ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก หมายถึง เด็กมีนิสัยที่ง่ายต่อการอบรมสั่งสอน ส่วนคนโตมักจะเป็นคนหัวดื้อยากแก่การอบรมสั่งสอนการอบรมบ่มนิสัยให้เป็นคนดี ผู้ปกครองจึงต้องเน้นในวัยเด็ก เพราะวัยเด็กเปรียบเสมือนผ้าขาว พร้อมที่จะรับสีทุกสีที่นำมาย้อม ผู้หวังความเจริญแก่บุตรพึงอบรมตามหลักธรรมะ
สำนวน ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก ใช้ในเชิงเปรียบเทียบการฝึกอบรมบ่มนิสัยนั้นกับการดัดไม้เพื่อทำบอนไซไม้ดัด การที่จะดัดต้นไม้ให้เป็นรูปทรงต่างๆนั้นนิยมทำในช่วงที่ต้นไม้นั้นเป็นต้นเล็ก ๆอยู่ซึ่งจะทำให้สามารถดัดได้ง่ายกว่า เพราะว่ากิ่ง ก้านนั้นมีขนาดเล็กมีความยืดหยุ่นง่าย ไม่แตกหักเมื่อจะทำการดัด แต่ถ้าไปดัดในตอนที่ต้นไม้นั้นโตหรือแก่เกินที่จะสามารถทำการดัดได้ เนื่องจากว่ากิ่งของไม้แก่นั้นจะมีความแข็ง ดัดได้ยากและมักแตกหรือหักระหว่างดัดจึงไม่มีความนิยมที่จะดัดไม้ที่มีอายุมากดังกล่าว เปรียบเทียบได้กับการดัดนิสัยของคนนั้นต้องดัดตั้งแต่ยังเล็ก ๆนั่นเอง
- ไม้ หมายถึง น. คำรวมเรียกพืชทั่วไป โดยปรกติมีราก ลำต้น กิ่ง ก้าน และใบ, เรียกเนื้อของต้นไม้ที่ใช้ทำสิ่งของต่าง ๆ มีลักษณะเป็นท่อน แผ่น หรือดุ้น เป็นต้น, คำประกอบหน้าสิ่งของบางอย่างที่มีลักษณะยาวซึ่งทำด้วยไม้หรือเดิมทำด้วยไม้ เช่น ไม้กวาด ไม้พาย ไม้เท้า ไม้จิ้มฟัน, คำนำหน้าบอกประเภทต้นไม้ เช่น ไม้ยาง ไม้ดำ ไม้แดง, ท่ารำและท่าตีกระบี่กระบองท่าหนึ่ง ๆ เรียกว่า ไม้หนึ่ง ๆ, โดยปริยายหมายความว่า ท่าที เช่น เขาจะมาไม้ไหน, ลักษณนามเรียกของเช่นปลาย่างที่เสียบไม้เรียงเป็นตับว่า ปลาไม้หนึ่ง ปลา ๒ ไม้, เรียกผ้าที่ม้วนโดยมีไม้อยู่ข้างใน ว่า ผ้าไม้หนึ่ง ผ้า ๒ ไม้
- อ่อน หมายถึง ว. ไม่แก่ เช่น มะพร้าวอ่อน
- ดัด หมายถึง ว. ที่ทำให้คดหรือตรงตามประสงค์ เช่น ไม้ดัด ตะโกดัด.
- ง่าย หมายถึง ว. สะดวก, ไม่ยาก.
- แก่ หมายถึง ว. มีอายุมาก เช่น แก่ไปทุกวัน ไม้แก่ เด็กคนนี้แก่กว่าเด็กคนนั้น, อยู่ในวัยชรา เช่น คนแก่ หญิงแก่, จัด เช่น เหลืองแก่ แก่เปรี้ยว แก่หวาน
- ยาก หมายถึง น. ความลำบาก.
ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก ภาษาอังกฤษ
สำนวนไทยดังกล่าวข้างต้นมีความหมายตรงกันกับสำนวนในภาษาอังกฤษที่ว่า “You can't teach an old dog new tricks.” ที่แปลว่า “คุณไม่สามารถสอนเทคนิคใหม่ให้แก่หมาตัวเก่าได้” ซึ่งมีความหมายเทียบเคียงได้กับสำนวนไทยที่ว่า ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก นั่นเองตัวอย่างการใช้งานสำนวนไทย ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก
- คำโบราณ "ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก". แม้ในสมัยนี้ก็ยังเป็นความจริง ผู้เขียนไม่อายที่จะบอกว่า "โตมากับไม้เรียว" ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน เวลาทำผิด มักจะถูกลงโทษเสมอ
- ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก คำคำนี้ พวกเราคงเคยได้ยิน มานานแล้ว ที่ญี่ปุ่น ทำการปลูกผังสิ่งต่างๆ กันตั้งแต่เด็ก ๆ
- ขนส่งยะลา จัดอบรมให้ความรู้แก่เยาวชน โครงการสนามจราจรเยาวชน ควรที่จะต้องเริ่มปลูกฝังตั้งแต่ในขณะที่ยังเป็นเด็กและเยาวชนอย่างคำที่ว่าไม้อ่อนดัดง่ายไม้แก่ดัดยาก.
- รากฐานของมนุษย์ อยากให้ผู้ใหญ่หรือบุคคลในสังคม มีคุณลักษณะหรือมีความสามารถอย่างไร ต้องปลูกฝังตั้งแต่เล็กๆ เหมือนที่เขาว่า ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก ..
- แย่มาก สน.นี้ ไม่รู้ว่ามีการอบรมเรืองมารยาญการเข้าสังคมหรือเปล่า การพูดจาก็มี แต่ขึ้นเสียงบ่นไปก็เท่านั้นเพราะคนแก่ทำงาน ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก ..
- ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก สำนวนสุภาษิตนี้ยังเป็นจริงเสมอ การปลูกฝังให้เด็กอนุรักษ์ธรรมชาติจะทำให้เค้าเข้าใจได้มากกว่า หากเราปลูกฝังด้วยความรัก
- “ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก” เป็นสำนวนที่ยังคงใช้ได้อยู่ในปัจจุบัน การอบรมสั่งสอนเด็กให้ประพฤติดีย่อมง่ายกว่าการอบรมสั่งสอนผู้ใหญ่ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องปลูกฝังคุณธรรม
- “ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก” ฉันใด “การฝึกนิสัยทางการเงินที่ดี ก็ต้องเริ่มตั้งแต่ยังเด็ก” ฉันนั้น จากผลวิจัยของมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เผยว่าในวัย 7 ขวบ นิสัยการใช้เงินของเด็กจะถูกหล่อหลอมเป็นรูปเป็นร่างแล้ว ในช่วงอายุ 3-6 ปีเป็นเวลาสำคัญที่จะพัฒนาทักษะบริหารจัดการเงิน ดังนั้น จึงควรสอนการใช้เงินให้เด็กตั้งแต่อายุยังน้อยยิ่งเร็วยิ่งดี
- นอกลู่นอกทาง ถ้าลูกไม่เชื่อฟังต้องลงโทษ เฆี่ยนตีเพื่ออบรมสั่งสอนตั้งแต่เด็ก โดยมีความเชื่อตามคำโบราณว่าไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก ต้องทำโทษหลาบจำ