-->

ขิงก็ราข่าก็แรง หมายถึง อะไร ?





Laz Flash Sale ลดแรงกว่า 90%
ดีลจำกัดเวลา ให้คุณเลือกซื้อสินค้าราคาพิเศษได้ทุกวัน สินค้าลดราคากับ Flash Sale
Lazada แฟลชเซล จัดเต็มดีลฮิตทุกวัน ช้อปออนไลน์ 24 ชั่วโมง ☆ดีลจำกัดเวลาสุดฮอต ☆ลดราคาแรง ☆สินค้าหลากหลาย

ช้อปเลย





ขิงก็ราข่าก็แรง หมายถึง อะไร ?



ขิงก็ราข่าก็แรง หมายถึง อะไร ? สำนวน สุภาษิตไทยที่กล่าวว่า หมายถึง (สำ) ต่างก็จัดจ้านพอ ๆ กัน, ต่างก็มีอารมณ์ร้อนพอ ๆ กัน, ต่างไม่ยอมลดละกัน. อ้างอิงจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔ 


สำนวน ขิงก็รา ข่าก็แรง เป็นสำนวน สุภาษิตที่ใช้ในการเปรียบเปรยถึง คนสองคนที่มีนิสัยอารมณ์ร้อนพอๆกัน ต่างฝ่ายต่างแรง ไม่มีใครยอมแพ้หรือลดละให้แก่กัน ต่างใช้ความรุนแรงเอาชนะกัน



พฤติกรรมดังกล่าวนั้นไม่ส่งผลดีต่อทั้งคู่แน่นอน เพราะต่างฝ่ายต่างต้องการเอาชนะกัน โดยที่ไม่ได้คำนึงถึงสิ่งใด หรือผลกระทบที่ตามมาว่าจะส่งผลเสียต่อคู่ขัดแย้งทั้งสองอย่างไร ความขัดแย้งนั้นไม่สามารถลดลงหรือแก้ปัญหาได้ด้วยการเผชิญหน้า เพราะถ้ามีการต่อสู้กันด้วยกำลังต่างก็จะเสียหายกันทั้งคู่ มีแต่การประณีประนอม และการเจรจาเท่านั้นที่จะช่วยให้สามารถแก้ปัญหาได้อย่างแท้จริง เพราะต้นเหตุแห่งความขัดแย้งนั้นอาจจะเกิดมาจากความเข้าใจผิดกันเพียงเล็กน้อยก็เป็นได้ ดังนั้นการพูดคุยและเจรจาจึงเป็นทางออกที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง


  • ขิง หมายถึง น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Zingiber officinale Roscoe ในวงศ์ Zingiberaceae เหง้ามีกลิ่น รสเผ็ด ใช้ประกอบอาหารและทำยาได้, ขิงแกลง หรือ ขิงแครง ก็เรียก.
  • ก็ หมายถึง สัน. แล้ว, จึง, ย่อม, เช่น พอหันหน้ามาก็พบเขา ทำดีก็ได้ดี.
  • รา หมายถึง ก. ค่อย ๆ เลิกไป เช่น รากันไป
  • ข่า หมายถึง น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Alpinia galanga (L.) Willd. ในวงศ์ Zingiberaceae มีเหง้า ลำต้นเป็นกอ สูง ๑-๓ เมตร ดอกสีขาว ออกเป็นช่อที่ยอด เหง้ามีกลิ่นฉุน ใช้ปรุงอาหารและทำยาได้.
  •  แรง หมายถึง (๒) ว. ฉุน, จัด, กล้า, เช่น กลิ่นแรง

