ซึ่งทำให้คุณเกิดความรำคาญเพราะทำอย่างไรก็ไม่หาย ต้องหาทางแก้ก็ไม่เจอ ข้อมูลก็มีน้อยส่วนมากเป็นภาษาอังกฤษอีกวันนี้ผมเอง พึ่งประสบเหตุดังกล่าวมาเหมือนกัน จึงได้รวบรวมวิธีการแก้ไขที่คิดว่า ได้ผลมาให้ท่านใช้ในการแก้ไขกัน
ซึ่ง ขออกตัวไว้ก่อนว่าวิธีการแก้ในแต่ละเคส ไม่เหมือนกันบางเคสอาจจะใช้วิธีนี้ได้ผล แต่อีกวิธีหนึ่งอาจไม่ได้ผล ให้ลองแก้ด้วยการใช้วิธีการต่าง ๆที่จะเตรียมไว้ให้ลองดูถ้าวิธีนี้ ไม่ได้ผล หรือไม่เวิร์คแนะนำให้ลองขั้นตอนถัดไปทีละข้อ จนกว่าจะแก้ได้นั่นแหละ ถ้าพร้อมแล้วก็มาเริ่มกันเลย
การแก้ปัญหา Fix Your connection is not private Error ใน Google Chrome
วิธีแรก การตั้งค่าวันที่และเวลาในวินโดวส์
ซึ่งการตั้งค่าวันที่แล้เวลาในวินโดวส์อาจจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการดังกล่าวได้ เพราะว่าวันเวลาจากคอมพิวเตอร์ของคุณไม่ตรงกับเซิร์ฟเวอร์ของเว็บไซต์เหล่านั้น ดังนั้นจึงเกิดการบล็อกดังกล่าวเกิดขึ้น ซึ่งการแก้ไขนั้นก็ไม่ยาก เพียงแค่ตั้งค่าวันที่และเวลาให้เป็นปัจจุบันเท่านี้ก็เรียบร้อย โดยการตั้งวันเวลานั้น สำหรับวินโดวส์ 10 นั้นให้ไปที่1.คลิกขวาที่วันที่และเวลา ซึ่งจะอยู่ตรงมุมขาวบนที่เราใช้ดูเวลานั่นแหละ แล้วเลือก Adjust date/ time
2.คลิกที่ sync now เพื่อทำการอัปเดทวันเวลาล่าสุดกับเซิร์ฟเวอร์ของไมโครซอฟท์
หลังจากทำขั้นตอนนี้เรียบร้อยแล้ว ลองเป็ดเว็บที่โดนบล็อกดูว่าเข้าได้ หรือยังถ้ายังให้ทำการลองวิธีถัดไป
วิธีที่ 2.การเคลียร์ข้อมูลประวัติการท่องเว็บของกูเกิลโครม
ถ้ามีข้อมูลประวัติการท่องเว็บไซต์หรือ เคชจำนวนมากถูกเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ ซึ่งเจ้าตัว Google Chrome นี่แหละที่เก็บไว้การล้างข้อมูลการท่องเว็บดังกล่าวอาจจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ด้วยการทำตามขั้นตอนดังนี้1.ไปที่โปรแกรม Google Chrome แล้วไปที่จุด 3 จุดมุมขวาบนของโปรแกรมเพื่อทำการตั้งค่า ไปที่ More Tools > Clear browsing data…
2.Time Range ให้เลือกเป็น All time แล้วคลิกที่ Clear Data เพื่อทำการลบข้อมูล
หลังจากนั้นให้ลองเปิดเว็บที่โดนบล็อก อีกรอบ ถ้าเข้าได้แสดงว่าวิธีนี้ได้ผล แต่ถ้าเข้าไม่ได้นั้นแสดงว่าต้องลองวิธีถัดไป
วิธีที่ 3 การตั้งค่าแอนติไวรัส
เจ้าตัวแอนติไวรัสอาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการดังกล่าว วิธีตรวจสอบคือ ลองปิดการทำงานของโปรแกรมแอนติไวรัสดูว่า หลังจากที่ปิดการทำงานแล้ว สามารถเข้าเว็บที่มีปัญหาได้หรือไม่ ถ้าเข้าได้แสดงว่าปัญหาน่าจะอยู่ที่ตัวแอนติไวรัสที่ปิดการเชื่อมต่อหรือบล็อกเว็บไซต์ดังกล่าว ให้ไปทำการปลดล๊อกตัวแอนติไวรัสให้เลิกบล็อก แต่ถ้าหากไม่ได้ผลเราแนะนำให้ลองวิธีถัดไปวิธีที่ 4. ลองเข้าเว็บไซต์ที่บล๊อกดังกล่าวด้วยโหมด “ไม่ระบุตัวตน”
ซึ่งอาจจะทำให้คุณสามารถเข้าได้เพราะอาจจะเกิดจากส่วนเสริมของตัวเว็บบราวเซอร์ที่ติดตั้งนั้นได้ทำการบล๊อกเว็บไซต์ดังกล่าวไม่ให้เข้าไปได้ สำหรับการเปิดโหมด ไม่ระบุตัวตน นั้นสามารถทำได้ด้วยการ ใช้คีย์ลัด Ctrl + Shift + N เพื่อทำการเปิดหน้าต่างแบบ “ไม่ระบุตัวตน” หรือ Incognito Mode บน Google Chromeแต่ถ้าลองแล้วสามารถเข้าได้แสดงว่าเกิดจากปลั๊กอินหรือส่วนเสริมทำให้เกิดปัญหา แนะนำให้ทำการลบส่วนเสริมนั้นออกไปเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาซ้ำอีก
หรือการลองไปเปิดด้วยโปรแกรมสำหรับท่องเว็บตัวอื่น ๆเช่นโปรแกรม Mozilla FireFox ซึ่งเป็นโปรแกรมท่องเว็บไซต์ทางเลือกที่จะช่วยให้คุณนั้นท่องเว็บโดยไม่มีการเก็บข้อมูลส่วนตัวของคุณ ถ้าเปิดเว็บไซต์ดังกล่าวที่โดนบล๊อกได้แสดงว่าน่าจะเกิดจากโปรแกรมกูเกิลโครม วิธีแก้ที่ดีที่สุด และง่ายดายที่สุดคือการ ลบหรือ Uninstall แล้วลงใหม่แต่ถ้าไม่ได้ผลลองวิธีต่อไป
วิธีที่ 5. วิธีนี้เป็นวิธีที่ผมใช้งานได้ผล โดยคาดว่าน่าจะเกิดจาก Access Point
หรือตัวกระจายสัญญานที่แยกออกมาจากตัวเราเตอร์มีปัญหาทำให้การเชื่อมต่อเว็บไซต์บางเว็บโดนบล๊อกผมแก้ไขโดยการรีเซ็ตแล้วเข้าไปตั้งค่าใหม่ เฉพาะตัวกระจายสัญญาน Wi-Fi เพระว่าที่บ้านเป็นแบบแยกกันระหว่าง เราเตอร์และ Access Point ซึ่งหลังจากที่เปลี่ยนชื่อเครือข่ายและเปลี่ยนรหัสที่เข้าใช้งานเครือข่าย วาย-ฟาย ในบ้านปุ๊บ ก็สามารถใช้ได้เป็นปกติทุกอย่างสำหรับการตั้งค่าตัว Access Point นั้นก็ขึ้นอยู่ว่าที่บ้านของคุณนั้นใช้รุ่นไหน ยี่ห้อไหน โดยคุณสามารถหาข้อมูลการตั้งค่าได้ในอินเตอร์เน็ต
หรือลอง ปิดเราเตอร์ 15 นาทีแล้วเปิดใหม่ดู น่าจะกลับมาเป็นปกติได้ในไม่ช้า
ขอบคุณที่อ่านจนจบหวังว่าโพสนี้จะมีวิธีใดวิธีหนึ่งที่สามารถช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวให้กับคุณได้