ปะการังเทียม คืออะไร ? เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นในรูปแบบต่าง ๆ อย่างมีแบบแผน เพื่อดัดแปลงสภาพของพื้นท้องทะเลให้อุดมสมบูรณ์ให้เหมือนสมัยก่อน โดยปะการังตามธรรมชาติมีการถูกทำลายและเหลือจำนวนน้อยลง โดยการจัดทำสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยหรือเรียกง่าย ๆ ว่า บ้านปลา เลียนแบบบริเวณที่มีกองหินใต้น้ำ ซากเรืออัปปาง หรือแนวปะการังธรรมชาติ โดยการใช้วัสดุที่แข็งแรง ทนทาน มีน้ำหนัก สามารถต้านทานกระแสน้ำได้ ราคาไม่แพง มีรูปแบบที่มีช่องเงาให้สัตว์น้ำกำบังหรือหลบซ่อนตัวได้ และนำไปวางรวมกลุ่มกันในบริเวณต่าง ๆ ตามแนวชายฝั่งที่เหมาะสม
ประวัติการทำปะการังเทียม
การทำปะการังเทียมนั้นได้มีการเริ่มต้นทำครั้งแรกในสมัยโบราณแล้ว โดยได้มีการบันทึกว่าชาวเปอร์เซียนั้นได้ทำการสร้างปราการป้องกัน โจรสลัดอินเดียนด้วยการสร้างแนวปะการังเทียมปิดปากแม่น้ำไทกริส และในช่วง สงครามระหว่าง โรมและคาร์เธจ ชาวโรมันได้ทำการสร้าง แนวปะการังข้ามชายฝั่ง Carthaginian ใน Sicily เพื่อป้องกันเรือข้าศึกนำเรือมาขึ้นฝั่ง การทำปะการังเทียมนั้นสามารถช่วยเพิ่มผลผลิตปลาทะเลในญี่ปุ่นรวมถึงการเพาะเลี้ยงสาหร่ายทะเลด้วยในช่วง ศตวรรษที่ 17 และบันทึกล่าสุดก็ในช่วงปี 1830 ในสหรัฐอเมริกาที่ได้มีการนำเอาท่อนไม้เพื่อมาทำเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาทะเลเพื่อเพิ่มผลผลิตสัตว์น้ำการทำปะการังเทียม
การทำปะการังเทียมนั้นมีการทำหลากหลายรูปแบบที่แตกต่างกันทั่วโลก ขึ้นอยู่กับความเข้าใจของกลุ่มผู้ที่ได้ริเริ่มทำในตอนนั้นและมีการใช้วัสดุต่าง ๆที่แตกต่างกันไปตามแต่จะหาได้ ซึ่ง บางชนิดก็เหมาะ และบางชนิดกไม่เหมาะที่จะนำมาทำเป็นปะการังเทียม ซึ่งมีอะไรบ้างนั้นเราจะมาดูกันวัสดุที่ไม่เหมาะมาทำปะการังเทียม
สำหรับวัสดุกลุ่มนี้จะเป็นวัสดุที่เป็นเมื่อเสื่อมสภาพในน้ำทะเลแล้วจะมีสารพิษถูกปล่อยออกมาจากกระบวนการย่อยสลายของวัสดุนั้นซึ่งตอนพวกมันย่อยสลายจะปลดปล่อยสารพิษออกมาด้วย ซึ่งไม่เหมาะที่จะให้ปะการังยึดเกาะ และปะการังก็ไม่สามารถที่จะเติบโตบนวัสดุดังกล่าวได้ อย่างเช่น ยางรถยนต์ ท่อพลาสติก ท่อพีวีซี โดยพวกมันเมื่อถูกย่อยสลายแล้วจะปลดปล่อย ไมโครพลาสติกออกมาเรื่อย ๆจากตัวของพวกมัน ซึ่งในปัจจุบันนี้พบว่า ปริมาณไมโครพลาสติกเริ่มส่งผลกระทบต่อสัตว์ทะเลบ้างแล้ว ซึ่งการใช้วัสดุประเภทนี้ไม่ได้ผลในการสร้างปะการังเทียมวัสดุที่เหมาะสมสำหรับทำปะการังเทียม
วัสดุที่เหมาะมากก็คือเรือ ซากเรือเหล็กขนาดใหญ่ที่มีการลอกสีเคมีออกจากพื้นผิวแล้ว และซากเหล็ก รถยนต์ที่ลอกสีแล้ว โครงสร้างซีเมนต์ที่สามารถป้องกันการกัดกร่อนจากน้ำทะเลได้ โครงเหล็กที่ไม่ได้ทำสี โครงสร้างเหล็กขนาดใหญ่ ซึ่งมีการเก็บข้อมูลว่าสัตว์ทะเลนั้นสามารถเจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็วในโครงเหล็กขนาดใหญ่โครงสร้างที่ใช้ปูนซีเมนต์ทำนั้นก็มีความเหมาะสมเพราะว่าพวกมันนั้นมีโครงสร้างที่คล้ายแนวปะการังเดิมตามธรรมชาติ ที่มีส่วนประกอบของหินปูนเป็นหลัก และมีความนิยมใช้ในพื้นที่ต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง
การทำแนวปะการังเทียมในประเทศไทย
ในปี 2545 กรมทางหลวงได้ให้ความร่วมมือโดยส่งมอบท่อคอนกรีตที่ชำรุด ซึ่งไม่อาจใช้งานปกติได้ ซึ่งมีขนาดต่างๆ เพื่อให้กรมประมงดำเนินการจัดสร้าง เป็นแหล่งอาศัยสัตว์ทะเล โดยเข้ารวมในโครงการฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งทะเล จังหวัดปัตตานีและนราธิวาส อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ประกอบด้วยท่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 60 , 80 , 100 และ 120 เซนติเมตร ได้ดำเนินการจัดวางบริเวณทะเลหน้าบ้านทอน อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส โดยห่างจากฝั่ง 10 กิโลเมตร ความลึกของน้ำประมาณ 21 เมตร ใช้เรือแพลำเลียงเขากวางของกรมประมง ซึ่งเป็นแพสำหรับทิ้งปะการังเทียมมีจำนวนทั้งหมด 707 ท่อ ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นเมื่อ วันที่ 18 มีนาคม 2545การรถไฟแห่งประเทศไทยได้ให้ความร่วมมือโดยส่งมอบตู้รถไฟ ชนิดขนส่งสินค้าที่ไม่ใช้งานแล้ว เพื่อให้กรมประมงดำเนินการจัดสร้างเป็น แหล่งอาศัยสัตว์ทะเล โดยเข้ารวมในโครงการฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งทะเล จังหวัดปัตตานีและนราธิวาส อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตู้รถไฟทั้งหมดเป็นตู้สินค้า ขนาดความยาว 6.5 เมตร กว้างและสูงเท่ากัน 2.18 เมตร มีเหล็กหนา 3.2 มิลลิเมตร มีน้ำหนักเมื่อถอดล้อออกแล้ว 5.5 ตัน การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินการถอดล้อ ทำความสะอาดตู้ให้ปราศจากคราบน้ำมัน เปิดประตูทั้งสอง และเชื่อมให้เปิดอย่างถาวร
กรุงเทพมหานครได้ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมไม่เพียงเฉพาะในกรุงเทพฯ เท่านั้น แต่ยังได้ขยายความร่วมมือไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ด้วยการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มุ่งเน้นตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง จากการที่กรุงเทพมหานครมีซากรถเก็บขนมูลฝอยเก่าซึ่งหมดสภาพการใช้งานเป็นจำนวนมาก และต้องการสนองพระราชดำริ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ด้วยการน้อมเกล้าฯ ถวายซากรถเก็บขนมูลฝอยแบบอัด ขนาด 5 ตัน เป็นรถขยะเก่าที่หมดสภาพการใช้งานมานานกว่า 9 ปีขึ้นไป โดยจะทำการล้างทำความสะอาด ตัดล้อ รวมทั้งตัดวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับน้ำมันออก พร้อมส่งมอบรถยนต์ดังกล่าวให้กับกรมประมง สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และคณะกรรมการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) ดำเนินการจัดสร้างเป็นปะการังเทียมต่อไป
กองทัพบกสนับสนุนรถถัง รุ่น T69 จำนวน 25 คัน และกองทัพไทยสนับสนุน "รถยนต์ราดน้ำ" 3 คัน โดยกองโรงงานซ่อมสร้างยุทโธปกรณ์ สายสรรพาวุธ ศูนย์ซ่อมสร้างสิ่งอุปกรณ์ กรมสรรพาวุธทหารบก ค่ายสุรธรรมพิทักษ์ อ.เมือง จ.นครราชสีมา ได้นำซากรถถังรุ่น 30 T69-2 ซึ่งใช้ในภารกิจป้องกันประเทศ มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2530 และเสื่อมสภาพจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ นำไปทิ้งในทะเลอ่าวไทย ที่ จ.ปัตตานี และทะเลหน้าพระตำหนักทักษิณราชนิเวศน์ อ.ตากใบ จ.นราธิวาส
อ้างอิง
https://newheavenreefconservation.org/marine-blog/145-just-how-effective-are-electrified-artificial-reefs
https://km.dmcr.go.th