-->

Facebook Horizon คืออะไร ?





Laz Flash Sale ลดแรงกว่า 90%
ดีลจำกัดเวลา ให้คุณเลือกซื้อสินค้าราคาพิเศษได้ทุกวัน สินค้าลดราคากับ Flash Sale
Lazada แฟลชเซล จัดเต็มดีลฮิตทุกวัน ช้อปออนไลน์ 24 ชั่วโมง ☆ดีลจำกัดเวลาสุดฮอต ☆ลดราคาแรง ☆สินค้าหลากหลาย

ช้อปเลย





Facebook Horizon คืออะไร ?



Facebook Horizon คืออะไร ? เป็นบริการโลกเสมือนที่ทางบริษัท Oculus VR ได้ร่วมมือกันกับ Facebook ในการเปิดให้ทดลองใช้บริการโซเชียลมีเดียรูปแบบใหม่ที่ใช้โลกเสมือนในการเชื่อมต่อผู้คนผ่านทางแว่นตา VR ของบริษัทรุ่น Oculus Quest และ the Rift Platform ในปี 2020 

โดยการใช้งานจะเป็นลักษณะคล้ายๆการเล่นเกมที่คนที่เล่นนั้นจะเข้าสู่โลกเสมือนจริงผ่านอุปกรณ์ของบริษัทเท่านั้นเพื่อที่จะเข้าร่วมสัมผัสประสบการณ์ในโลกเมือนจริงที่จะช่วยให้คนนั้นสามารถทำกิจกรรมต่างๆร่วมกันผ่านระยะทางไกลได้ เช่นการขับเครื่องบิน เล่นเกมพบปะ พูดคุย หรือกระทั่งการออกเดทกันในตัวโลกเสมือนจริงดังกล่าว


โดยจะมีการสร้างอวาตาร์หรือรูปแทนตัวของผู้เล่นเองให้เป็นภาพสามมิติที่จะช่วยให้ผู้เล่นสามารถออกแบบหน้าตาของตัวละครของตัวเองได้เอง และใส่ทุกอย่างตามใจต้องการที่ในโลกของความจริงไม่สามารถทำได้

และแน่นอนโลกเสมือนดังกล่าวนั้นจะโฟกัสให้ใช้งานในบางกลุ่มหรือเฉพาะผู้ที่มีอุปกรณ์ดังกล่าวเท่านั้น การให้บริการนั้นในตอนแรกค่อนข้างที่จะจำกัดอยู่ในกลุ่มพอสมควร แต่ทว่าทิศทางการใช้งานในอนาคตนั้นไม่แน่ว่าอาจะจะมีความนิยมมากขึ้นเรื่องจากจำนวนอุปกรณ์ที่รองรับมีราคาที่ถูกลง หรือในอนาคตอีกสัก 10 ปีข้างหน้าอาจจะเป็นโซเชียลที่ได้รับความนิยมเหมือนกับเฟซบุคก็ได้ใครจะรู้

และแน่นอนถ้าคุณอยากสัมผัสกับประสบการณ์โลกเสมือนจริงดังกล่าวนั้นคุณจะสามารถสมัครเพื่อเป็นผู้ทดสอบซอฟท์แวร์ Facebook Horizon  ได้ที่ https://www.oculus.com/facebookhorizon/sign-up โดยคุณจะต้องมีอุปกรณ์ที่สำคัญก่อนที่จะสามารถเล่นเกมหรือเข้าร่วมได้นั่นก็คือจะต้องมี Oculus Quest หรือ Rift Platform เสียก่อนจึงจะสามารถใช้งานได้ และแน่นอนราคาในช่วงนี้ก็ดูไม่เป็นมิตรกับกระเป๋าเงินสักเท่าไหร่เพราะว่า ราคา Oculus Quest All-in-one VR Gaming Headset นั้นในไทยของแท้นะตกอยู่ที่ประมาณ หมื่นเจ็ดพัน จนถึง หมื่นแปดพันบาทเลยทีเดียว เรียกได้ว่าราคาสูงพอสมควร นี่เป็นอีกสาเหตุที่เทคโนโลยี VR นั้นเกิดได้ยากมากกว่าเทคโนโลยี AR มากนั่นเอง สำหรับราคาแว่น VR นั้นสามารถดูได้ที่นี่ 

