สำนวนไทย "ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ" นั้นจะใช้เปรียบเปรยถึงการตำน้ำพริกที่เรานิยมใส่ในแกงต่างๆเพื่อเพิ่มรสชาติ และกลิ่น ในการปรุงแต่งอาหารให้มีรสชาติดี ซึ่งเราใช้ในปริมาณน้อยเหมาะสมกับน้ำแกงในหมอก็จะทำให้อาหารได้รสชาติ แต่ถ้าเราตำน้ำพริกแล้วนำไปละลายลงไปในแม่น้ำละก็ ก็จะทำให้เกิดความสูญเปล่าเพราะว่าแม่น้ำนั้นมีขนาดใหญ่แม้ว่าเราจะตำน้ำพริกมากแค่ไหนก็ไม่พอที่จะทำให้น้ำในแม่น้ำนั้นเต็มไปด้วยน้ำพริกได้ เปรียบเหมือนการลงทุนที่ไม่ได้ผลตอบแทนเลย โดยพยายามลงทุนไปจำนวนมาก แต่ได้ผลตอบแทนเพียงน้อยนิด หรือไม่คุ้มทุนที่ลงไป ซึ่งเรียกว่าขาดทุนนั่นแหละ ดังนั้นสำนวนไทยดังกล่าว จึงนิยมใช้ในการเตือนสติ ให้ประเมิณ หรือพิจารณาให้ดีก่อนที่จะทำกิจกรรมใด ๆว่า คุ้มค่า หรือเหมาะสมกับสิ่งที่จะต้องลงทุน หรือลงแรงไปหรือไม่ เพราะถ้าไม่พิจารณา หรือวางแผนให้ดี ๆก็อาจจะเป็นการกระทำที่สูญเปล่าเลียทั้งเวลา และเสียทั้งเงินก็เป็นได้
- ตำ หมายถึง ก. ใช้สากหรือสิ่งอื่นที่คล้ายคลึงเช่นนั้นทิ่มลงไปอย่างแรงเรื่อย ๆ เช่น ตำข้าว ตำนํ้าพริก.
- น้ำพริก หมายถึง น. อาหารชนิดหนึ่ง ปรุงด้วยกะปิ กระเทียม พริกขี้หนู มะนาว เป็นต้น ใช้เป็นเครื่องจิ้มหรือคลุกข้าวกิน ใช้นํ้าปลาหรือนํ้าปลาร้าแทนกะปิก็มี เช่น นํ้าพริกปลาร้า นํ้าพริกปลาย่าง ใช้ของเปรี้ยวอื่น ๆ เช่น มะขาม มะดัน มะม่วง แทนมะนาวก็มี เรียกชื่อต่างกันไปตามเครื่องปรุง เช่น นํ้าพริกมะขาม นํ้าพริกมะดัน นํ้าพริกมะม่วง, อาหารคาวอย่างหนึ่ง ลักษณะอย่างแกง มี ๓ รสแต่ค่อนข้างหวาน ทำด้วยถั่วทองคั่วแล้วโขลก เนื้อกุ้งโขลก ผสมกับกะทิ และเครื่องปรุงรส กินกับเหมือดคือผักบางอย่าง ใช้กินกับขนมจีน, เครื่องปรุงแกงเผ็ด แกงคั่ว หรือ แกงส้ม.
- ละลาย หมายถึง ก. คลายตัวหรือทำให้คลายตัวซึมซาบสลายไปในนํ้าหรือของเหลว เช่น ยาละลาย เกลือละลายในนํ้า ละลายยาหอม ละลายนํ้าตาลในนํ้ากะทิ, โดยปริยายหมายความว่า หายไป, หมดไป, เช่น พอเห็นนํ้าตา ความโกรธแค้นก็ละลายหายไป เอาเงินไปละลายในวงไพ่หมด
- แม่น้ำ หมายถึง น. ลำนํ้าใหญ่ซึ่งเป็นที่รวมของลำธารทั้งปวง.
ตำนํ้าพริกละลายแม่น้ำ ภาษาอังกฤษ
สำนวนไทยดังกล่าวมีความหมาย ใกล้เคียงกันกับสำนวนในภาษาอังกฤษที่กล่าวว่า “Sow with the hand, and not with the whole sack” ที่แปลว่า อย่าทำใสสิ่งที่ต้องลงทุนไปมากแต่กลับไม่เห็นผลของมัน หรือ ตำนํ้าพริกละลายแม่น้ำ นั่นเองตัวอย่างการใช้งาน สำนวน ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ
- ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ หมายถึง ลงทุนโดยไม่ได้ผลคุ้มค่า เข้าทำนองที่ว่า. ลงทุนมากแต่ผลตอบแทนมีเพียงนิดหน่อย หรือ. ไม่ได้เลย.
- ในการจัดงานบวชนาคในบางแห่ง พ่อแม่อยากได้ชื่อเสียง จัดงานเสียใหญ่โต มีการเลี้ยงแขก เชิญแขกมามากมายเพื่อให้มารับรู้หรือร่วมงาน แต่พอบวชแล้วอยู่ได้ไม่นานก็ลาสิกขาออกมา การกระทำในลักษณะเช่นนี้เป็นการลงทุนสูญเปล่า หรือเข้าในลักษณะตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ
- ชำแหละ "ไฟจากฟ้า".. ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ! ไม่รู้เพราะเห็นตัวอย่างจากภาครัฐคือ กระทรวงการคลัง ละเลงเม็ดเงินภาษีไปกับโครงการ "ชิม ช้อป ใช้" จนติดลมบนหรืออย่างไร?
- คนไทยตำน้ำพริกละลายแม่น้ำไปกับบุญเยอะที่สุด ไม่ค่อยได้สาระเท่าไร แล้วก็ชอบคิดอะไรแปลก ๆ เช่น ปล่อยปลาไหลจะได้ทำอะไรลื่นไหล.
- “ไทกร พลสุวรรณ” จวกรัฐบาล แจกเงินประชาชน แก้ปัญหาฉาบฉวย หยุดตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ ต้องเร่งสร้างงาน โดยเฉพาะผู้ประกอบการรายย่อย.
- พท.ได้ทีอัดโครงการไทยนิยมของรัฐบาลคสช. เหมือนตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ ไม่ถึงมือประชาชน
- อ.เจษฎาไม่เห็นด้วย กรุงเทพมหานครจ่อติดตั้งหอฟอกอากาศสู้ PM2.5 เหมือนตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ. PM 2.5
- การเล่นพนันก็เหมือนการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ ลงทุนไปจะได้คืนเมื่อไหร่ก็ไม่รู้ สู้เธอเอาเงินที่จะเล่นพนันไปทำอย่างอื่นที่เป็นประโยชน์จะดีกว่า.
- คำพังเพย ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ มีความหมายในลักษณะเปรียบเทียบ ถึงการลงทุนที่สูญเปล่า ไม่เกิดประโยชน์ ใช้เปรียบเทียบกับการที่เราจะทำสิ่งใดก็ตาม ลงทุนไปมากแต่กลับมองไม่เห็นคุณค่าของมัน หรือว่าไม่เกิดประโยชน์อะไรขึ้นมาเลย
- เท่ากับเป็นการกระทำที่สูญเปล่า ไม่ส่งผลอะไร (เพราะเป็นไปในลักษณะที่ถมเท่าไหร่ไม่รู้จักพอ ไม่รู้จักอิ่ม ไม่รู้จักเต็ม) ที่อาจจะเสียทั้งแรงกาย แรงใจ และทรัพย์สินเงินทอง
- ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ ? ตัดเกรดแข้งผีจากการเซ็นสัญญาของ”มูรินโญ่” นับตั้งแต่ โจเซ่ มูรินโญ่ เข้ามารับงานคุมทีม แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ต่อจาก หลุยส์ ฟานกัล เขาใช้เงินในตลาดนักเตะไปกว่า 300 ล้านปอนด์ ในการซื้อนักเตะ
- "อุเทน"อัดโครงการไทยนิยมไม่ต่างกับประชานิยมยิ่งกว่าตำน้ำพริกละลายแม่น้ำแนะหาวิธีลดภาระประชาชนเปรียบเปรยแจกเมล็ดพันธุ์ข้าวดีกว่าแจกข้าว