- นาย หมายถึง น. ผู้เป็นใหญ่, ผู้เป็นหัวหน้า, ผู้จ้าง, เช่น เขาเป็นนาย นายไม่อยู่
- ว่า หมายถึง ก. ดุด่าว่ากล่าว เช่น ว่าไม่ได้ ก็เลี้ยงไม่ได้
- ขี้ข้า หมายถึง น. คำประชดเชิงเปรียบเทียบที่บ่งบอกฐานะต่ำต้อย, คำดูถูกเหยียดหยามว่าเป็นผู้มีฐานะต่ำต้อย (ใช้เป็นคำด่า).
- พลอย หมายถึง ว. ร่วมด้วย, ประสมด้วย, ตามไปด้วย, ในลักษณะเช่นเห็นเขาเดินขบวนกันแล้วเดินตามเขาไป เห็นคนอื่นเขาทำกันแล้วก็ร่วมกับเขาด้วย.
สำนวนดังกล่าวใช้ในการประชดประชันพวกลูกน้องที่มีนิสัยที่คอยเลียแข้งเลียขาหัวหน้าที่จะคอยให้ท้าย และส่งเสริม มักใช้กับคนที่มีนิสัยไม่ดี ทำสิ่งต่างๆในทางลบ ชอบเลียแข้งเลียขาเจ้านายจนออกหน้าออกตาจนน่าหมั่นไส้นั่นเอง บุคคลใดที่ถูกกล่าวถึงด้วยสำนวน นายว่า ขี้ข้าพลอย นั้นมักจะถูกมองในทางลบ ในปัจจุบันนี้เราก็จะได้เห็นภาพพวกลิ่วล้อ หรือ ข้าทาสบริวาร ที่ทำตัวเข้ากับสำนวน " นายว่าขี้ข้าพลอย " ได้เป็นอย่างดี เมื่อเจ้านายว่าอย่างไร พวกบริวารก็จะทำการรับลูก-ผสมโรง เออออห่อหมกเห็นดีเห็นงามตามไปทุกเรื่อง และ ถ้าเจ้านายตำหนิติเตียนผู้ใด พวกเขาก็จะพลอยตำหนิติเตียนร่วมไปด้วย ซึ่งเป็นนิสัยที่ไม่ดีไม่เป็นที่ยอมรับ
นายว่าขี้ข้าพลอย ภาษาอังกฤษ
สำนวนไทยดังกล่าวนั้นไม่มีสำนวนภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องแต่จะมีที่ใกล้เคียงที่สุดก็คือคำว่า Mr.Yes-man สำนวน Yes-Man นั้น เป็นคำที่ใช้เรียกคนที่มักจะเห็นด้วยกับคนอื่นเสมอ ประมาณว่า ยังไงก็ได้ อะไรก็ได้ ที่มาก็คือ คนเหล่านี้พอได้ยินได้ฟังก็ตอบ ใช่(Yes) ตลอดๆ อะไรก็ใช่ไปหมด เห็นด้วยไปซะทุกอย่าง มีความหมายใกล้เคียงกับสำนวนไทยที่ว่า นายว่าขี้ข้าพลอย นั่นเองตัวอย่างการใช้งานสำนวน สุภาษิตไทย นายว่าขี้ข้าพลอย
- โบราณกล่าวเอาไว้ว่า"นายว่าขี้ข้าพลอย" หมายถึง การพูดผสมโรง การว่ากล่าว ติเตียนผู้อื่นตามผู้เป็นนายไปด้วย คอยยุยงส่งเสริมให้เจ้านายทำในสิ่งไม่ดี .
- แค่หัวหน้าพรรคการเมือง เยือน EUดิ้นพล่านออกจากรู กันสลอนบอกหากชาติเสียหาย ทั้งนาครจะเดือดร้อน รับผิดชอบกันอย่างไรพอนายว่าขี้ข้าพลอย ...
- ผู้บริหารบางคนเป็นนายประเภท “หลงตนเอง” จึงบริหารลูกน้องให้เป็น “บ่าวรับใช้” คือ เขาจะไม่ต้องการให้ลูกน้องคิด หรือทำงานเก่งจนเกินไป เพราะถ้าเก่งจนเกินไปจะปกครองยาก ลูกน้องมีหน้าที่ทำงานตามสั่งเท่านั้น ถ้าลูกน้องคัดค้านหรือไม่เห็นด้วยกับความคิดหรือวิธีการของตน ลูกน้องคนนั้นก็จะเป็น “หมาหัวเน่า” ที่นายจะไม่สนใจ เพื่อนร่วมงานคนอื่นๆ ก็จะไม่กล้าสุงสิงกับลูกน้องคนนั้นเพราะกลัวจะถูกมองไม่ดีไปด้วย ผู้บริหารประเภทนี้จึงมีแต่ลูกน้องที่ทำงานในเชิง “ประจบสอพลอ” “ยกยอ ปอปั้น” หรือทำงานตามสั่ง ประเภท “นายว่า ขี้ข้าพลอย” นายเสนอหรือคิดเรื่องใด โครงการใด ลูกน้องจะเห็นดีเห็นงามด้วยตลอด ผู้บริหารก็จะหลงใหล และยิ่งหลงในอำนาจมากขึ้นไปอีก เพราะคิดว่าทำอะไรก็ถูกไปหมด
- โบราณท่านเปรียบบ่าวไพร่ในความดูแลที่มีนิสัยประจบประแจงเจ้านายไปซะทุกเรื่องแบบไม่แยกแยะถูกผิดว่าเป็นพวก “นายว่าขี้ข้าพลอย” คือเมื่อเจ้านายไม่ชอบใคร ต่อว่าด่าทอใครก็จะช่วยด่า ช่วยส่งเสริม
- คำพูดในชีวิตประจำวัน มีทั้งให้ประโยชน์และโทษ ขึ้นอยู่กับคนพูด ว่าจะพูดให้คนฟังรู้สึกอย่างไร เช่น นายว่าขี้ข้าพลอย – พลอยพูดผสมโรงติเตียนผู้อื่นตามนายไปด้วย
- ลั่นไม่ผิดอย่ามารังแก เหยียบย่ำหัวใจ ชี้ไม่มีอำนาจถอนประกัน กลับชงเรื่องประจบสอพลอนาย แบบนายว่าขี้ข้าพลอย จนเป็นปัญหาทำบ้านเมืองพังมามากแล้ว.
- เมื่อ "ปชป.-พปชร." แหติดตอ แบบนี้ เดี๋ยวสถานการณ์ "นายว่า ขี้ข้าพลอย" มันก็จะตามมา! ... ก็เป็นตรรกะในตัวว่า ต้องหาเสียงให้พรรคชนะ เป็นแกนตั้งรัฐบาล และให้อภิสิทธิ์เป็นนายกฯ
- ป.ช.ยันเป็นอำนาจปลัด กต.ไม่มี ใครสั่งได้ “วิสุทธิ์” จวกว่างงานกันนักหรือ “วัฒนา” ฉะพวกนายว่าขี้ข้าพลอย กลุ่มผู้แปรญัตติเรียงคิวแจงญัตติแก้ไขร่าง รธน.
- เหล่าสมุน พอนายว่า ขี้ข้าพลอย แถมเฝ้าคอย สมทบ ประจบประแจง.... . ฝั่งพวกตน โอบอุ้ม คอยคุ้มหัว แม้นโคตรชั่ว เลวระยำ ทำแอบแฝง ยังตีมึน เดินออกหน้า