-->

การเลือกซื้อ หน้ากากเชื่อม ที่ดีที่สุดแบบไหน ยี่ห้อไหนดี





Laz Flash Sale ลดแรงกว่า 90%
ดีลจำกัดเวลา ให้คุณเลือกซื้อสินค้าราคาพิเศษได้ทุกวัน สินค้าลดราคากับ Flash Sale
Lazada แฟลชเซล จัดเต็มดีลฮิตทุกวัน ช้อปออนไลน์ 24 ชั่วโมง ☆ดีลจำกัดเวลาสุดฮอต ☆ลดราคาแรง ☆สินค้าหลากหลาย

ช้อปเลย





การเลือกซื้อ หน้ากากเชื่อม ที่ดีที่สุดแบบไหน ยี่ห้อไหนดี



หน้ากากเชื่อมนั้นเป็นอุปกรณ์สำคัญในงานเชื่อม ที่จะช่วยปกป้องดวงตาและผิวหนังจาก จากความร้อนที่เกิดจากการเชื่อมด้วยวิธีต่างๆ ซึ่งในกระบวนการเชื่อมนั้นจะมี แสงยูวี ความร้อน สะเก็ดไฟ และคลื่นรังสีความร้อนที่จะแผดเผาใบหน้าของคุณ ซึ่งปัญหานี้จะสามารถพบได้บ่อยในช่างเชื่อมที่ไม่ชอบใส่อุปกรณ์ป้องกัน หรือใช้อุปกรณ์ป้องกันจำพวกหน้ากากที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งอาจเกิดจากการซื้ออุปกรณ์ที่ไม่ได้คุณภาพ หรือไม่มีความทนทานต่อการใช้งานพอใช้งานไปสักพักก็จะเริ่มมีปัญหาและคุณก็ประสบปัญหากับการต้องซื้อเปลี่ยนใหม่บ่อยๆเพราะความไม่ทนทาน


 

แนะนำ หน้ากากเชื่อมที่ดีที่สุด รุ่นไหน ยี่ห้อไหนดี



#1.WELPROหน้ากากเชื่อม ออโต้ รุ่น Welpro WP818E



เป็นรุ่นที่ใช้แผงพลังงานแสงอาทิตย์ในการทำงาน ได้มาตรฐาน CE & ANSI สามารถปรับระดับความมือหรือ Darkness shade control ได้ในช่วง 9-13 การทำงานด้วยการตอบสนองของเลนส์เชื่อมที่รวดเร็วถึง 0.00004 วินาที สามารถตั้งค่าหน่วงเวลาได้ และตั้งค่าความไวในการทำงานได้ ตัวเลนส์มีสารเคลือบป้องกันรังสี อัลตร้าไวโอเลตและรังสีอินฟาเรด สวมใส่สบายไม่รัดแน่น ตัวหน้ากากทำจากวัสดุ โพลีคาร์บอนเนต รุ่นนี้บล็อกดิทแนะนำ

WELPROหน้ากากเชื่อม ออโต้ รุ่น Welpro WP818E

คุณสมบัติเด่น


  • หน้ากากเชื่อม ออโต้
  • ใช้พลังงานแสงอาทิตย์
  • เหมาะสำหรับงานเชื่อมทุกชนิดหุ้มลายcarbon Fiber







#2.หน้ากากปรับแสงเชื่อมอัตโนมัติ รุ่น YMD6500 YAMADA



    หน้ากากปรับแสงเชื่อมอัตโนมัติ มีหน้าจอขนาดใหญ่ สามารถมองเห็นชิ้นงานได้ดีขึ้น เลือกโหมดการใช้งานทั้งงานเชื่อม/งานเจียร และปรับระดับความเข้มกระจกได้ 5 ระดับ ให้ได้ตรงกับลักษณะงาน ฟิลเตอร์ปรับ Sensitivity และ Delay ได้ ทำให้สะดวกในการใช้งานยิ่งขึ้น

หน้ากากปรับแสงเชื่อมอัตโนมัติ รุ่น YMD6500 YAMADA

คุณสมบัติเด่น


  • หน้ากากปรับแสงเชื่อมอัตโนมัติ มีหน้าจอขนาดใหญ่
  • เลือกโหมดการใช้งานทั้งงานเชื่อม/งานเจียร
  • ปรับระดับความเข้มกระจกได้ 5 ระดับ
  • ฟิลเตอร์ปรับ Sensitivity และ Delay ได้






#3.LONGWELL หน้ากากเชื่อม ออโต้ รุ่น 350S MG





เป็นหน้ากากเชื่อมแบบใช้แบตเตอรี่ เซ็นเซอร์ 2 จุดเปลี่ยนแบเตอรี่ได้ง่าย สามารถปรับจั้งค่าความไวและ หน่วงเวลาได้ รองรับงานเชื่อม MMA , TIG, MIG/MAG, CUT ผลิตจากวัสดุ Polypropylene


คุณสมบัติเด่น


  • ขนาดของกระจกปรับแสง(Viewing Area) : 90x35 mm
  • ปุ่มปรับระดับความเข้มกระจก : ปรับได้ด้านข้าง
  • สวิตช์เปิดปิด : อัตโนมัติ
  • จำนวนจุดรับแสง : 2
  • เปลี่ยนถ่านได้ง่าย
  • มีโหมดแจ้งเตือนเมื่อแบตต่ำ
  • ปรับ delay / sensitivity ได้
  • งานเชื่อม : MMA , TIG, MIG/MAG, CUT
  • งานเจียร : สามารถใช้ได้
  • อุณหภูมิที่ทำงานได้ปกติ : -5°C ~ +55°C
  • อุณหภูมิที่จัดเก็บไว้ได้ : -20°C ~ +70°C
  • วัสดุที่ผลิต : Polypropylene
  • น้ำหนัก : 480g





#4.InnTech หน้ากากเชื่อม ปรับแสงอัตโนมัติ Auto Darkening รุ่น WH-24



มีให้เลือกถึง 50 ลายสวยงาม  สามารถปรับเฉดสีใช้กับงานเชื่อมได้ทุกประเภท TIG, MIG/MAG, PLASMA, CUT ปรับความไวแสงได้ หน้ากากมีน้ำหนักเบามาก แข็งแรงทนทาน ไม่กรอบหรือแตกง่าย สามรถปรับความไวของเลนส์ ความหน่วงในการทำงาน รวมทั้งความเข้มของเลนส์เชื่อมได้ สะดวกเหมาะกับการใช้งาน

InnTech หน้ากากเชื่อม ปรับแสงอัตโนมัติ Auto Darkening รุ่น WH-24

คุณสมบัติเด่น


  • หน้ากากเชื่อมออโต้ มีให้เลือกมากถึง 50แบบ 
  • ใช้ได้ทั้งงานเจียรและงานเชื่อม
  • ปรับความไวแสงได้ทั้งก่อนและหลังการเชื่อม ผู้ใช้ไม่มีการเคืองตา
  • ตัวหน้ากาก มีน้ำหนักเบา เหนียว ไม่กรอบหรือแตกง่าย ทนแรงกระแทกได้ดี
  • มาพร้อมสายคาดปรับให้สวมใส่สบาย พอดีกับศีรษะได้
  • ทนอุณหภูมิสำหรับการใช้งานได้ตั้ง -5 องศาเซลเซียส ถึง 55 องศาเซลเซียส
  • สามารถปรับเฉดสีใช้กับงานเชื่อมได้ทุกประเภท TIG, MIG/MAG, PLASMA, CUT
  • มีปุ่มปรับระดับความเข้มกระจก : ปรับได้ด้านข้างหน้ากาก
  • มีปุ่มปรับความไวต่อแสง : สามารถปรับได้ข้างซ้าย ด้านในหน้ากาก
  • มีปุ่มปรับการหน่วงเวลา : สามารถปรับได้ข้างขวา ด้านในหน้ากาก