ส่วนคำถามถ้ามันได้รับความนิยมแบบนั้นจริงแล้วเราจะได้ประโยชน์หรือสามารถใช้ประโยชน์อะไรได้จากเทคโนโลยี VR ดังกล่าวที่บริษัทยักษ์ใหญ่ต่างๆพากันวางแผน และเริ่มพัฒนาแพลตฟอร์มดังกล่าวให้แพร่หลายกันหลายบริษัท แน่นอนอันดังแรกการสื่อสารที่จะช่วยให้คุณสามารถคุยกับชาวต่างชาติเป็นการฝึกการใช้งานภาษาอังกฤษที่เรามีโอกาสน้อยนักน้อยหนาที่จะพบกับฝรั่งตัวเป็นๆที่เป็นคนจริง ๆที่สามารถคุย หรือให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ภาษาของเราได้ หรือช่วยพัฒนาความสามารถในการสื่อสารเป็นภาษาอื่น ๆก็ได้ ในสิ่งที่เราสนใจ นี่คือสิ่งที่คุณจะได้จากการใช้งานเทคโนโลยี โลกเสมือนบางส่วนที่เราคิดว่าน่าที่จะมีประโยชน์

สำหรับความเป็นมาของเทคโนโลยี VR หรือ virtual reality นั้นอาจจะไม่ใช่เรื่องที่แปลกใหม่อะไร เพราะว่าเทคโนโลยีนี้ได้มีการคิดค้นมาตั้งแต่ปี 1860s แล้วซึ่งได้มีการพัฒนาและใช้งานกันมาเรื่อย ๆเป็นระยะเวลานาน และได้มีการใช้งานหลากหลายแบบตั้งแต่อดีตซึ่ง ก็เคยมีการทดสอบ และพัฒนาโดยนาซ่าเพื่อที่มีความหวังว่าจะเอามาใช้ในเทคโนโลยีเพื่อช่วยเหลือในการสำรวจอวกาศ

ในแง่ลบก็อาจจะมีเพราะว่าการใช้งานโลกเสมือนมากเกินไปนั้นก็อาจจะทำให้เราคุ้นชินกับโลกเสมือนมากเกินไปจนอาจจะแยกแยะไม่ออกว่าสิ่งใดเป็นโลกเสมือน หรือสิ่งใดเป็นโลกแห่งความจริง สิ่งใดที่ทำได้ และไม่ได้ในทั้งสองโลกดังกล่าวและนั่นอาจจะทำให้เกิดปัญหาในระยะยาวได้ ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีนี้ยังไม่ได้รับการเปิดตัวออกมาอย่างเป็นทางการก็ตาม แต่ว่าแนวโน้มเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวก็มีโอกาสเกิดขึ้น และหลังจากใช้งานไปได้สักพักก็น่าที่จะมีงานวิจัยต่างๆออกมาให้ทราบว่าจะมีผลกระทบอะไรบ้างต่อผู้ใช้งาน ในแง่ใดบ้างนั่นเอง แต่ล่าสุดก็มีการรายงานผลกระทบของการใช้งาน VR ที่มีผลต่อสุขภาพของผู้ใช้งานบ้างแล้ว

ซึ่งผลกระทบข้างเคียงของการใช้งานโลกเสมือนนั้นก็ได้แก่ การบาดเจ็บจากการชนสิ่งกีดขวาง และเกิดอาการตาล้า เนื่องจากมีการจ้องภาพเป็นระยะเวลานาน ซึ่งจะทำให้ตาแห้งเนื่องจากผู้ใช้งานกระพริบตาน้อยลงมากนั่นเอง และอาการอย่างอื่น ๆที่ปัจจุบันนี้เรียกรวมๆว่าเป็นโรคอาการ Virtual reality sickness ดังนั้นท่านที่กำลังสนใจในเทคโนโลยีดังกล่าวควรศึกษาวิธีใช้ และมีการใช้งานให้เหมาะสมจะดีที่สุด ไม่หมกมุ่นหรือโฟกัสในตัวเกมมากเกินไปซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ ทุกสิ่งทุกอย่างถ้าใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสมก็จะมีประโยชน์ทั้งนั้น

อ้างอิง
https://en.wikipedia.org/wiki/Virtual_reality
https://en.wikipedia.org/wiki/Virtual_reality_sickness