-->

อย่าข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า หมายถึงอะไร ?





Laz Flash Sale ลดแรงกว่า 90%
ดีลจำกัดเวลา ให้คุณเลือกซื้อสินค้าราคาพิเศษได้ทุกวัน สินค้าลดราคากับ Flash Sale
Lazada แฟลชเซล จัดเต็มดีลฮิตทุกวัน ช้อปออนไลน์ 24 ชั่วโมง ☆ดีลจำกัดเวลาสุดฮอต ☆ลดราคาแรง ☆สินค้าหลากหลาย

ช้อปเลย





อย่าข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า หมายถึงอะไร ?



อย่าข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า หมายถึงอะไร ? สำนวน สุภาษิตไทยที่กล่าวว่า “อย่าข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า” นั้นหมายถึง  (สำ) ก. บังคับขืนใจผู้อื่นให้ทำตามที่ตนต้องการ เช่น จะจัดแจงแต่งตามอารมณ์เรา เหมือนข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า (สังข์ทอง). อ้างอิงจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔ 
สำนวนดังกล่าว อธิบายถึงการบังคับขืนใจผู้อื่นทำตามใจตัวเองนั้น ปัจจุบันนี้ถือว่าผิดกฎหมายร้ายแรง ซึ่งการกระทำดังกล่าวเข้าข่ายติดคุก หรือสามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายกันได้ ดังนั้นสำนวนไทย สำนวนนี้จึงมักใช้ในเชิงเตือนสติว่า คุณไม่สามารถที่จะใช้ทั้งกำลัง และการบังคับขู่เข็นให้ใครทำอะไรตามใจเราได้เด็ดขาด นอกจากจะผิดหลักมนุษยธรรมและว ยังผิดกฎหมายบ้านเมืองอีกด้วย โดยที่มาของสำนวนนี้ จะมาจากการที่คนเลี้ยงโคพยายามจะทำให้โคที่ตัวเองเลี้ยงอยู่ ให้อ้วนพีมากขึ้น จะได้ขายในราคาที่สูงขึ้น โดยการบังคับให้โคนั้นกินหญ้าให้เยอะๆ โดยการกดเขาให้โคก้มกินหญ้า ซึ่งแน่นอนโคก็ไม่ได้กินหญ้ามากขึ้นตามที่หวัง แถมยังอาจจะได้รับอันตรายจากเขาโคที่อาจจะหงุดหงิด ขวิดจนได้เลือดได้แผลก็เป็นได้


  • อย่า หมายถึง ว. คำประกอบกริยาบอกความห้ามหรือไม่ยอมให้ทำการต่าง ๆ.
  • ข่ม หมายถึง ก. โดยปริยายหมายความว่า แสดงกิริยาวาจาให้เห็นว่าเหนือกว่า หรือทำให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้สึกว่าด้อยกว่า เช่น แต่งตัวข่มเพื่อน พูดข่ม, บังคับ เช่น ข่มใจ ข่มอารมณ์
  • เขา หมายถึง น. สิ่งที่งอกออกมาจากหัวสัตว์บางพวก มีลักษณะแข็ง.
  • โค หมายถึง น. วัว (มักใช้เป็นทางการ) เช่น สั่งซื้อแม่โคพันธุ์ใหม่จากต่างประเทศ. (ป., ส.).
  • ขืน หมายถึง ก. ยั้งไว้หรือบังคับไว้ไม่ให้เป็นไปตาม เช่น ขืนตัว ขืนเรือ
  • ให้ หมายถึง ก. มอบ เช่น ให้ช่อดอกไม้เป็นรางวัล, สละ เช่น ให้ชีวิตเป็นทาน, อนุญาต เช่น ฉันให้เขาไปเที่ยว
  • กิน หมายถึง ก. เคี้ยว เช่น กินหมาก, เคี้ยวกลืน เช่น กินข้าว, ดื่ม เช่น กินนํ้า, ทำให้ล่วงลำคอลงไปสู่กระเพาะ
  • หญ้า หมายถึง น. ชื่อเรียกไม้ล้มลุกหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Gramineae เช่น หญ้าคา [Imperata cylindrical (L.) P.Beauv.] หญ้าตีนกา [Eleusine indica (L.) Gaertn.] หญ้าแพรก [Cynodon dactylon (L.) Pers.]

