คำพังเพย หมายถึง ถ้อยคำที่เป็นสำนวนที่พูดไว้กลาง ๆ เพื่อชวนให้คิด ถ้านำมาใช้ให้เหมาะกับเรื่องที่กำลังพูดกัน จะทำให้เข้าใจเรื่องที่พูดนั้นชัดเจนขึ้น เช่นพูดว่า รถของเขาเสียเล็กน้อย แต่เขาไม่ยอมเอาไปซ่อม เพราะเห็นว่ายังพอขับได้ และไม่อยากจะเสียเงิน พอนานเข้าเครื่องเสียหมด ต้องยกเครื่องใหม่ทั้งคัน นี่แหละหนา เขาว่า เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย คำพังเพย “เสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย” หมายถึง เสียเพียงเล็กน้อยไม่ยอมเสีย ทำให้ต้องเสียมากกว่าเดิม
คำว่า พังเพย มาจากภาษาจีน จีนกลางออกเสียงว่า ผังผี้. แต้จิ๋วออกเสียงว่า ผั่งโพย. แปลว่า หมายเหตุหรือคำวิจารณ์ที่เขียนอธิบายไว้ข้าง ๆ ข้อความหลัก.
เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย ภาษาอังกฤษ
“เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย” ตรงกับสำนวนภาษาอังกฤษที่ว่า “penny wise (and) pound foolish” ที่หมายถึง คิดเล็กคิดน้อยกับสิ่งที่ไม่สำคัญ แต่สิ่งที่สำคัญกลับมองข้ามไป เสียเพียงเล็กน้อยไม่ยอมเสีย แต่แล้วกลับกลายเป็นต้องเสียมากไปกว่านั้น ซึ่งมีความหมายใกล้เคียงกันกับสำนวนไทยที่ว่า “เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย” นั่นเองโดยสำนวนอังกฤษที่ว่า “penny wise (and) pound foolish” ใช้สำหรับพูดเตือนใจคนที่มักระมัดระวังกับสิ่งเล็กน้อย แต่ละเลยกับสิ่งที่มีความสำคัญมากกว่า หรือมองข้ามไป ไม่ยอมจ่ายเงินกับของเล็กน้อย แต่กลับไปจ่ายเงินจำนวนมากกับของซึ่งใหญ่กว่า สำนวนนี้เอาเงินเพ็นนี (penny) ซึ่งมีค่าน้อยที่สุดในสกุลเงินของอังกฤษ มาเปรียบกับเงินปอนด์ (pound) เงิน 100 เพนนี มีค่าเท่ากับ 1 ปอนด์ ซึ่งเหมือนกันกับค่าเงินไทยที่มีหน่วยเป็น สตางค์ โดย 100 สตางค์ เท่ากับ 1 บาท นั่นเอง
สำนวนไทย “เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย” เป็นสำนวนเปรียบเปรยคนที่ขี้เหนียว ไม่ค่อยจะยอมเสียเงินง่ายๆ แม้จะเป็นเงินเพียงเล็กน้อย แต่ในที่สุดกลับต้องเสียมาก เพราะความจำเป็นบังคับให้ต้องเสีย
อันที่จริงแล้วถึงแม้ว่าสำนวนอังกฤษและสำนวนไทยทั้งสองนี้ ถึงไม่ได้มีความหมายตรงกันเป๊ะทีเดียว แต่ก็มีความหมายคล้ายคลึงกันเฉพาะส่วนแรก คือ หมายถึงระมัดระวัง หรือ คิดเล็กคิดน้อยกับการจะต้องจ่ายเงินเพียงเล็กน้อย สำนวนอังกฤษมีความหมายต่อไปอีกว่า ไม่ระมัดระวัง หรือกลับยอมจ่ายเงินมาก ๆ กับของใหญ่ ๆ หรือของที่มีราคาแพงกว่ามาก ส่วนสำนวนไทยมีความหมายต่อไปอีกว่า แต่กลับต้องเสียเงินมากทีหลัง เป็นเพราะไม่ยอมเสียเล็กน้อยแต่แรก ฉะนั้น สำนวนอังกฤษจึงต่างจากสำนวนไทยในความหมายนี้
ตัวอย่างการใช้งานคำพังเพยที่ว่า “เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย”
- ประยุทธใช้เงินซื้อรถยนต์ประจำตำแหน่งใหม่เป็นประจำ ทั้งที่คันเก่าก็สามารถใช้งานได้ และมีอายุการใช้งานไม่นานเข้าตำรา “เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย”
- ประวิตร ชอบยืมมนาฬิกาเพื่อนมาใส่ แทนที่จะซื้อเอง แล้วพอทำหายแล้วก็ต้องซื้อคืนเพื่อน ซึ่งแพงกว่าเรือนที่ทำหายเสียอีก แบบนี้เรียกว่า “เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย”
- ประวิตรชอบไปซื้อเรือดำน้ำจีน ที่มีเทคโนโลยีตามหลังฝั่งอเมริกา และยุโรปเป็น 10 ปีในราคาที่เท่ากัน แบบนี้เขาเรียกว่า “เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย”
- พ่อชอบไปซื้อโทรศัพท์รุ่นถูกๆมาใช้ แต่เสียบ่อยมาก และต้องซ่อมเกือบทุกเดือน โดยค่าซ่อมนั้นสามารถซื้อโทรศัพท์ดี ๆได้หลายเครื่องแล้ว
- สมศรีชอบใช้ของที่หมดอายุมาทำกับข้าวจนทำให้ท้องเสีย จนต้องเข้าโรงพยาบาลหมดค่ารักษาเป็นพัน แบบนี้เข้าตำรา “เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย”
- ประยุท ชอบซื้อรถยนต์มือสอง ซึ่งราคาใกล้เคียงกับรถยนต์ใหม่ซึ่งแพงกว่าไม่กี่หมื่น แต่กลับต้องซ่อมแล้วซ่อมอีกจนงบบานปลาย แบบนี้เขาเรียกว่า “เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย”
- สมศักดิ์ไม่ได้ทำประกันรถยนต์ชั้นหนึ่ง จนเกิดรถเฉี่ยวชนคนจนได้รับบาดเจ็บ และต้องจ่ายค่าเสียหายให้คู่กรณีเป็นแสนบาท และยังต้องซ่อมรถเองด้วย แบบนี้เข้าข่าย “เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย”
- เมตาชอบซื้อของบนห้าง ซึ่งมีราคาแพงกว่าร้านที่ขายข้างนอกถึงเท่าตัว พอรู้อีกทีก็เสียเซลฟ ไฟเลย แบบนี้เขาเรียกว่า “เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย”
- ธารารัตน์ชอบใช้เครื่องสำอางราคาถูกจนหน้าพัง ทั้งยังมีสารปรอทด้วยจนต้องรักษาหมดหลายหมื่นบาท มันคุ้มกันไหม แบบนี้เขาเรียกว่า “เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย”