ที่มาของสำนวน กงเกวียนกำเกวียน เกวียนเป็นพาหนะที่ใช้กันทั่วไปในสมัยโบราณ ซึ่งกงเกวียนเป็นส่วนประกอบที่รอบล้อเกวียน กำเกวียนนั้นเป็นซี่ล้อมีดุมเป็นส่วนกลางของล้อที่มีรูสำหรับสอดเพลา เมื่อกงเกวียนหมุนไปทางใด กำเกวียนก็หมุนไปด้วย ดังนั้นสำนวนดังกล่าวนั้นจึงหมายถึง ทำกรรมอย่างใดไว้ย่อมได้รับผลกรรมนั้น
การทำกรรมดี ก็จะได้รับผลดีเช่นการที่เราตั้งใจทำงานทำมาหากินเก็บหอมรอมริบ จนรวบรวมเงินได้เป็นกอบเป็นกำจนสามารถใช้ตั้งตัวได้ นี่เป็นกรรมดี แต่หากเรานำเงินที่หามาได้นั้นไปลงกับการพนัน สุราเมรัย เครื่องดื่มของมึนเมา ก็จะทำให้เราได้รับผลกรรมเลวที่เราได้ทำไปด้วย ซึ่งเรียกว่ากรรมชั่ว
สังคมไทยเราเป็นสังคมพุทธ ที่มีการนำเอาคำสอนในศาสนาพุทธมาใช้ในชีวิตประจำวันหลายอย่าง ซึ่งแต่ละอย่างนั้นล้วนเป็นสิ่งดีที่ควรเข้าใจและศึกษาให้ลึกซึ้ง และให้นำมาใช้และปฏิบัติในชีวิตประจำวันนั้นจะช่วยให้ชีวิตราบรื่น มากยิ่งขึ้น
ตัวอย่างการใช้งาน สำนวน กงเกวียนกำเกวียน
- "ผู้ต้องหาค้ายาเสพติดถูกตัดสินประหารชีวิต นี่แหละนะ กงเกวียนกำเกวียน"
- มันคงเป็นกงเกวียนกำเกวียน ชาติที่แล้วฉันคงไปทำร้ายเขาไปไว้มากมาย ชาตินี้ถึงได้มาเจอแต่คนประสงค์ร้ายอยู่ตลอดเวลา
- กงเกวียนกำเกวียนหนีไม่พ้นหรอก ตอนนี้ทำกับแม่ยังไง ต่อไปเมื่อแกมีลูก ลูกแกก็จะทำแบบนี้เหมือนกัน แล้วจะได้รู้ว่าคนเป็นแม่เสียใจขนาดไหน
- "กรรม : กงเกวียนกำเกวียน" ชีวิตคนเรานั้น ขึ้นอยู่กับกรรม (การกระทำ) และผลของกรรมนั้น ย่อมไม่มากไม่น้อยไปกว่าที่ได้กระทำลงไป ทุกการกระทำของเรา มักตั้งอยู่บนการเคลื่อนไป
- กงเกวียนกำเกวียน อันกงเกวียนกำเกวียนเวียนยื่นให้ ทำกรรมใดเอาไว้ให้สนอง เวรสนองเวรกรมสนองกรรมตามทำนอง คงจักต้องถึงตนผลแห่งกรรม
- กงเกวียนกำเกวียน มีเสียงเรียกร้องจากรัฐบาลว่า เมื่อศาลฎีกาฯ ได้ตัดสินคดียึดทรัพย์อดีตนายกฯทักษิณ ชินวัตร จนได้ข้อยุติชัดเจน ความขัดแย้งในสังคมไทยก็ควรจบซะที
- กงเกวียนกำเกวียน วิญญาณที่พบเห็นบ่อยครั้ง คือต้นเหตุแห่งการทะเลาะเบาะแว้งของคนในบ้านใช่หรือไม่? สัปดาห์นี้ คำผีบอก นำโดยใหญ่-ฝันดี จรรยาธนากร และสองคนเห็นผี
- กงเกวียนกำเกวียน!! หลวงปู่ตื้อพบเจอแต่ "เรื่องอัปมงคล" ในวัด เพราะในอดีตชาติเคยเป็นหัวหน้าแก๊งโจรปล้นบ้านปล้นเมือง!! หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม
- กงเกวียนกำเกวียน ชาวไร่อ้อย ปาดน้ำตาราคาตก ใครช่วยได้! เพราะอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลที่สุดแล้วทุกฝ่ายต้องอยู่ร่วมกันได้ดังสุภาษิตที่ว่า "น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า"
- กงเกวียนกำเกวียน. **“รุจี!** อีกแล้วนะทำไมไม่หัดเปิดม่านเบาๆ เดินเบาๆ แบบคนอื่นเค้าบ้างฮึ สอนยังไง บอกยังไงไม่เคยจำ”
- คำว่า “กงกรรมกงเกวียน” ไม่มีอยู่ในแบบแผนภาษาไทยครับ มีเพียง “กงเกวียนกำเกวียน” เท่านั้น แต่สำหรับบริบทนี้ น่าจะเป็น… “สังสารวัฏ” หรือเปล่าครับ?
- ความดีความชั่วที่ทำเอาไว้นั้นไม่สูญเปล่า ยังตามให้ผลอีกแม้ชาติหน้า คือถ้าทำดี ความดีก็ตามคุ้มครองให้ผลเป็นความสุข เหมือนเงาติดตามตัวให้ความร่มเย็นตลอดไป ส่วนความชั่วเมื่อทำลงไปก็ให้ผลเป็นความทุกข์ เหมือนวงล้อเกวียนที่ตามบดขยี้รอยเท้าโคที่ลากเกวียนไปตลอดทาง เหมือนคำโบราณว่า “กงเกวียนกำเกวียนไม่หนีไปไหน” พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า
- กงเกวียนกำเกวียน. วงเวียนชีวิต. พอแล้ว! เริ่มเยอะเกินไปแล้ว! ที่ฉันจะบอกก็คือ เมื่อถึงช่วงวัยหนึ่ง เราต่างมีเรื่องเอาไว้เล่าอวดรุ่นน้องไปจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน
- กงเกวียนกำเกวียนในสามก๊ก. สังคมไทยเรานั้น เป็นสังคมที่พระพุทธศาสนามีอิทธิพลต่อหลายสิ่งหลายอย่าง อาทิ ความเชื่อ ศิลปะ วัฒนธรรม ฯลฯ ...
อ้างอิงข้อมูล : พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