ทราบ.
- พลาด หมายถึง ก. ผิดพลาด เพราะไม่รู้เท่าหรือเชื่อตัวเองเกินไปเป็นต้น เช่น ตอบพลาด.
- นักปราชญ์ หมายถึง น. ผู้รอบรู้, ผู้มีปัญญา.
- พลั้ง หมายถึง [พฺลั้ง] ก. พลาดโดยไม่ตั้งใจหรือไม่ทันคิด, มักใช้เข้าคู่กับคำ พลาด เป็น พลั้งพลาด หรือ พลาดพลั้ง.
สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง เป็นสุภาษิตไทยที่คนโบราณใช้ในการเตือนสติคนที่มีความทะเยอทะยานมาก มีความมั่นใจในตัวเองสูง มีความทะนงในความสามารถของตนสูงเกินไปจนอาจจะไม่ฟังคำแนะนำหรือคำทัดทานของใคร ให้เพลานิสัยเหล่านั้นลงบ้าง โดยชี้ให้เห็นว่าขนาดสัตว์ที่มีสี่เท้ายังพลาดล้มได้ นักปราชญ์ผู้รอบรู้ก็ยังสามารถพลาดพลั้งได้เช่นกัน ดังนั้นจงอย่าได้ทะนงในความสามารถของตน หรือประมาทในสถานการณ์หรือความสามารถของผู้อื่น จนอาจจะทำให้ตนเองเสียหายได้นั่นเอง
สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง ภาษาอังกฤษ
สำนวนดังกล่าวมีความหมายตรงกับสำนวนในภาษาอังกฤษที่กล่าวว่า “No man is wise at all times.” ซึ่งแปลว่า “ไม่มีมนุษย์คนใดที่ฉลาดตลอดเวลา” หรือ เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง นั่นเองโดยสำนวนดังกล่าวมีความหมายเทียบเคียงกัน และสามารถใช้อธิบายได้ตัวอย่างการใช้งานสำนวน สุภาษิตไทย เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง
- สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง. 1 ปีที่ผ่านมา ... แม้พลาดเพียงครั้งเดียวก็สามารถนำปัญหามาให้ได้
- ประยุทธ เดินตกบันไดบ้าน แม้ว่าเขาจะเดินบนบันไดนี้มาตั้งแต่เด็ก แต่ปัจจุบันนี้ก็ยังพลาดตกบ่อยๆ เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง
- สัมภาษณ์งานว่าไม่ใช่เรื่องง่ายแล้ว ยังสัมภาษณ์งานภาษาอังกฤษอีก ... “สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง” ไม่เคยมีใครไม่ทำผิดพลาดมาก่อน ...
- ไม่ว่าจะมีความรู้หรือฉลาดปราดเปรื่องสักแค่ไหน ก็มีวันพลาดท่าเสียทีเขาได้” ดั่งสำนวนสุภาษิตไทยที่ว่า “สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง” นั่นเอง.
- สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง "เบรนแดน ร็อดเจอร์ส" ยืนยัน ไม่โทษ "สตีเวน เจอร์ราร์ด" ลื่นล้มจนทำทีมเสียประตู อ้างแค่โชคร้าย และใครๆ ...
- เลิกความคิดที่จะทำธุรกิจไปได้เลย หากคุณยังไม่มีคุณสมบัติ 7 ข้อนี้ ... และก็คิดว่าตัวเองศึกษามาดีมากพอแล้ว แต่สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง ...
- “แหม ระดับประเทศชาติคงไม่ค่อยทำอะไรผิดพลาดมั้ง มีคนฉลาด ๆ ... การทำผิดพลาดคือมนุษย์ การให้อภัยคือเทพ ภาษาไทยก็มีไม่ใช่หรือ สี่ตีนยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง .
- โบราณท่านว่า "สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง" นับประสาอะไรกับสาว ๆ ... แต่ถ้าไม่วายยังเจอปัญหานี้กวนใจอยู่ก็ลองพกคอตตอนบัดส์กับครีมสำหรับดวงตา
- สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง " แล้วนับประสาอะไรกับคนธรรมดาอย่างเรา ความผิดพลาดเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้เรารู้จักยอมรับความผิดหวัง
- นักรบยังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง มีความหมายเดียวกันกับ สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง