การเลือกพูดแต่สิ่งที่ดี มีประโยชน์ไพเราะน่าฟังนั้นก็ดี แต่ถ้าพูดแต่สิ่งที่ไม่ดี ให้ร้าย นินทา ว่าร้ายผู้อื่นนั้นก็ไม่สมควร จะทำให้คนที่ได้ฟังนั้นหมดความเชื่อถือ ทำให้เราดูเสื่อมค่าเสื่อมราคาลงไปได้ ดังนั้นถ้าจะพูดเรื่องไม่ดี แนะนำให้นั่งนิ่งๆเงียบๆไว้จะดีกว่า
- พูด หมายถึง ก. เปล่งเสียงออกเป็นถ้อยคำ, พูดจา ก็ว่า.
- ไป หมายถึง ก. เคลื่อนจากตัวผู้พูด เช่น เขาไปตลาด เขาเข็นเรือไม่ไปเพราะเรือเกยตื้น, ใช้ตรงข้ามกับ มา, เป็นคำประกอบกริยาแสดงทิศทางออกจากตัวผู้พูด เช่น เขาเดินไปโรงเรียน, ในการเขียนจดหมายทางการ ใช้แสดงทิศทางออกจากตัวผู้ที่เขียนถึง เช่น ผมขอให้คุณเดินทางไปหาผมวันอาทิตย์นี้, หรือเป็นคำประกอบกริยามีความหมายว่า เรื่อยไป, ไม่หยุด, เช่น ทำไปกินไป, เป็นคำประกอบท้ายคำวิเศษณ์เพื่อเน้นความหมายให้หนักแน่นยิ่งขึ้น เช่น ขาวไป ช้าไป ดีเกินไป.
- สอง หมายถึง น. จำนวนหนึ่งบวกหนึ่ง
- ไพ หมายถึง (โบ) น. มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๒ อัฐ เท่ากับ ๑ ไพ.
- เบี้ย หมายถึง น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวหลายชนิดในวงศ์ Cypraeidae เปลือกแข็ง ผิวเป็นมัน หลังโค้งนูน ด้านท้องแบน ช่องเปลือกยาวและแคบ เป็นลำราง ตามขอบทั้ง ๒ ข้างเป็นรอยหยัก เรียกรวม ๆ ว่า หอยเบี้ย, เปลือกหอยเบี้ยที่ใช้เป็นเงินตราในสมัยก่อนมี ๒ ชนิด ได้แก่ ชนิด Cypraea moneta Linn. เรียก เบี้ยจั่นหรือเบี้ยจักจั่น ชนิด C. annulus Linn. เรียก เบี้ยแก้วหรือเบี้ยนาง มีอัตรา ๑๐๐ เบี้ย เป็น ๑ อัฐ คำว่า เบี้ย จึงเป็นคำเรียกแทนเงินติดมาจนทุกวันนี้ เช่น เบี้ยประชุม เบี้ยประกัน เบี้ยเลี้ยงชีพ.
- นิ่ง หมายถึง ก. เฉย, ไม่กระดุกกระดิก, ไม่เคลื่อนไหว, เช่น นอนนิ่ง นํ้านิ่ง นั่งนิ่ง ๆ, เงียบ, ไม่ส่งเสียง, เช่น นิ่งเสีย อย่าร้อง, ไม่พูดจา เช่น ถามแล้วนิ่ง, ไม่แพร่งพราย เช่น รู้แล้วนิ่งเสีย.
- เสีย หมายถึง ว. คำประกอบท้ายกริยาหรือวิเศษณ์ เพื่อให้เน้นความหมายหรือให้เสร็จไป เช่น กินเสีย มัวไปช้าเสีย.
