- ช้า หมายถึง ว. ค่อย ๆ เคลื่อนไป, ไม่เร็ว, ไม่ไว, เช่น เดินช้า วิ่งช้า
- ได้ หมายถึง . รับมาหรือตกมาเป็นของตัว เช่น ได้เงิน ได้ลูกได้แผล
- พร้า หมายถึง [พฺร้า] น. มีดขนาดใหญ่, ถ้าเป็นรูปเพรียวยาวสำหรับถือกรีดกราย เรียกว่า พร้ากราย หรือ มีดกราย ทางถิ่นปักษ์ใต้เรียกว่า พร้าโอ หรือ มีดโอ, ถ้าปลายเป็นขอมีด้ามยาวสำหรับใช้เกี่ยวตัด เรียกว่า พร้าขอ หรือ มีดขอ, ถ้าปลายงุ้ม สันหนา และด้ามสั้น เรียกว่า พร้าโต้, มีดโต้ หรือ อีโต้ ก็เรียก, ถ้าเป็นรูปเพรียวยาวด้ามงอ ๆ สำหรับหวดหญ้า เรียกว่า พร้าหวด หรือ มีดหวด, ถ้าปลายแบนโตมีคม สำหรับขุดดินได้ เรียกว่า พร้าเสียม, ถ้าปลายตัดมีรูปโค้งนิด ๆ เรียกว่า พร้าถาง.
- สอง หมายถึง น. จำนวนหนึ่งบวกหนึ่ง
- เล่ม หมายถึง ลักษณนามสำหรับเรียกสิ่งของบางชนิดที่มีลักษณะยาวเรียวอย่างมีด หอก พาย เข็ม เช่น มีดเล่มหนึ่ง เข็ม ๒ เล่ม, ใช้เรียกเกวียนหรือสมุดหนังสือว่า เล่ม ด้วย เช่น เกวียน ๒ เล่ม หนังสือ ๓ เล่ม สมุด ๔ เล่ม.
- งาม หมายถึง ว. ดี, มาก, มีลักษณะที่เป็นไปตามต้องการ, เช่น กำไรงาม ธนาคารนี้จ่ายดอกเบี้ยงาม.
การทำอะไรสักอย่างก็ให้ทำอย่างมีสติรอบคอบ แม้จะช้าไปบ้างก็ได้ผลดี แต่ถ้าทำอย่างรีบร้อน ไม่พินิจพิเคราะห์ให้ดีก่อน อาจผิดพลาดเสียหายได้ง่าย. ซึ่งใช้เตือนใจในการใช้ชีวิตประจำวันของคนเราให้มีความละเอียดรอบคอบในการทำสิ่งต่างๆ เช่นการทำงานควรจะมีการตรวจทานหลังจากที่ทำงานเสร็จเรียบร้อยแล้วเพื่อหาจุดบกพร่อง แล้วให้ทำการแก้ไขโดยเร็ว เพราะว่าหากงานไม่เรียบร้อยแล้วจะส่งผลต่อความไว้วางใจในการทำงานในครั้งต่อไป ซึ่งคุณอาจจะไม่ได้ถูกเลือกให้ทำงานดังกล่าวดีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานที่มีความสำคัญควรที่จะมีการตรวจสอบให้ละเอียดมากกว่าปกติ เพื่อลดความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น
การทำช้า ๆ ไม่ได้หมายถึงว่าให้ทำงานอย่างเชื่องช้า แต่หมายถึงว่าให้ทำงานปกติแต่ให้เพิ่มการตรวจสอบให้แน่ใจเสียก่อนว่างานนั้นออกมาดัแล้ว หรือไม่มีข้อบกพร่อง หรือข้อผิดพลาดทั้งหลาย จนอาจจะทำให้เกิดความเสียหาย และล่าช้ามากหากต้องกลับมากแก้ หรือว่ารอการแก้ไข ซึ่งจะทำให้ขั้นตอน หรือกระบวนการทำงานโดยรวมหยุดชะงัก ซึ่งจะทำให้เกิดความเสียหายในงานมากขึ้น
สำนวนสุภาษิต ช้า ๆ ได้พร้าสองเล่มงาม ภาษาอังกฤษ
ช้า ๆ ได้พร้าสองเล่มงามนั้นมีความหมายใกล้เคียงกับสำนวนในภาษาอังกฤษที่ว่า “Slow and steady wins the race” ซึ่งแปลตรงตัวได้ว่า ช้าและมั่นคงจะชนะการแข่งขัน ซึ่งมีความหมายใกล้เคียงกันกับสำวนวไทยที่ว่า ช้า ๆ ได้พร้าสองเล่มงาม นั่นเองตัวอย่างการใช้งาน สำนวน “ช้า ๆ ได้พร้าสองเล่มงาม”
เป็นการนำเอาสำนวนดังกล่าวมาใช้งานในชีวิตจริง ทั้งที่ปรากฏใหนหน้าสื่อต่างๆ และในประโยคคำพูดที่มีการใช้งานในชีวิตประจำวัน- การศึกษาเล่าเรียน หรือความรักที่ต้องใช้เวลาศึกษาดูใจกัน “ช้า ๆ ได้พร้าสองเล่มงาม”
- สมพรชวนเพื่อน ๆ 2 -3 คน ลงเรือแล้วบอกให้พายเรือคนละทีจะได้ถึงที่หมายก่อนค่ำ สมศรีกำลังเรียนจัดดอกไม้แต่ยังทำไม่สวย คุณครูจึงบอกว่าอย่าใจร้อนช้า ๆ ได้พร้าสองเล่มงาม.
