สำนวนไทย คมในฝัก นิยมใช้กับคนที่เงียบๆ ไม่ที่ไม่ชอบโอ้อวดตน หรือแสดงออกว่าเก่ง แต่ในความเห็นจริงเป็นคนเก่งและมีความสามารถมาก โดยคนประเภทนี่มักเป็นคนที่ฉลาดที่จะวางตัวไม่ให้คนอื่นรู้สึกหมั่นไส้ หรืออวดอ้างตัวว่าเก่งอย่างนั้นเก่งอย่างนี้ โดยเป็นคนที่รู้จริงในสิ่งที่ทำ หรือ เชี่ยวชาญจริง ๆในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
อ้างอิงจาก พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.๒๕๕๔ (สำนวน) ว. มีความรู้ความสามารถแต่เมื่อยังไม่ถึงเวลาก็ไม่แสดงออกมาให้ปรากฏ.
- คม หมายถึง คำนาม ส่วนบางมากจนสามารถบาดได้ เช่น คมมีด คมดาบ คมหญ้า.
- ใน หมายถึง บ. ตรงกันข้ามกับ นอก, ไม่ใช่นอก, เช่น ในบ้าน ในเมือง.
- ฝัก หมายถึง น. ซอง, สิ่งที่ใช้สวมหอกดาบเป็นต้น มีรูปคล้ายตัวหอกดาบที่อยู่ข้างใน มักทำด้วยหนัง ไม้ ทองเหลือง
แตกต่างกับบางคนที่ไม่รู้อะไรเลยแต่กลับอวดภูมิว่ารู้สิ่งนั้น สิ่งนี้ แต่พอเอาเข้าจริงแล้วไม่สามารถทำได้ หรือทำออกมาได้ไม่ดี เข้าข่ายขี้โม้ เก่งแต่พูดพูดได้ทั้งวัน ในเรื่องที่ตนเองไม่รู้หรือไม่มีความเชี่ยวชาญ อาศัยเพียงคำพูดลอย ๆ ซึ่งคนที่รู้จริงทำจริงฟังนิดเดียวก็มองออกว่าไม่ได้รู้จริงในเรื่องดังกล่าว
คมในฝัก แปลตรงตัวก็คือ มีดที่คมๆมักจะถูกเก็บไว้ในฝัก จะถูกชักออกมาใช้ในยามที่จำเป็นเท่านั้น คมมีดจะถูกเก็บอยู่ในที่ที่ควรอยู่ โดยสาเหตุของการใส่ฝัก ก็เพื่อที่จะป้องกันคมมีดจะไปบาดเอาเนื้อหนังของคนถือ หรือป้องกันไม่ให้คมมีดโดนน้ำหรือเป็นสนิมนั่นเอง เปรียบเทียบได้กับคนที่ชอบอมภูมิ ไม่อวดตัว มีความถ่อมตัว ไม่เอาความรู้ที่ตัวเองมีไปเชือดเฉือน หรือทำร้ายคนอื่น และจำเอาความรู้ที่มีนั้นใช้ทำประโยชน์เท่านั้น
สำนวนไทย ”คมในฝัก” เปรียบกับดาบที่อยู่ในฝัก แต่คมกริบเช่นเดียวกับสติปัญญา ความรู้ ความเฉลียวฉลาด ซึ่งไม่ได้แสดงออกมา นิ่งสงบเสงี่ยมอยู่ ดูแต่ภายนอกเผิน ๆ ก็ไม่ทราบ แต่เมื่อพูดหรือทำอะไรออกมา จึงได้เห็น ฉะนั้นจึงมีความหมายใกล้เคียงกับสำนวน ภาษาอังกฤษ “hide one’s light under a bushel” แต่เปรียบกับสิ่งที่ต่าง กัน แต่มีความหมายใกล้เคียงกัน และสามารถเทียบเคียงกันได้โดยสำนวน
“hide one’s light under a bushel” คือ keep quiet about one’s talents or accomplishments. ซึ่งหมายถึง การซ่อนควารู้ความสามารถไว้ภายใน โดยไม่แสดงออกมาให้คนอื่นรับรู้นั่นเอง
