โดยข้อดีหลักของแบตเตอรี่แบบลิเธียมฟอสเฟตได้แก่
- เป็นระบบที่มีความปลอดภัยสูง ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับอุณหภูมิ
- ไม่ระเบิดเพราะมีความร้อนสูงหรือลุกไหม้
- เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า ประกอบด้วยเพียง เหล็ก กราไฟต์ และฟอสเฟต
- Calendar life > 10
- รอบการชาร์จสูงมาก ตั้งแต่ 2000- หมื่นรอบในบางรุ่น
- อุณภูมิที่เหมาะสำหรับการใช้งานอยู่ที่ 70 องศาเซลเซียส
- ให้กำลังไฟที่ต่อเนื่อง
- สามารถรีไซเคิลได้ง่าย
ประวัติความเป็นมา
LiFePO4 เป็นแร่ที่ได้จากธรรมชาติในตระกูล olivine family หรือ แร่ triphylite ซึ่งใช้ในการทำขั้วไฟฟ้าในแบตเตอรี่ที่ได้ถูกตีพิมพ์ครั้งแรกในงานวิจัยของ Akshaya Padhi และผู้ร่วมงาน John B. Goodenough ของมหาวิทยาลัย Texas ในปี 1996 โดยได้ใช้แร่ดังกล่าวเป็นขั้วลบในแบตเตอรี่แบบลิเทียม เพราะว่าพวกมันมีราคาถูก ไม่เป็นพิษ และความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติของเหล็ก ความคงตัวทางความร้อนที่ดีเยี่ยม ลักษณะความปลอดภัย ประสิทธิภาพไฟฟ้าเคมี และความสามารถเฉพาะในการกักเก็บไฟฟ้า (170 mA·h/g, or 610 C/g) โดยได้รับการยอมรับจากการใช้งานในท้องตลาด เป็นจำนวนมากโดย อุปสรรคสำคัญสำหรับการนำไปใช้ในทางการค้าคือ การนำไฟฟ้าต่ำมาก ซึ่งปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการลดขนาดอนุภาคที่ใช้เคลือบ LiFePO4 ด้วยอนุภาคที่มีคุณสมบัติในการนำไฟฟ้าเช่นท่อนาโนคาร์บอน ที่เป็นท่อคาร์บอนที่มีขนาดเล็กระดับนาโนเมตร
และหลังจากนั้น MIT ก็ได้ทำการเปิดตัวการเคลือบแบบใหม่ที่ช่วยให้ไอออนนั้นสามารถที่จะเคลื่อนย้ายได้อย่างอิสระภายในแบตเตอรี่ ด้วย "Beltway Battery" ทำให้สามารถทำการ บายพาสไอออนที่เข้าและออกจากขั้วอิเลคโทรด ด้วยความเร็วที่เพียงพอสำหรับการชาร์จให้เต็มได้ในระยะเวลาที่ต่ำกว่า 1 นาที และนักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบได้ด้วยการเคลือบอนุภาคของ lithium iron phosphate ในวัสดุที่มีคุณสมบัติ glassy material ที่มีชื่อเรียกว่า lithium pyrophosphate โดยทำให้ตัวไอออนนั้นสามารถเคลื่อนที่ได้รวดเร็วมากกว่าในแบตเตอรี่แบบอื่น ๆ
รอบการชาร์จของแบตเตอรี่ลิเธียมฟอสเฟต
แบตเตอรี่ลิเธียมฟอสเฟต ช่วยให้รอบของการชาร์จและ ดิสชาร์จสูงมากกว่าแบตเตอรี่แบบปกติ นั่นเป็นสาเหตุว่าทำไมพวกมันถึงได้รับความนิยมในระบบกักเก็บไฟฟ้าต่าง ๆเช่นระบบ ออฟกริด ระบบสำรองไฟฟ้า ที่ต้องการอายุการใช้งานที่ยาวนาน โดยรอบของการชาร์จนั้นจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่- คุณภาพของเซลล์ลิเทียม
- ระดับพลังงานในค่า C โดนค่า 1C นั้นหมายถึงการชาร์จ หรือ ดิสชาร์จ ใน 1 ชั่วโมง ส่วน 2 C หมายถึง การชาร์จ หรือ ดิสชาร์จ ในเวลาครึ่งชั่วโมง
- Depth of Discharge (DOD)
- ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมขณะใช้งานเช่น อุณหภูมิ ความชื้น และอื่น ๆ