หน้ากากเชื่อม ที่ดีที่สุดแบบไหนยี่ห้อไหนดี




ก่อนอื่นเรามารู้จักกับหน้ากากเชื่อมที่มีอยู่ในท้องตลาดกันก่อน ซึ่งในปัจจุบันนั้นแบ่งออกได้เป็น 2 ชิดที่มีการพบเห็นการใช้งานอยู่ทั่วไปอย่างแพร่หลาย ได้แก่หน้ากากเชื่อมแบบธรรมดา ที่เป็นกระจกแก้วสีดำทึบที่ทำหน้าที่ในการกรองแสงที่ได้จากการอาร์คของกระแสไฟฟ้าที่ปล วิธีเลือกซื้อหน้ากากเชื่อมที่ดีที่สุดที่จะช่วยคุณให้ได้รับ สินค้าที่ดีที่สุดว่าจะต้องมีการเลือกซื้ออย่างไร ยี่ห้อไหนดี ายลวดเชื่อมหรือหัวเชื่อม และหน้ากากเชื่อมแบบออโต้ ที่ใช้วงจรอิเลคทรอนิคส์ในการเปิดปิดกระจกกรองแสงเพื่อป้องกันสายตาของผู้เชื่อมซึ่งในปัจจุบันนี้เป็นที่นิยมใช้งานมาก โดยทั้งสองชนิดนั้นมีข้อดี และข้อด้อยที่ต่างกันหลายประการได้แก่

1.หน้ากากเชื่อมแบบธรรมดา 


ซึ่งเป็นแบบดั้งเดิมที่มีการใช้ในสมัยก่อนและตอนนี้ที่ไม่มีความซับซ้อนใดๆ โดยจะประกอบไปด้วยบานกระจกที่สามารถดึงลงมาคลุมหน้าได้ด้วยการสะบัดหน้าเพื่อให้หน้ากากเชื่อมมาปกปิดใบหน้าในขณะที่เริ่มการเชื่อมซึ่งเป็นวิธีแบบดั้งเดิมและไม่ค่อยที่จะสะดวกเท่าไรเพราะว่าต้องมีการยกหน้ากากเชื่อมขึ้นยกลงให้น่ารำคาญ บางทีงานเชื่อมมากๆอาจจะทำให้ถึงขั้นคอเคล็ดได้

ข้อดีของหน้ากากเชื่อมแบบธรรมดาคือ 


  • ราคาถูก และ สามารถหาซื้อได้ง่ายมาก
  • ตัวกระจกก็มีเปลี่ยนในราคาที่ไม่แพง

ข้อด้อย


  • สำหรับคนที่ไม่เชื่อมบ่อยๆ อาจจะมีปัญหาในการใช้งานเพราะขนาดใหญ่ ไม่ถนัด
  • การสะบัดเพื่อปิดหน้ากากนั้นบ่อยๆจะทำให้คอเคล็ดได้
  • แนวเชื่อมอาจจะไม่สวย และไม่ต่อเนื่องเพราะต้องเปิดๆปิดๆหน้ากากบ่อยๆ
  • บางทีวางลวดเชื่อมพลาดบ่อยครั้งจนทำให้เกิดการอาร์ก ก่อนปิดหน้ากาก ซึ่งอาจจะพบบ่อย และทำให้ตาพร่าชั่วขณะ


2.หน้ากากเชื่อมแบบออโต้


เป็นหน้ากากเชื่อมที่มีความสะดวกในการใช้งาน และเป็นที่นิยมมากขึ้นในปัจจุบัน โดยอาศัยวงจร อิเลคโทรนิคส์และกระแสไฟฟ้าในการทำให้เลนส์เชื่อมนั้นมืดหรือสว่าง โดยจะมีเลนส์เชื่อมที่จะปรับระดับความสว่างตามความเข้มของแสงและความร้อนที่ได้อัตโนมัติ โดยในตอนที่ไม่ดีมีการเชื่อมหรือยังไม่มีการอาร์ก นั้น เลนส์เชื่อมจะมีความสว่างปกติที่ระดับ 3 หรือ 4 เท่านั้น ซึ่งเทียบได้กับการใส่แว่นตากันแดดทั่วไปเท่านั้น แต่หลังจากที่เซ็นเซอร์แสงได้รับแสงที่เกิดจากการเชื่อมจะมีความสว่างลดลงหรือเลนส์มีความมืดเพิ่มขึ้นถึงระดับ 10 -13 เลยทีเดียวซึ่งจะมากหรือน้อยก็จะขึ้นอยู่กับความร้อนและความเข้มแสงที่ได้จากการอาร์ค เมื่อแสงมากก็จะทำให้เลนส์เชื่อมมีความเข้มมาก เพื่อกรองแสงที่เป็นอันตรายต่อสายตาให้มากที่สุด ซึ่งข้อดีของหน้ากากเชื่อมแบบนี้ได้แก่