โดยสำนวนดังกล่าวมีที่มาจาก คำสอนของ พระเยซูในคัมภีร์ไบเบิล Matthew (5:14–15), Mark (4:21–25) and Luke (8:16–18) ที่ว่า ‘Neither do men light a candle, and put it under a bushel, but on a candle stick; and it giveth light unto all that are in the house.’ หมายถึง คนจุดเทียนไขแล้วไปวางไว้ใต้เครื่องตวงวัด คนอื่นก็มอง ไม่เห็นแสงไฟ แต่ถ้าเอาไปไว้บนเชิงเทียน มันก็จะส่องสว่างทุกคนในบ้านได้เห็นกันหมด แสงเทียนในที่นี่ เปรียบได้กับสติปัญญา ความเฉลียวฉลาด
ตัวอย่างการใช้งานสำนวน คมในฝัก
- เด็กชายประยุทธชอบพูดจาโอ้อวดว่าตนเองฉลาดเป็นที่ 1 ในรุ่น ต่างกับเด็กชายทักสิน ที่ชอบถ่อมตัว เป็น”คมในฝัก”
- พนักงานคนนี้ ฉลาดนะ แต่เขามักที่จะทำตัวเป็นคมในฝัก ไม่เปิดเผยตัว
- สมจิตร จบด๊อดเตอร์จากเมืองนอก แต่เขานั้นชอบทำตัว ”คมในฝัก” ไม่ชอบอวดใครต่อใครว่าจบมาจากไหน
- แมรี่ รู้วิธีทำขนมปังแสนอร่อยมากมาย แต่เฮชอบทำตัว ”คมในฝัก” ยังไปหาเรียนรู้เพิ่มเติมอยู่เรื่อย ๆ
- ประยุทธรู้วิธีบริหารจัดการน้ำท่วม แต่ไม่แสดงออกมาตรง ๆ ชอบทำตัวเป็น ”คมในฝัก”
- ประยุทธไม่มีความเป็นผู้นำ ไม่รู้จักวิธีจัดการวางแผนและป้องกันอุทกภัย แตกต่างกับ ณนาธรที่เป็นเหมือน ”คมในฝัก” สามารถแก้ปัญหาได้อย่างดี
- ปารีณาเป็นส.ส. ที่ชอบอวดภูมิ อวดฉลาดแต่เธอไม่ได้รู้จริง ต่างกับช่อพรรณิกา ที่ชอบทำตัวเหมือนคมในฝัก
- ประวิตรชอบทำตัวเหมือนคมในฝัก ทั้ง ๆที่มีความรู้เรื่องนาฬิกาหรูต่าง ๆมากมาย
- สนธิชอบทำตัวเป็นคมในฝัก ทั้งที่เขาฉลาดมาก รู้หมดว่าใครที่สามารถใช้งานได้
- ฉันว่าเธออย่าไปยุ่งกับพี่ธรรมนัสดีกว่า เพราะว่าเขาฉลาดมาก ๆ แต่ชอบทำตัวเป็น ”คมในฝัก” เธอรู้ไหมว่าเขาเรียนจบมาจากมหาวิทยาลัย แคลิฟอร์เนียเลยนะ
- วิษณุ รู้เรื่องกฎหมายดี สามารถยกเอาข้อกฎหมายต่าง ๆมาล้างผิดให้พรรคพวกได้ แต่เขาเป็นคนที่ชอบทำตัวเป็น ”คมในฝัก” ไม่เปิดเผยให้ใครรู้
- ลุงกำนันเป็นคนฉลาดหลักแหลม เรียนจบจากต่างประเทศ แต่ชอบที่จะวางตัวให้น่าเชื่อถือเหมือน ”คมในฝัก”
- อภิสิทธิ์ เป็นคนฉลาดเรียนจบด้านการเมืองจากประเทศอังกฤษ แต่มักวางตัวเป็นคมในฝัก ปัจจุบันนี้กลายเป็นทาสแมวไปแล้ว
- เด็กชายกรณ์กำภู เป็นเด็กฉลาด แต่เขามักจะไม่แสดงออกมากนัก แต่ชอบที่จะทำตัวเป็น “คมในฝัก”มากกว่า