- ตำลึง หมายถึง น. มาตราเงินตามวิธีประเพณี ๔ บาท เท่ากับ ๑ ตําลึง, เขียนตามวิธีโบราณดังนี้ หมายความว่า ๔ ตําลึง
- ทอง หมายถึง น. ธาตุแท้ชนิดหนึ่งเนื้อแน่นมาก สีเหลืองสุกปลั่ง เป็นโลหะมีค่า, เรียกเต็มว่า ทองคำ, โบราณกำหนดคุณภาพของเนื้อ ตั้งแต่เนื้อสี่ถึงเนื้อเก้า โดยตั้งพิกัดราคาตามเนื้อทอง เช่น ทองเนื้อหก คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๖ บาท ทองเนื้อเก้า คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๙ บาท. (ประกาศ ร. ๔), ทองเนื้อเก้านี้เป็นทองแท้เป็นทองบริสุทธิ์ เรียกว่า ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ ทองนพคุณ หรือบางทีเรียกว่า ทองชมพูนุท เช่น ดังทองชมพูนุทเนื้อเก้า (สังข์ทอง ตอนตีคลี)
คำบางคำ เมื่อพูดออกไปแล้ว อาจก่อผลร้ายให้กับตนเองและผู้อื่น สู้ไม่พูดจะดีกว่า เพราะหากพูดไปแล้ว ไม่มีประโยชน์อะไรทั้งต่อผู้ฟังและต่อผู้พูด ภาษิตไทยโบราณจึงเตือนสติเราว่า พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง และพระพุทธองค์ตรัสว่า หากจะพูดขอให้พูดในสิ่งที่เป็นจริงและเป็นประโยชน์เท่านั้น ถ้าไม่จริงไม่เป็นประโยชน์ หรือจริงแต่ไม่เป็นประโยชน์ หรือไม่จริงแม้เป็นประโยชน์ ก็ไม่ควรพูดสิ่งนั้น
พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง ภาษาอังกฤษ
สำนวนไทยดังกล่าวมีความหมายใกล้เคียงกันกับสำนวนในภาษาอังกฤษที่ว่า ”Speech is silver, silence is gold.” เสียงพูดเป็นเงินความเงียบคือทอง ซึ่งสำนวนดังกล่าวนั้นมีความหมายใกล้เคียงกับสำนวนไทยที่ว่า พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง นั่นเองตัวอย่างการใช้งาน สำนวนไทยที่ว่า พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง
- เด็ก ๆ คงจะเคยได้ยินสุภาษิตว่า "พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง" ซึ่งหมายความว่า ให้รู้จักกาลเทศะในการพูด รู้ว่า เมื่อใดควรพูด และเมื่อใดไม่ควรพูด .
- แต่รู้สึกสำนวน "พูดไปสองไพเบี้ยนิ่งเสียตำลึงทอง" นี้ จะตรงกันข้าม อย่างผมนี่ ถ้าขืนนิ่ง รับรอง ผมต้อง"เสียตำลึงทอง" แน่ เพราะเขาจ้างผมมาพูดอย่างเดียว ...
- สุดท้ายนี้ ถ้าเพื่อนๆ มีความขัดแย้งกับผู้อื่นและไม่รู้จะหาทางออกของชีวิตได้ ลองนึกถึงสุภาษิต "พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง" ที่ผมใช้นี้บ้าง ซิครับ.
- เมื่อคิดว่าจะเอาอะไรมาเปรียบเทียบดี เพื่อให้คนหันมาฉุกคิดว่า สุภาษิตอย่าง “พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง” นั้น บางทีก็น่าจะหยิบยกมามองในมุมใหม่ ก็พลันหันไปเห็นสุนัขที่มีอยู่ตัวเดียวในบ้านนอนแผ่อยู่ในวันอันร้อนอบอ้าว จึงคิดว่าถ้าหากวันใดขโมยเกิดเข้าบ้านแล้วหมาเกิดนอนเฉย ไม่ยอมลุกขึ้นมาเห่า ข้าวของในบ้านก็คงจะถูกยกเค้าเป็นแน่แท้
- พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง ซะดีกว่า!!! เปิดข้อต่อสู้บางส่วนของยิ่งลักษณ์ ที่ศาลชี้ว่า “ฟังไม่ขึ้น”