- Primary microplastics คือพลาสติกที่มีขนาดเล็กกว่า 5 มิลิเมตรตั้งแต่ตอนต้น เพื่อนำไปใช้งานในกระบวนการต่าง ๆ เช่นเม็ดพลาสติก เม็ดสครับที่อยู่ในโฟมล้างหน้า และอื่น ๆ ก่อนที่จะถูกปลดปล่อยออกสู่ธรรมชาติ
- Secondary microplastics คือ พลาสติกขนาดเล็กที่ได้จากการย่อย หรือแตกเป็นชิ้นๆจากชิ้นพลาสติกขนาดใหญ่ลงเป็นชิ้นย่อย ๆ ซึ่งเกิดจากการถูกทำลายในการใช้งาน โดยสภาพแวดล้อม หรือแสงแดด ซึ่งได้แก่ ขวดน้ำ ถุงพลาสติก หรือ ตาข่ายจับปลาเป็นต้น
การใช้งานเสื้อผ้าที่ทำจากเส้นใยสังเคราะก็เป็นการเพิ่มไมโครพลาสติกเช่นกัน โดยเส้นใยไมโครพลาสติกที่ได้จะสลาย หรือกระจายไปสู่สิ่งแวดล้อมจากการใช้งาน หรือการทิ้งและทำลายพวกมันโดยไม่ถูกวิธี
แหล่งที่มาของไมโครพลาสติก
ระบบบำบัดน้ำเสียของครัวเรือน
ประเทศไทยเราไม่มีระบบนี้ในประเทศไทย ถึงจะมีก็น้อยมาก ดังนั้นหากมีน้ำเสียจากบ้านเรือนพวกเราจะปล่อยพวกมันออกสู่สิ่งแวดล้อมโดยตรงเลยโดยที่ไม่ได้มีการจัดการอะไรทั้งนั้น ซึ่งไมโครพลาสติกที่ได้จากตัวเรือนที่เกิดจากของใช้ต่าง ๆนั้นจึ่งถูกปนเปื้อนลงบนแหล่งที่อยู่อาศัยของเรา โดยที่เราไม่ได้ตระหนักถึงหรือให้ความสนใจพวกมันเลย ซึ่งเจ้าตัวไมโครพลาสติกจากครัวเรือนนั้นพบมากที่สุดในน้ำที่ได้จากการซักผ้า ซึ่งเป็นแหล่งที่มีเส้นใยไมโครไฟเบอร์ที่ได้จากเสื้อผ้าในสังเคราะห์ ในประเทศไทย การจัดการกับน้ำเสียประเภทนี้คือการปล่อยลงในแม่น้ำลำคลอง สาธารณะและเจ้าตัวไมโครพลาสติกที่ได้นั้นก็จะปนเปื้อนอยู่ในแหล่งน้ำรอบ ๆรถยนต์และยางรถยนต์
โดยยางและเศษยางของรถยนต์นั้นได้ถูกปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมในทุก ๆที่ที่ถนนไปถึงโดยจะเกิดจากการหลุดลอกของยางรถยนต์ สี และเศษชิ้นส่วนต่าง ๆที่เป็นพลาสติกเป็นส่วนประกอบเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม
โดยเฉพาะเสื้อผ้าที่ทำจากเส้นใยสังเคราะห์จำพวก polyester, nylon, acrylics, และ spandex ที่สามารถหลุดร่วงออกจากเสื้อผ้าขณะใช้งานซึ่งว่ากันว่า มีเส้นใยกว่า 1900 เส้นถูกปล่อยออกมาหลังจากที่ทำการซัก ซึ่งเส้นใยขนาดเล็กพวกนี้จะถูกปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อม โดยทางแม่น้ำลำคลอง ในกรุงเทพก็ถูกส่งลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ออกสู่อ่าวไทย และมหาสมุทรต่อไป ซึ่งไมโครไฟเบอร์จากเครื่องนุ่งห่มนี้ได้มีการพบในห่วงโว่อาหารเช่น แพลงก็ตอนขนาดเล็กในท้องทะเล ซึ่งเป็นอาหารขอวงวาฬและปลาขนาดเล็กเราสามารถพบไมโครพลาสติกในสิ่งแวดล้อมทุกที่ที่มีการใช้พลาสติก ทั้งแบบ Primary microplastics และ Secondary microplastics ซึ่งพวกมันจะปะปนอยู่ในสิ่งแวดล้อมรอบตัวเราโดยที่เราไม่รู้ตัวมาก่อน
ผลกระทบของไมโครพลาสติก ต่อมนุษย์
องค์การอนามัยโลก (WHO) เผยว่า ไมโครพลาสติกที่ตรวจพบในน้ำก๊อกและน้ำดื่มในปัจจุบันมีความเสี่ยงต่อสุขภาพของมนุษย์ในระดับที่ต่ำมาก อาจจะต้องทำการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อหาข้อสรุปมายืนยันกับกลุ่มผู้บริโภคอีกครั้งไมโครพลาสติกเป็นสิ่งที่สามารถพบได้ทั่วไปในสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจจะซึมเข้าสู่แหล่งน้ำดื่มใต้ดิน รวมถึงน้ำดื่มบรรจุขวด จากระบบซ่อมบำรุงหรือแจกจ่ายน้ำ รวมถึงขั้นตอนการบรรจุขวดและปิดฝาพลาสติก โดยองค์การอนามัยโลกจะดำเนินการศึกษาผลกระทบไมโครพลาสติกต่อสุขภาพมนุษย์ หากสะสมในร่างกายเป็นระยะเวลานาน
การศึกษายังพบอีกว่า ถ้าเราบริโภคเนื้อสัตว์ที่มีไมโครพลาสติกปนเปื้อนก็มีโอกาสสะสมก่อโรคภูมิแพ้ขึ้นได้ และจะเป็นตัวก่อให้เกิดโรคมะเร็ง และหากไมโครพลาสติกยิ่งแตกตัวเป็นชิ้นเล็ก ๆ เท่าแบคทีเรีย หากเข้าเส้นเลือดจะทำให้ระบบหมุนเวียนโลหิตมีปัญหา ผลกระทบเหล่านี้มีโอกาสเกิดขึ้นได้ในคน เพียงแต่ระยะเวลาที่จะแสดงอาการอาจจะช้ากว่าสัตว์ขนาดเล็ก
แนวทางการแก้ไขเกี่ยวกับไมโครพลาสติก
การแก้ไขเกี่ยวกับปัญหาไมโครพลาสติกก็คือลดการใช้พลาสติกให้มากที่สุด โดยลดในส่วนที่ไม่จำเป็น หันมาใช้เสื้อผ้าจากเส้นใยธรรมชาติที่ย่อยสลายได้มากขึ้น รวมถึงการจัดการเกี่ยวกับการบำบัดน้ำเสียจากแหล่งชุมชนก่อนปล่อยออกสู่สิ่งแวดล้อมภายนอกก็จะช่วยให้ปริมาณไมโครพลาสติกลดลง
อ้างอิง