การได้ประโยชน์ร่วมกันนั้นเหมาะกับสังคมในทุกยุคทุกสมัย การที่จะเอาประโยชน์เพียงฝ่ายเดียวนั้นจะกลายเป็นคนที่ถูกโดเดี่ยวในสังคมไม่มีใครคบหา หรือคบหาได้อย่างไม่สนิทใจ เพราะกลัวเขามาหาประโยชน์จากเรานั่นเองดังนั้นการที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างสงบสุขนั้นจะต้องมีการช่วยเหลือ พึ่งพากันและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรร่วมกัน
“เกาหลังของฉันและฉันจะเกาคุณ” ซึ่งสำนวนดังกล่าวนั้นมีความหมายคล้ายคลึง และใกล้เคียงกันกับสำนวนไทยที่ว่า น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า เพราะว่าการเกาหลังนั้นเราไม่สามารถเกาหลังของเราเองได้ มีแต่การขอให้คนอื่นเท่านั้นที่จะทำเรื่องดังกล่าวให้เราได้ ดังนั้นการอยู่ในสังคมนั้นจะต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จึงจะสามารถอยู่รอดได้
- น้ำ หมายถึง น. สารประกอบซึ่งมีองค์ประกอบเป็นธาตุไฮโดรเจนและออกซิเจนในอัตราส่วน ๑ : ๘ โดยนํ้าหนัก เมื่อบริสุทธิ์มีลักษณะเป็นของเหลว ใส ไม่มีสี กลิ่น รส มีประโยชน์มาก เช่นใช้ดื่ม ชำระล้างสิ่งสกปรก, โบราณถือว่าเป็น ธาตุ ๑ ในธาตุ ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม, ใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะเป็นนํ้าหรือเหลวเหมือนนํ้า เช่น นํ้าตา นํ้าปลา นํ้าส้ม
- พึ่ง หมายถึง ก. อาศัย เช่น พึ่งบารมีคนอื่น, พักพิง เช่น ไปพึ่งเขาอยู่, ขอความช่วยเหลือ เช่น หนีร้อนมาพึ่งเย็น.
- เรือ หมายถึง น. ยานพาหนะที่ใช้สัญจรไปมาในนํ้า มักทำด้วยวิธีขุดไม้ทั้งต้นหรือนำกระดาน สังกะสี เหล็ก เป็นต้น มาประกอบกันเข้า
- เสือ หมายถึง น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ในวงศ์ Felidae รูปร่างลักษณะคล้ายแมวแต่ตัวโตกว่ามาก เป็นสัตว์กินเนื้อ นิสัยค่อนข้างดุร้าย หากินเวลากลางคืน มีหลายชนิด เช่น เสือโคร่ง [Panthera tigris (Linn.)] เสือดาวหรือเสือดำ [P. pardus (Linn.)], โดยปริยายใช้เรียกคนเก่งคนดุร้าย
- ป่า หมายถึง น. ที่ที่มีต้นไม้ต่าง ๆ ขึ้นมา, ถ้าเป็นต้นสัก เรียกว่า ป่าสัก, ถ้าเป็นต้นรัง เรียกว่า ป่ารัง, ถ้ามีพรรณไม้ชนิดใดชนิดหนึ่งขึ้นอยู่มาก ก็เรียกตามพรรณไม้นั้น เช่น ป่าไผ่ ป่าคา ป่าหญ้า
น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า ภาษาอังกฤษ
สำนวนดังกล่าวตรงกับสำนวนภาษาอังกฤษที่ว่า “Scratch my back and I will scratch yours” แปลว่า“เกาหลังของฉันและฉันจะเกาคุณ” ซึ่งสำนวนดังกล่าวนั้นมีความหมายคล้ายคลึง และใกล้เคียงกันกับสำนวนไทยที่ว่า น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า เพราะว่าการเกาหลังนั้นเราไม่สามารถเกาหลังของเราเองได้ มีแต่การขอให้คนอื่นเท่านั้นที่จะทำเรื่องดังกล่าวให้เราได้ ดังนั้นการอยู่ในสังคมนั้นจะต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน จึงจะสามารถอยู่รอดได้
ตัวอย่างการใช้งาน คำพังเพย น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า
- เลิกคิดริษยาอาฆาต เลิกสาดโคลนหมายป้ายสี เลิกการกระทำย่ำยี เลิกหมดกดขี่บีฑา มุ่งจิตคิดชอบกอบเกื้อ เฉกน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า โลกจะรื่นรมย์สมอุรา เมื่อมาช่วยเหลือ เอื้อเฟื้อกัน.
- น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า. น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า. สร่างซาเสียทีกับข่าวคราวของ เปรี้ยว และผองเพื่อน หลังจากที่กลุ่มคนเหล่านี้ยึดพื้นที่สื่อทั้งหมดเอาไว้ได้อย่างเบ็ดเสร็จนานนับสัปดาห์ ...
- ข้ออ้างเรื่องของการตอบแทนคุณงามความดีคงจะเอามาใช้ไม่ได้กับการตั้งบุคลากร ... ทางที่ดีควรจะใช้หลักการทางสายกลาง ประเภทน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่าจะดีที่สุด .
- ร้านหนังสือกับสำนักพิมพ์นั้น ถ้าจะเปรียบก็เหมือนที่ผมเคยบอกอยู่เสมอว่า เสมือนน้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่า ปลาพึ่งน้ำ ต่างฝ่ายต่างขาดออกจากกันไม่ได้
- น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า เปิดภาพสุดประทับใจ เมื่อเจ้าช้างต้องมาช่วยเหลือ เมื่อถนนเละโคลนจนรถไม่สามารถขับไปได้ งานนี้จึงต้องอาศัยเจ้าถิ่นอย่างช้าง
- *น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า อัชฌาสัย แบ่งปันใช้ ให้แก่กัน ท่านเคยสอน จะกินอยู่ หรือลุกนั่ง ทั้งยามนอน อย่าได้อ่อน บั่นทอนจิตร มิตรสัมพันธ์
- ชายข้าวเปลือกหญิงข้าวสารโบราณว่า น้ำพึ่งเรือเสือพึ่งป่าอัชฌาสัย เราก็จิตคิดดูเล่าเขาก็ใจ รักกันไว้ดีกว่าชังระวังการ เสียงพร่ำร้องของหญิงไทยจำนวนหนึ่ง.
- หนุนกบฏซีเรีย ส่วนหนึ่งจากความสัมพันธ์แบบ 'น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า' ร่วมทศวรรษ ... ที่ซีไอเอ เคยพึ่งพาอาศัยมาตลอดหลายทศวรรษ โดยเฉพาะเรื่องเงินๆ ทองๆ
- Ecology คือการที่สิ่งมีชีวิตทุกชนิดบนโลกใบนี้ต้องพึ่งพาอาศัยกันอย่าง ไม่สามารถอยู่ได้เพียงลำพัง ... ไม่สามารถอยู่ได้ลำพังดั่งสุภาษิตไทยที่ว่า “น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า” ...
- “น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า” ... สะท้อนได้จากความพร้อมในแง่ปัจจัยการผลิตที่นำมาใช้ผลิตสินค้าและบริการซึ่งจะก่อให้เกิดความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจไปด้วยกัน