โดยลักษณะรายการจะเป็นการจัดรายการเพื่อให้ข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่ผู้ฟังนั้นสนใจ เช่น ข่าวสาร การเงิน เทคโนโลยี หรือการเมือง โดยในต่างประเทศนั้นก็จะมีความนิยมในการใช้งานพ็อดคาสท์ อย่างมาก โดยจะนิยมเปิดในรถเพื่อฟังในช่วงระหว่างที่เดินทางไปทำงาน หรือช่วงเช้าก่อนไปทำงาน
Podcast แปลว่า พอดแคสติง (อังกฤษ: podcasting) คือขั้นตอนของการเผยแพร่เสียง รวมไปถึงการพูดคุย เล่าเรื่อง สนทนาเรื่องต่างๆ ผ่านทางระบบอินเทอร์เน็ต ในรูปแบบเสียงสนทนา หรือการจัดรายการคล้ายรายการวิทยุ
การใช้งานพ็อดคาสท์นั้น จะใช้รูปแบบการใช้งานแบบการรับสมัคร ซึ่งรายการล่าสุดนั้นจะถูกดาวน์โหลดผ่านแอปทันทีเมื่อมีตอนใหม่เข้ามาผ่านทางแอปมือถือ หรือคอมพิวเตอร์ซอฟท์แวร์ โดยอัตโนมัติ ขึ้นอยู่กับบริการที่ผู้ใช้งานได้ทำการติดตั้งซอฟท์แวร์ไว้
คำว่า "podcast" นั้นได้ถูกตั้งขึ้นโดย Ben Hammersley ซึ่งเกิดจากการผสมคำกันระหว่าง "iPod" ซึ่งเป็นเครื่องเล่นเพลงเอ็มพีสามจากแอปเปิล และคำว่า "broadcast" ในปี 2004 โดยการกระจายไฟล์เสียงพ็อดคาสท์ นั้นจะนิยมส่งในรูปของไฟล์เสียงเป็นหลัก โดยอาจจะมีในรูปแบบ PDF หรือ EPUB ด้วยก็ได้เพื่อใช้กับเครื่องอ่านหนังสืออิเลคทรอนิกส์
สำหรับซอฟท์แวร์ที่ใช้ในการติดตามข่าวสารของ พ็อดคาสท์ รวมถึงแอปสำหรับมือถือที่เป็นที่นิยมในปัจจุบันนี้ก็ได้แก่
- Google Podcasts
- Overcast
- Spotify
- TuneIn
- Stitcher Radio
- Apple Podcasts
ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถดาวน์โหลดและติดตั้งได้ทันที โดยค้นจาก Google PlayStore ได้เลย โดยคุณสามารถที่จะเลือกรายการในหัวข้อที่คุณสนใจโดยส่วนมากแล้วรายการ พ็อดคาสท์นั้นจะฟรี และมีให้เลือกหลากหลาย ส่วนเนื้อหาที่เป็นภาษาไทยนั้นก็เริ่มมีให้รับฟังกันอยู่หลายช่อง ซึ่งก็แล้วแต่ความสนใจของผู้รับฟังเองว่าต้องการฟังรายการแบบไหน
การจัดรายการ พ็อดคาสท์ นั้นเป็นรายการที่จัดได้อย่างง่ายดายด้วยการใช้ไมโครโฟนที่ดี ๆสักตัว พร้อมทั้งห้องบันทึกเสียงที่มีเสียงรบกวนน้อยหย่อย เท่านี้คุณก็สามารถเริ่มทำราการพ็อดคาสท์ได้แล้ว ในส่วนของไมโครโฟนสำหรับจัดรายการพ็อดคาสท์นั้นแนะนำให้ใช้ไมโครโฟนที่สามารถตัดเสียงรบกวนได้ดีพอสมควรและ สามารถใช้งานได้ในการสัมภาษได้ด้วยในกรณีที่มีแขกรับเชิญในรายการ โดยแนะนำให้ใช้ไมโครโฟนแบบ USB พวก ไมค์อัดเสียง Blue Microphone Blue YETI ซึ่งราคาก็ในระดับกลางๆ 5-6 พันบาท หรือถ้างบน้อยจริง ๆก็แนะนำให้ใช้พวก BOYA BY-M1 ซึ่งให้เสียงที่ชัดพอรับได้สำหรับผู้ที่เริ่มต้นจริง ๆเท่านั้น
นอกจากนั้นคุณต้องการ podcast hosting หรือที่สำหรับใช้เก็บไฟล์เสียงพ็อดคาสท์ของคุณเพื่อให้ผู้ฟังมาทำการดาวน์โหลดไฟล์เสียงดังกล่าว โดยมีทั้งให้บริการฟรี และก็จ่ายเงินขึ้นอยู่กับกำลังทรัพย์ของผู้จัดว่าต้องการใช้งานแบบไหน แต่สำหรับที่มีให้ทดลองใช้ฟรีก็จะมีเงื่อนไขนิดหน่อย ซึ่งก็แน่นอนแหละว่าถ้าใช้ไปสักพักจะต้องซื้อบริการแน่นอนที่มีแนะนำก็ได้แก่
1. PodBean https://www.podbean.com/
2. https://transistor.fm
3. https://simplecast.com
4. https://soundcloud.com/
แนะนำช่อง Podcast ไทย
1. ฌอน บูรณะหิรัญ Podcast ของ ฌอน บูรณะหิรัญ (Sean Buranahiran) หนุ่มผู้สร้างแรงบันดาลใจและพลังบวกให้กับหลายคน
2. WOODY FM Podcast พิเศษกับคนสำคัญที่วู้ดดี้อยากคุยด้วย เรื่องราวที่ไม่เคยรู้ คุยสบายแบบเป็นกันเอง 1 ชั่วโมงกว่า ที่คุณจะรู้จักเขามากขึ้นและได้รับพลังงานบวกกลับไป
3. คำนี้ดี - THE STANDARD สะสมศัพท์กันวันละนิด ภาษาอังกฤษแข็งแรง ทุกวันจันทร์-ศุกร์ กับ บิ๊กบุญ-ภูมิชาย บุญสินสุข เจ้าของหนังสือ ศัพท์หมู เจ็บนิดเดียวเดี๋ยวก็เช้า เหมือนจะเหมือน พี่หมีหนวดกวดอังกฤษ ฯลฯ