ข้อดีของหน้ากากเชื่อมแบบออโต้


  • ไม่ต้องพลิกเลนส์เชื่อมเปิด และปิดบ่อยๆ โดยเลนส์เชื่อมจะทำงานอัตโนมัติเมื่อมีแสงที่เกิดขึ้นจากการเชื่อม
  • สะดวกไม่ทำให้เกิดอาการคอเคล็ดจากการใช้งาน
  • การเชื่อมในแนวตะเข็บสั้นนั้นสามารถทำได้ดี ต่อเนื่อง
  • ข้อด้อยข้องหน้ากากเชื่อมแบบออโต้
  • ราคาค่อนข้างแพง 
  • ระบบกรองแสงของเลนส์มีความเปราะบางหากเกิดตกลงกับพื้นอาจจะเสียหายและใช้อะไหล่ซ่อมราคาแพง
  • อาจจีมีบางรุ่นที่จะต้องใช้แบตเตอรี่ในการใช้งาน

การเลือกซื้อต้องมีการพิจารณาสิ่งใดบ้างโดยจะเน้นเฉพาะหน้ากากเชื่อมแบบออโต้เพราะว่าหน้ากากเชื่อมแบบธรรมดานั้นไม่เป็นที่นิยมแล้วในปัจจุบันนี้และหน้ากากเชื่อมแบบออโต้ นั้นมีปัจจัยหลายอย่างมากกว่าให้พิจารณาก่อนทที่จะเลือกซื้อ



สิ่งที่ควรพิจารณาหน้ากากเชื่อมแบบออโต้



1.ความเข้มของเลนส์เชื่อม


ความเข้มของเลนส์เชื่อมแบบฟิกคือจะมีความเข้มแค่ระดับ 10 เพียงระดับเดียวซึ่งจะทำให้แบบนี้มีราคาที่ถูกลงมามากกว่าที่สามารถปรับระดับความเข้มได้หลายระดับตามความเข้มแสงที่ได้จากการเชื่อม ซึ่งแบบที่สามารถเลือกความเข้มของเลนส์เชื่อมได้หลาบรูปแบบ และหลายระดับนั้นจะช่วยให้คุณสามารถใช้งานได้เหมาะกับงานที่หลากหลายมากกว่าและ มีความสะดวกมากกว่า ได้งานที่ออกมาดีกว่าแบบไม่สามารถปรับความเข้ม หรือแบบฟิกได้


2.ขนาดพื้นที่สำหรับการมองเห็น


พื้นที่ในการมองเห็นขึ้นอยู่กับขนาดของเลนส์เชื่อมยิ่งมีพื้นที่ในการมองเห็นมากก็จะได้งานที่มีความละเอียดมากกว่า เพราะว่าคุณสามารถเห็นชิ้นงานได้ชัดเจน โดยทั่วไปแล้วเลนส์เชื่อมจะมีขนาดตั้งแต่ 6-9 ตารางนิ้ว ซึ่งยิ่งมากก็ยิ่งดี แต่ราคาก็จะขยับตามไปด้วย ดังนั้นควรพิจารณาให้เหมาะสมกับงบประมาณของคุณด้วย


3.ความเร็วในการตอบสนองการทำงานของเลนส์


คือเวลาที่เลนส์ใช้ในการเปลี่ยนความเข้มของเลนส์จากความเข้มปกติไปเป็นความเข้มที่สามารถป้องกันแสงจากการเชื่อม โดยจะเปลี่ยนจากความเข้มระดับ 3-4 ไปเป็นความเข้มระดับ 10 หรือมากกว่าขึ้นอยู่กับความเข้มของแสงที่เกิดขึ้นโดยจะมีตั้งแต่ 1/3600 วินาที ไปจนถึง 1/20000 วินาที ซึ่งค่านี้ยิ่งมากยิ่งดี เพราะนั่นแสดงว่าตัวเลนส์สามารถตอบสนองได้รวดเร็ว


4.เซ็นเซอร์สำหรับรับแสง


เซ็นเซอร์นั้นเป็นอุปกรณ์สำคัญที่ช่วยสั่งให้เลนส์เชื่อมทำงานในหน้ากากเชื่อมแบบทั่วไปนั้นจะมีตัวเซ็นเซอร์แสง 2 ตัวเพื่อให้เลนส์กรองแสงสามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง แต่ในอุปกรณ์ที่ดีราคาแพงที่ใช้ในอุตสาหกรรมนั้นจะมีเซ็นเซอร์มาให้ถึง 4 ตัว เพื่อความครอบคลุมในการใช้งานหลายๆทิศทางในการเชื่อม

5.ระบบควบคุมความไวในการทำงานของเลนส์เชื่อม



ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานหรือผู้เชื่อมสามารถปรับระดับความไวดังกล่าวให้เหมาะสมกับการเชื่อมแต่ละแบบที่แตกต่างกัน ซึ่งต้องการความไวในการทำงานของเลนส์ที่แตกต่างกันนั่นเอง
ระบบหน่วงเวลาในการทำงานของเลนส์เชื่อม
หมายถึงระยะเวลาที่เลนส์เชื่อมจะมืดหลังจากที่แสงจากการเชื่อมหมดไป ซึ่งจะช่วยให้ผู้ใช้งานหรือช่างเชื่อมสามารถปรับใช้งานให้หน่วงเวลาให้เหมาะสม เพราะว่าชิ่นงานในแต่ละอันอาจจะไม่ลดความเข้มแสงลงทันทีแต่จะค่อยๆลดดังนั้นการปรับความหน่วงเวลาให้เหมาะสมนั้นก็จะเป็นประโยชน์กับผู้เชื่อมด้วย


6.แหล่งพลังงาน แบตเตอรี่ หรือแผงโซลาร์เซลล์



เป็นที่ทราบกันดีว่าการทำให้เลนส์มืดนั้นต้องใช้กระแสไฟฟ้าในการทำให้เลนส์เชื่อมทำงานดังนั้นแหล่งพลังงานของเลนส์เชื่อมที่นิยมใช้ในปัจจุบันนี้ได้แก่ แบตเตอรี่ ทั้งที่สามารถชาร์จไฟได้ และชาร์จไม่ได้ และแบบที่เป็นแผงโซลาร์เซลทำงานร่วมกับแบตเตอรี่ที่ชาร์จได้ภายใน โดยจะใช้แสงที่ได้จากการอาร์คนั้นมาทำการชาร์จไฟให้กระแสไฟฟ้า ควรเลือกที่เหมาะสมกับความต้องการของคุณ


7.น้ำหนัก และ การปรับแต่ง


หน้ากากเชื่อมที่ดีต้องมีน้ำหนักบาเพราะถ้ามีน้ำหนักมากจะทำให้คุณล้าจากการทำงานมากกว่าปกติในกรณีที่ต้องเชื่อมนานๆ และระบบสายในการยึดหน้ากากกับหัวนั้นควรเลือกที่ใส่สบาย ไม่รัดแน่นจนเกินไป ซึ่งจะทำให้คุณรู้สึกอึดอัด และงานเชื่อมออกมาได้ไม่ดี ดังนั้นก่อนซื้อได้ลองสวมก่อนจะดีมากเลยทีเดียว เพื่อให้แน่ใจว่าหน้ากากเชื่อมนี้เหมาะสำหรับคุณ



สรุป หน้ากากเชื่อมเป็นอุปกรณ์สำคัญในการทำงานเชื่อมเพื่อป้องกันคุณจากแสงจ้า ความร้อน การเผาไหม้ ฝุ่นและควันที่เกิดจากการเชื่อมโลหะต่างๆ ดังนั้นการเลือกหน้ากากเชื่อมที่ดีนั้นจึงสำคัญสำหรับช่างเชื่อมผู้ที่เป็นมืออาชีพเพราะนอกจากจะช่วยป้องกันร่างกายแล้ว ยังช่วยให้งานเชื่อมออกมาดีอีกด้วย การเลือกซื้อตามงบประมาณที่เหมาะสมจะช่วยให้คุณสามารถใช้หน้ากากเชื่อมดังกล่าวได้ทนนาน และเหมาะสม