รักวัวให้ผูก ก็เหมือนกับจำกัดพื้นที่วัวไม่ให้ไปกินพืชผักที่ปลูกไว้ ให้กินหญ้าในพื้นที่ที่กำหนดไว้เท่านั้น เลี้ยงลูกก็เช่นกันจะต้องตีกรอบเตรีมให้เขาได้รู้ว่าควรที่จะปฏิบัติตัวเช่นไร เมื่ออยู่ในสังคม เมื่อต้องไปใช้ชีวิตนอกบ้าน หาใช่การหวด การตีด้วยไม้ไม่ ดังจะเห็นได้ว่าเมื่อเด็กเริ่มโตขึ้น ก็จะเริ่มเข้าใจโลกมากขึ้นอยู่ในสังคมได้ดีขึ้น มีควารับผิดชอบมากขึ้นก็จะเริ่มเป็นตัวของตัวเอง คิดนอกกรอบที่เราตีไว้ ซึ่งนั่นก็เป็นเรื่องปกติที่ลูกจะเริ่มเข้าสู่วัยผู้ใหญ่
- รัก หมายถึง ก. มีใจผูกพันด้วยความห่วงใย เช่น พ่อแม่รักลูก รักชาติ รักชื่อเสียง, มีใจผูกพันด้วยความเสน่หา, มีใจผูกพันฉันชู้สาว, เช่น ชายรักหญิง, ชอบ เช่น รักสนุก รักสงบ.
- วัว หมายถึง น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Bos taurus Linn. ในวงศ์ Bovidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดใหญ่ กีบคู่ ลำตัวมีสีต่าง ๆ เช่น นํ้าตาล นวล เขาโค้งสั้น ไม่ผลัดเขามีเหนียงห้อยอยู่ใต้คอถึงอก ขนปลายหางเป็นพู่ ที่เลี้ยงเพื่อนำน้ำนมมาบริโภค เช่น พันธุ์โฮลสไตน์-ฟรีเซียน ที่ขุนเป็นวัวเนื้อ เช่น พันธุ์บรามัน, โค ก็เรียก, (ปาก) งัว.
- ให้ หมายถึง ก. เป็นคำช่วยกริยา บอกความบังคับหรืออวยชัยให้พรเป็นต้น เช่น แม่บอกให้ลูกไปนอน ขอให้เจริญรุ่งเรือง ขอให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ แต่งตัวให้สวย ๆ นะ.
- ผูก หมายถึง ก. เอาเชือกเป็นต้นสอดคล้องกันให้เกิดเป็นเงื่อน เพื่อทำให้มั่นหรือติดต่อกันในตัวหรือกับสิ่งอื่น เช่น ผูกเชือก ผูกลวด ผูกโบ, ติดต่อหรือติดพันกันแน่นกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น ผูกใจ ผูกโกรธ ผูกมิตร, ประกอบเข้า เช่น ผูกประโยค ผูกปริศนา ผูกลาย, ติดพันกันด้วยเรื่องสิทธิและหน้าที่ตามที่ตกลงกัน เช่น ผูกตลาด ผูกท่า
- ลูก หมายถึง น. ผู้มีกำเนิดจากพ่อแม่ หรือโดยปริยายถือว่ามีฐานะเสมือนลูก, คำที่พ่อแม่เรียกลูกของตนโดยตรง หรือเรียกเด็กอื่นหรือผู้เยาว์กว่าผู้พูดหลายปีด้วยความรู้สึกรักและเอ็นดู เช่น ลูกกินยาเสียซิ, คำที่ลูกใช้แทนชื่อตนเวลาพูดกับพ่อแม่ด้วยความรักและเคารพ เช่น ลูกยังไม่ง่วงนอน
- ตี หมายถึง ก. กำหนด เช่น ตีราคา
รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี ภาษาอังกฤษ
สำนวนไทยดังกล่าวมีความหมายใกล้เคียงกันกับสำนวนในภาษาอังกฤษที่ว่า “spare the rod, spoil the child” ซึ่งหมายถึงรักวัวให้ผูก รักลูกให้ตีนั่นเองตัวอย่างการใช้งาน สำนวนสุภาษิตไทยที่กล่าวว่า รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี
- การเลี้ยงลูกสมัยก่อนกับสมัยนี้ดูทีท่าว่าจะเปลี่ยนไปแล้ว จากที่โบราณว่า รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี แต่ปัจจุบันนี้การตีลูกนั้นกลับไม่ถูกส่งเสริมให้ใช้กับเด็ก ๆ.
- เคยได้ยินไหมคะว่าไม้เรียวทำให้คนเป็นคนดีได้ เช่นเดียวกันกับสุภาษิตที่ว่า รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี เลยล่ะค่ะ การเลี้ยงดูลูกให้เติบโตเป็นคนดีในสังคม.
- รักวัวให้ผูก รักลูกให้ธรรม. ครั้งหนึ่งมีคุณพ่อท่านหนึ่งได้เข้ามาคุยกับผม โดยได้บอกผมว่าเขาไม่เห็นด้วยกับสำนวนโบราณที่ว่า “รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี” ...
- แต่การตีเด็กและการลงโทษทั้งร่างกายและจิตใจ ดั่งสุภาษิต “รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี” นั้น ส่งผลกระทบมากกว่าที่คาดคิด
- ราชบัณฑิตคัดค้านข้อเสนอให้เปลี่ยนสุภาษิตจาก "รักวัวให้ผูก...รักลูกให้ตี" เป็น "รักวัวให้ผูก...รักลูกให้กอด"
- "รักวัวให้ผูก รักลูกให้ดี" การตีเด็ก ไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ถูกต้องอย่างที่สังคมไทยเข้าใจ เพราะการตีเปรียบเสมือนการกระตุ้นความรุนแรงภายในครอบครัว และกระตุ้นให้เด็กมีพฤติกรรมรุนแรง.
- จากสุภาษิต "ที่ว่ารักวัวให้ผูกรักลูกให้ตี" เดี๋ยวนี้การตีถือเป็นความรุนแรงในครอบครัว เพื่อน ๆ คิดว่า รักลูกควรให้อะไรดี. ... ให้ความรู้ดีที่สุด มันจะอยู่กับเด็กไปตลอด
- สุภาษิตไทยที่ว่า "รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี" อาจจะเป็นสิ่งที่ไม่เหมาะสมสำหรับยุคสมัยไปเสียแล้ว ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาและการเลี้ยงเด็กทั่วโลก.
อ้างอิง http://www.royin.go.th/dictionary/