- ความช้ามีข้อดี เพราะความช้าทำให้เราคิดและทำอะไรด้วยความรอบคอบ ดังจะเห็นได้จากสำนวนไทยที่กล่าวว่า "ช้า ๆ ได้พร้าสองเล่มงาม" ซึ่งหมายความว่า ค่อย ๆทำ
- วางคอมทิ้งไป จดโน้ตด้วยมือเจ๋งกว่า! ดีต่อการเรียนรู้จดจำของคนเราจริง ประเด็นสำคัญที่ผู้วิจัยพบเลยคือ “ช้า ๆ ได้พร้าสองเล่มงาม” แม้ว่าคนที่ไม่ใช้คอมฯ และจดโน้ตด้วยมือ จะจดได้ช้ากว่าพิมพ์คอมฯ ก็ตาม ..
- ความเพียรทน. ยุคนี้คนไม่เชื่อว่า “ช้า ๆ ได้พร้าสองเล่มงาม”. คนทุกวันนี้ต้องการคำตอบที่สำเร็จรูป (ไม่ต้องคิดอะไรมาก). ค่อย ๆ คิด ค่อย ๆ ทำ แล้วจะสำเร็จผล. ไม่อยากคิดให้เสียเวลา.
- ท่านกล่าวว่า ช้า ๆ ได้พร้าสองเล่มงาม ให้เร็วไป ก็จะไม่ได้อะไร เลย ศิษย์จะเสียเวลาอีกหลายชาติ ตัวอย่างนี้เป็นตัวอย่างแสดงให้เห็นภูมิ ปัญญาวิมุตติ มากกว่า.
- ช้า ๆ ได้พร้าสองเล่มงาม ทำอะไรอย่าผลุนผลัน แล้วจะได้ผลดี ช้าเป็นการ นานเป็นคุณ ทำช้า ๆ ค่อย ๆ คิดให้รอบคอบ จะดีกว่าด่วนทำ ช้าเหมือนเต่าคลาน เชื่องช้าอืดอาดมาก.
- เทคนิคการวิ่งบนลู่วิ่งไฟฟ้า ถ้าไม่อยากจะกระเด็นตกลู่ไป เตรียมตัวให้พร้อม จะเปิดเพลง จะเปิดหนัง ก็เปิดรอให้พร้อม ก่อนที่ลู่จะเคลื่อนนะจ๊ะ เริ่มช้า ๆ ได้พร้าสองเล่มงาม.
- รอดูท่าที รอดูสถานการณ์ที่ได้เปรียบ การเจรจาต่าง ๆ ขอให้ทำการบ้านให้มาก เน้นการวางแผนให้มากขึ้น ช้า ๆ ได้พร้าสองเล่มงาม.
- ดวงความรัก ปี 2561 คนเกิดวันเสาร์. ปีนี้คนโสดถึงคราวประสบความสำเร็จในเรื่องความรักเสียที นัยว่าช้า ๆ ได้พร้าสองเล่มงาม คู่สมรสปีนี้ความรักเป็นปึกแผ่นยิ่งขึ้น .
- "สุภาษิตกล่าวไว้ว่า ช้า ๆ ได้พร้าสองเล่มงาม ข้านั้นมีบุตรสาวเพียงคนเดียว ไม่กลัวว่านางจะออกเรือนช้า กลัวแต่ว่าจะเลือกคนผิด ดังนั้นไม่รีบร้อน ...
- เป็นสังคมที่บุคคลสามารถเลือกปฏิบัติในสิ่งที่ตนพอใจ ไม่ยึดถือว่าต้องปฏิบัติเป็นแบบเดียวกัน สังเกตได้จาก ค่านิยมของคนไทยหลายประการที่ขัดกันเองเช่น ” ช้า ๆ ได้พร้าสองเล่มงาม” .