ในทางพฤกษศาสตร์ ขิง และ ข่า จัดเป็นไม้ล้มลุก ในวงศ์ Zingiberaceae เหมือนกัน แต่เป็นคนละสกุลกัน ทั้งขิงและข่ามิใช่พรรณไม้ที่มีการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยตามธรรมชาติ แต่เป็นพรรณไม้ต่างประเทศ มีถิ่นกำเนิดไม่แน่ชัด ชาวกะเหรี่ยงแถบแม่ฮ่องสอนจะเรียกขิงว่า สะเอ และเรียกข่าว่า เสะเออเคย หรือ สะเอเชย ทั้งขิงและข่ามีลักษณะของลำต้นที่คล้ายกัน คือ มีลำต้นใต้ดินเป็นเหง้า และมีลำต้นเทียมที่เกิดจากกาบใบเรียงสลับโอบซ้อนกันแน่นขึ้นเป็นกออยู่เหนือดิน ส่วนลักษณะของช่อดอกจะแตกต่างกัน ขิงมีช่อดอกแบบช่อเชิงลด ออกจากเหง้า ดอกสีเหลืองอ่อน ข่ามีช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกจากยอด และดอกจะมีสีขาว สำหรับผลของขิงและข่ามีลักษณะอย่างไรนั้น หลายคนอาจยังไม่เคยเห็น ส่วนใหญ่จะเห็นลักษณะของลำต้นที่เรียกกันว่าแง่งหรือเหง้า คณะกรรมการจัดทำอนุกรมวิธานพืช ราชบัณฑิตยสถาน อธิบายเรื่องผลของพืชทั้ง ๒ ชนิดว่า มีลักษณะเป็นผลแบบผลแห้งแตก คือเมื่อแก่ผนังผล (pericarp) มักจะแห้งแล้วแตก ทำให้เมล็ดหลุดร่วงออกไปจากผล เหง้าของขิงและข่าต่างก็มีกลิ่นฉุนและมีรสเผ็ดร้อน จึงใช้เป็นพืชสมุนไพรและเป็นเครื่องเทศนำไปประกอบอาหารและแต่งกลิ่นอาหาร ยังมีพรรณไม้ในสกุลเดียวกับขิงอีกหลายชนิด เช่น ขิงดา ขิงลำปี ทั้ง ๒ ชนิดมีการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยตามธรรมชาติ โดยขิงดามีเขตการกระจายพันธุ์ทางภาคเหนือและภาคตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนขิงลำปีมีเขตการกระจายพันธุ์ทางภาคใต้.

สำนวนที่มีความหมายคล้ายกันกับสำนวน ขิงก็ราข่าก็แรง


  • ขนมพอสมน้ำยา หมายถึง เลวพอ ๆ กัน ไม่มีใครดีกว่าใคร
  • ขมิ้นกับปูน หมายถึง ชอบทะเลาะกันเมื่ออยู่ใกล้กัน ไม่ถูกกัน
  • ไม้เบื่อไม้เมา หมายถึง ขัดกันเพราะโกรธกันมาก่อน

ตัวอย่างการใช้งานสำนวน ขิงก็รา ข่าก็แรง ในประโยค

เป็นการใช้งานในชีวิตจริง ทั้งที่อยู่ในประโยคการพูดและที่พบเห็นในหน้าสื่อต่าง ๆที่มีการใช้ในบทความต่าง ๆที่มีการใช้งานจริง ๆในรูปประโยค

  1. ภรรยากับสามี เวลาทะเลาะกันทีไร ต่างคนต่างไม่ยอมกัน ทั้งคู่ “ขิงก็ราข่าก็แรง” ไม่มีใครยอมวางมือ
  2. จีนและสหรัฐมีปัญหาด้านการค้าต่อกันมาอย่างยาวนาน ทั้งสองประเทศ “ขิงก็ราข่าก็แรง” ทั้งคู่ไม่มีใครยอมใครคนที่ได้รับผลกรทบทั้งโลกจากความขัดแย้งครั้งนี้
  3. ตำรวจกับผู้ชุมนุมทั้งสองฝายต่าง “ขิงก็ราข่าก็แรง” ไม่มีใครยอมมาเจรจากันมีแต่ใช้กำลังในการทำร้ายกัน เป็นอย่างนี้ไม่ดีแน่
  4. คุณครู กับ ผ.อ. ถกเถียงกันเรื่องการบริหารจัดการงบอาหารกลางวันที่ไม่โปร่งใส “ขิงก็ราข่าก็แรง” ต่างฝ่ายต่างหาเหตุผลมาแก้ข้อกล่าวหาให้ตนเอง
  5. เด็กวัยรุ่นทั้งสองสถาบันนี้ มักมีเรื่องชกต่อยกันเป็นประจำ “ขิงก็ราข่าก็แรง” ทั้งคู่ไม่มีใครยอมใคร สงสัยต้องจับเข้าบ้านเมตาให้หมด
  6. ประยุท และ ประวิตร แย่งนาฬิกากัน ต่างคนต่างไม่ยอมกัน “ขิงก็ราข่าก็แรง” ทั้งคู่ตัดสินไม่ได้สักทีว่าใครจะได้ใส่นาฬิกาก่อน
  7. ฝ่ายค้า และฝ่านรัฐบาลโต้เถียงกันอย่างรุนแรงในญัตติปมนายกถวายสัตย์ไม่ครบตามรัฐธรรมนูญ กำหนดไว้ ซึ่งทั้งสองฝ่ายนั้น “ขิงก็ราข่าก็แรง” ต่างคนต่างไม่ยอมกัน โดยการอภิปรายกินเวลานานถึง 8 ชั่วโมง
  8. นี่ยัยน้อง เธอควรลดการขัดแย้งกับสามีสักที ไม่ใช่ต่างฝ่ายต่าง “ขิงก็ราข่าก็แรง” อยู่อย่างนี้มีโอกาสบ้านแตกสาแหรกขาดได้ เข้าใจไหม