อย่าข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า ภาษาอังกฤษ

สำนวนไทยดังกล่าวมีความหมายใกล้เคียงกันกับสำนวนในภาษาอังกฤษที่กล่าวว่า You can lead a horse to water but you can’t make it drink. ซึ่งแปลตามตัวว่า คุณสามารถพาม้าไปกนน้ำได้ แต่ไม่สามารถทำให้มันดื่มน้ำได้นั่นเอง ซึ่งมีความหมายเหมือนกันกับสำนวนไทยที่ว่า อย่าข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า นั่นเอง

ตัวอย่างการใช้งาน สำนวน คำพังเพย อย่าข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า


  1. ประยุทธไม่ชอบอะไรก็จะสั่งให้ลูกน้องเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆให้ได้ตามใจตน โดยไม่ดูถึงความเหมาะสมว่าควรหรือไม่ควร แบบนี้เข้าข่าย ข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า บ้าอำนาจที่สุด
  2. งัวไม่กินหญ้า อย่าข่มเขา กาญจนาคพันธุ์ เล่าเรื่องสังข์ทอง จับตอนท้าวสามล กับนางมณฑา จะหาคู่ให้ 7 ธิดา พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 2 มีว่า “จะจัดแจงแต่งตามอารมณ์เรา เหมือนข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า”ไม่อยากขืนใจลูกสาว สุดท้ายท้าวสามล นางมณฑา ก็จัดให้มีพิธีเสี่ยงทายเลือกคู่
  3. การบังคับให้ลูกหลานทำอะไรตามใจตัวเอง ก็มีทั้งข้อดีข้อเสีย และต้องรู้ว่าเรื่องใดควรบังคับให้ทำ หรือเรื่องใดควรปล่อย เช่น เรื่อง ความมีวินัยในชีวิต หรือเรื่องที่ควรรู้ในเรื่องดูแลตัวเอง หรือเอาตัวรอดในสังคม เพราะเป็นเรื่องพื้นฐานที่จะส่งผลต่อชีวิตของเด็กในภาย ภาคหน้า เพราะทุกวันนี้ มีสิ่งล่อลวงมากมาย หากตามไม่ทัน ไม่รู้ว่าจะทีผลอะไรตามมาบ้าง ก็ย่อมจะไม่เป็นผลดีกับเด็ก อาจจะโตเป็น ผู้ใหญ่ที่ขาดวินัยในการใช้ชีวิต ทำอะไรตามแต่ใจตัวเอง
  4. แดงโตมาในครอบครัวที่พ่อแม่เป็นคนสมัยใหม่ อยากทำอะไร เรียนอะไร พ่อแม่ก็ให้สิทธิ์ในการเลือกตามกำลังความสามารถ ความชอบของตัวเอง ไม่ถูก ข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า บังคับให้เรียนตามที่พ่อแม่ต้องการ ทำให้เด็กมีความสุขกับการเรียนและเรียนได้ ดี ทุกวันนี้โลกเปลี่ยนแปลงไปเร็วมาก ความรู้ความคิดประสบการณ์ ของคนรุ่นหนึ่ง ไม่สามารถใช้กับคนอีกรุ่นได้อีกแล้ว อาจจะใช้ได้บางเรื่องที่เป็นเรื่องพื้นฐานจริงๆ
  5. สามีภรรยากัน หลายคนจะชอบข่มคู่ของตัวเอง โดยเฉพาะผู้หญิง มักจะบังคับให้อีกฝ่ายทำอะไรตามใจตัวเอง ข่มเขาโคขีนให้กินหญ้า ซึ่งมักจะส่งผลให้เกิดผลเสียตามมา เช่น ผู้ชายเมื่อโดนบังคับมากๆ โดยจัดระบบ จัดระเบียบชีวิตทุกอย่าง สุด ท้ายก็อาจนอกใจบ้าง อยากให้กินหญ้านักใช่ไหม ก็ไปหาหญ้าอ่อนกินนอกบ้านเสียเลย
อ้างอิงข้อมูล : พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