สำนวนนี้มีความหมายอย่างเดียวกันทั้งสองประโยคที่ว่า การปล่อยให้บุคคลสำคัญ หรือศัตรูที่เราจับได้กลับไปสู่แหล่งเดิมของมัน เพราะเสือย่อมอยู่ในป่า และปลาต้องอยู่ในน้ำ เมื่อมันกลับสู่บ้านตามธรรมชาติของมันแล้ว กำลังวังชาของมันก็ย่อมมีขึ้นอย่างเดิม มันอาจจะเป็นเหตุให้ศัตรูกลับมาคิดแก้แค้นเราได้ภายหลัง
บางทีก็ใช้ว่า ปล่อยลูกนกลูกกา ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำ หมายถึง ปล่อยศัตรูไปอาจกลับมาทําร้ายภายหลังอีก หรือปล่อยศัตรูไปแล้วเขาจะไม่นึกถึงบุญคุณ
- ปล่อย หมายถึง [ปฺล่อย] ก. ทำให้ออกจากสิ่งที่ติดอยู่ ผูกอยู่ หรือข้องอยู่ เป็นต้น เช่น ปล่อยนักโทษ ปล่อยนก
- เสือ หมายถึง น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์ Felidae รูปร่างลักษณะคล้ายแมวแต่ตัวโตกว่ามาก เป็นสัตว์กินเนื้อ นิสัยค่อนข้างดุร้าย หากินเวลากลางคืน มีหลายชนิด เช่น เสือโคร่ง [Panthera tigris (Linn.)] เสือดาวหรือเสือดำ [P. pardus (Linn.)], โดยปริยายใช้เรียกคนเก่งคนดุร้าย
- เข้าป่า หมายถึง น. ที่ที่มีต้นไม้ต่าง ๆ ขึ้นมา, ถ้าเป็นต้นสัก เรียกว่า ป่าสัก, ถ้าเป็นต้นรัง เรียกว่า ป่ารัง, ถ้ามีพรรณไม้ชนิดใดชนิดหนึ่งขึ้นอยู่มาก ก็เรียกตามพรรณไม้นั้น เช่น ป่าไผ่ ป่าคา ป่าหญ้า
- ปลา หมายถึง น. ชื่อสัตว์น้ำเลือดเย็นมีกระดูกสันหลัง ร่างกายแบ่งเป็นส่วนหัว ลำตัว และหาง หายใจด้วยเหงือกยกเว้นปลาปอด มีครีบใช้ช่วยในการเคลื่อนไหวและทรงตัว บางชนิดมีเกล็ด บางชนิดไม่มี รูปร่างลักษณะ ขนาด และพฤติกรรมแตกต่างกันมากมาย กินทั้งพืชและสัตว์ พบในแหล่งนํ้าทั่วไป.
- ลง หมายถึง ก. ไปสู่เบื้องตํ่าหรือไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้ามกับขึ้น เช่น นํ้าลง เครื่องบินลง, ไปสู่พื้นดินและพื้นอื่น ๆ เช่น ลงดิน ลงบันได ลงเรือ
- น้ำ หมายถึง น. สารประกอบซึ่งมีองค์ประกอบเป็นธาตุไฮโดรเจนและออกซิเจนในอัตราส่วน ๑ : ๘ โดยนํ้าหนัก เมื่อบริสุทธิ์มีลักษณะเป็นของเหลว ใส ไม่มีสี กลิ่น รส มีประโยชน์มาก เช่นใช้ดื่ม ชำระล้างสิ่งสกปรก, โบราณถือว่าเป็น ธาตุ ๑ ในธาตุ ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม, ใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะเป็นนํ้าหรือเหลวเหมือนนํ้า เช่น นํ้าตา นํ้าปลา นํ้าส้ม
ตัวอย่างการใช้สำนวนไทย ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำ
- ตำรวจไม่ตามจับผู้ต้องหา มารับโทษก็เท่ากับการ ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำ สักวันก็ก่อเหตุแบบนี้อีก
- ผู้กระทำความผิดสมควรได้รับโทษทางกฎหมาย เพื่อที่จะให้เข็ดหลาบและเกรงกลัวในการทำผิด การปล่อยปละละเลย ไม่จัดการอะไรสักอย่าง ก็เหมือน ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำ
- นักเรียนที่แต่งกายไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย ถ้าครูฝ่ายปกครองไม่ออกมาตักเตือน หรือลงโทษก็เหมือนกับ ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำ
- ในการรบครานี้ หากเราไม่กำจัดศัตรูเสียให้สิ้น เราก็เหมือนกับการ ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำ สักวันอาจจะกลับมารบกับเราอีกเป็นแน่
- ปล่อยเสือเข้าถ้ำ ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำ อุปมาอุปไมยปล่อยตัวศัตรูไปจะมีภัยพิบัติตามมามิรู้สิ้น ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำ.
- การอภัยเป็นสิ่งที่ดี แต่การให้โอกาสปล่อยนักโทษที่เคยกระทำความผิด กลับสู่สังคมก็เหมือนการปล่อยเสือเข้าป่า เพราะไม่รู้ว่านักโทษได้สำนึกความผิดที่เคยทำมาหรือไม่
- เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมปั่นจักรยานเสือภูเขา ภายใต้โครงการ “ปั่น ปลูก เพื่อธรรมชาติ ตอนปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำ” ที่จะมีขึ้นในวันที่ 24 กันยายน
- ปล่อยศัตรูไปอาจกลับมาทำร้ายภายหลัง. สำนวนนี้บางทีกล่าวต่อไปว่า “ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำ”. สำนวนนี้มีความหมายคล้ายกับ “ปล่อยปลาไหลลงตม”.
- “จักรทิพย์” โผล่ทำเนียบฯ รายงาน “ป้อม” อ้ำอึ้งพรหมเมธีได้ลี้ภัยเยอรมนี ก็ดันเชื่อใจลูกน้อง ไม่เข้มงวดกวดขัน ปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำ.
- “ก็ยิ่งดี ถือว่าปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำเอาบุญ ถ้ามันได้กลับไปเสวยสุขกับไอ้ภาสกรก็ควรจะสำนึกบุญคุณฉัน” หญิงเล็กยิ้มพราย พอใจที่ตัวเองเป็นฝ่ายได้ทั้งขึ้นทั้งล่อง.
- สมควร ผาบัว ผู้เป็นน้องคนเล็กนี้ หลังจากถูกเกณฑ์ทหาร 2 ปี ก็เหมือนกับปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำ เหมือนกับนกพอได้บินออกจากรัง
- เธอคงยังไม่ลืมใช่ไหมว่าเขายังไม่ได้หย่าให้ และก็ไม่มีวันที่จะหย่าให้ด้วย เพราะนั่นมันเหมือนกับว่าเขาปล่อยเสือเข้าป่า ปล่อยปลาลงน้ำ ...
อ้างอิง
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา