แต่ถ้าไฟนั้นเกิดจากน้ำมันละ การใช้น้ำ ไม่เหมาะแน่นอนเพราะยิ่งจะเป็นการโหมไฟให้ลุกไหมเร็วกว่าเดิม การใช้ถังดับเพลิงนั้นเป็นวีที่ดีที่สุดที่จะใช้จัดการกับไฟไหม้ ที่สะดวก และปลอดภัยเชื่อถือได้โดยเฉพาะในน้ำมันที่คุณไม่สามารถใช้น้ำดับได้ เครื่องดับเพลิงดังกล่าวจะทำให้เปลวไฟที่ลุกโชน สามารถดับได้อย่างรวดเร็ว และควบคุม พร้อมทั้งจำกัดความเสียหายที่จะเกิดจากไฟ รวมทั้งชีวิตของคุณด้วย แล้วถังดับเพลิงแบบไหนละที่เหมาะสำหรับมีไว้ติดบ้าน วันนี้เราจะมาแนะนำ ถังดับเพลิงไอเท็มที่ควรมีติดไว้ภายในบ้าน เลือกแบบไหนดี
สิ่งที่ทำให้เกิดไฟไหม้ในทางทฤษฏีนั้นเกิดจากปัจจัยสำคัญเพียง 3 อย่างได้แก่ ความร้อน เชื้อเพลิง และอากาศ ดังนั้นการที่เราจะดับเพลิงได้นั้นเราต้องทำการจัดการกับปัจจัยใดก็ได้ จาก 3 ส่วนให้หายไปก่อน ถ้าหากสามารถควบคุมได้เราก็สามารถดับไฟได้
ประเภทของเพลิงไหม้ สามารถแบ่งออกได้เป็นกี่ประเภท
เราจำเป็นจะต้องรู้ถึงประเภทของไฟไหม้ว่าไฟไหม้ที่จะเกิดนั้นเป็นไฟประเภทไหนเพื่อที่จะช่วยให้เรานั้นสามารถเลือกถังดับเพลิงได้ถูกต้องและเหมาะสมกับการใช้งาน ไม่ใช่ว่าถังดับเพลิงถังเดียวจะสามารถจัดการไฟได้ทั้งหมด เพราะถ้าเราใช้ถังดับเพลิงดับไฟไม่ถูกประเภทอาจจะทำให้ประสิทธิภาพในการดับเพลิงนั้นไม่ดีเท่าที่ควรและบางทีอาจจะควบคุมเพลิงไว้ไม่ได้ด้วยซ้ำ ซึ่งนับว่าอันตรายมากดังนั้นการศึกษาให้ดีนั้นก่อนจะเลือกซื้อไว้ใช้ในบ้านควรพิจารณาให้ดีๆ โดยประเภทของเพลิงไหม้นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 5 ประเภทได้แก่• เพลิงไหม้ประเภท A เป็นเพลิงไหม้ที่เกิดจากการติดไฟของเชื้อเพลิงธรรมดาที่สามารถพบได้ทั่วไปรอบๆตัวเราเช่น กระดาษ ขยะ พลาสติก ซึ่งเพลิงไหม้แบบนี้สามารถใช้น้ำเปล่าธรรมดาในการดับได้ไม่มีปัญหา
• เพลิงไหม้ประเภท B เป็นเพลิงไหม้ที่เกิดจากสารที่สามารถติดไฟได้ เช่นสารในกลุ่มสารระเหย น้ำมันต่างๆทุกชนิด ที่สามารถติดไฟได้ รวมทั้งน้ำมันพืชที่เราใช้งานในครัวด้วย การติดไฟประเภทนี้มีการเผาไหม้ได้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การจัดการกับไฟประเภทนี้คือการดึงออกซิเจนออกจากการเผาไหม้ ไม่มีออกซิเจนในการเผาไหม้ไฟก็จะดับ
• เพลิงไหม้ประเภท C เป็นเพลิงไหม้ในอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีกระแสไฟฟ้าอยู่ดังนั้นการดับไฟต้องตัดกระแสไฟฟ้าก่อนทำการดับก่อนเสมอ เพราะถ้าคุณเข้าไปใกล้อาจจะทำให้ไฟฟ้า ช๊อตได้
• เพลิงไหม้ประเภท D เป็นการติดไฟของโลหะที่สามารถติดไฟได้ เช่น แมกนีเซียม อลูมิเนียม ไทเทเนียม และ โพแทสเซียม ซึ่งอาจจะเกิดจากปฏิกิริยาทางเคมีของโลหะกับสารบางอย่าง หรือตัวโลหะเกิดการติดไฟได้เช่นโลหะ แมกนีเซียม ที่สามารถติดไฟได้
• เพลิงไหม้ประเภท K เป็นเพลิงไหม้ที่เกิดขึ้นกับเครื่องครัว น้ำมันที่ใช้ในครัว ไขมันสัตว์ ไปจนถึงของเหลวที่ใช้ในการประกอบอาหาร ซึ่งสามารถพบได้ในครัวเรือนทั่วไป
เมื่อเราทราบประเภทของเพลิงไหม้แล้วต่อไปเราก็จะสามารถเลือกซื้อถังดับเพลิงให้ถูกกับการใช้งานภายในบ้านของเรา โดยการใช้งานสำหรับการดับไฟภายในครัวนั้นเราอาจจะใช้ ถังดับเพลิงประเภท K หรือ B ก็ได้ซึ่งควรเลือกให้เหมาะสม เพราะราคาทั้งสองประเภทอาจจะแตกต่างกันพอสมควร
ประเภทของถังดับเพลิง
• ถังดับเพลิงชนิดแห้ง สามารถใช้กับไฟประเภท A,B,C แต่ไม่สามารถใช้กับไฟประเภท K ได้ราคาไม่แพงมีขายทั่วไป เหมาะสำหรับส่วนอื่นๆของบ้าน ยกเว้นห้องครัวไม่ควรใช้แบบนี้ หลังจากใช้งานแล้วไม่สามารถใช้ได้ต่อ ต้องนำไปเติมน้ำยาก่อน• ถังดับเพลิงชนิดผงเคมีสูตรน้ำ ถังสีเขียว ใช้ในการดับไฟได้ทุกประเภท เหมาะสำหรับใช้ในการดับไฟเครื่องใช้ไฟฟ้า ไม่ทิ้งคราบหลังใช้งาน และมีราคาแพง
• ถังดับเพลิงชนิดที่บรรจุสารฮาโลตรอน หรือน้ำยาที่มีชื่อว่า “ABFFC” เหมาะที่สุดสำหรับใช้ในบ้าน สามารถดับไฟได้ทุกประเภท รวมถึงไฟในห้องครัวที่เกิดจากน้ำมันด้วย
• ถังดับเพลิงชนิดบรรจุก๊าซคาร์บอนไดออกไซค์ มีสีแดง ปลายกระบอกฉีดจะใหญ่เป็นพิเศษ เมื่อฉีดออกมาจะมีไอเย็นจัด คล้ายน้ำแข็งแห้ง ช่วยลดความร้อนของไฟไหม้ได้ ไม่ทิ้งคราบสกปรก สามารถดับไฟประเภท B ,C ได้
• ถังดับเพลิงชนิดบรรจุโฟม เมื่อฉีดออกมาจะเป็นฟองโฟม คลุมผิวเชื้อเพลิงที่ลุกไหม้ จึงสามารถดับไฟประเภท A,B แต่ไม่สามารถดับไฟประเภท C ได้ เพราะเป็นสื่อนำไฟฟ้า
การติดตั้งถังดับเพลิง
การติดตั้งถังดับเพลิงที่ถูกต้องนั้นจะต้องติดตั้งไว้บนกำแพงที่สูงอย่างน้อย 6 ฟุตเพื่อให้ห่างมือเด็กและควร ติดตั้งไว้ในที่ที่สามารถมองเห็นได้ง่ายเพราะว่าคนอื่นอาจไม่รู้ว่ามันอยู่ตรงไหนและไม่สามารถใช้งานได้ในกรณีที่เกิดเหตุเพลิงไหม้ และมีการติดตั้งโดยการใช้ เข็มขัดยึดที่มากับถังจะเหมาะสมที่สุดและควรเลือกซื้อถังดับเพลิงที่มีมาตรวัดระดับของสารที่ใช้ในการดับเพลิงมาด้วยเพราะว่าเราจะได้รู้ถึงปริมาณของสารที่อยู่ในถังดับเพลิงว่ามีมากเท่าใดและให้ทำการตรวจเช็คระดับเป็นระยะๆเพื่อให้มั่นใจว่าถังดับเพลิงจะพร้อมใช้งานเสมอ หรืออย่างน้อยทุก 3-6 เดือน ถังดับเพลิงมีอายุการใช้งานของมัน ไม่ควรใช้ถังดับเพลิงที่มีอายุการเก็บยาวนานเกิน 10 ปี หรือตามที่ผู้ผลิตแนะนำไว้ในคู่มือการใช้งาน
การใช้งานถังดับเพลิง
ในการใช้งานถังดับเพลิงนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่สมาชิกทุกคนภายในบ้านจำเป็นที่จะต้องรู้จักวิธีการใช้งานถังดับเพลิง แม้กระทั่งเด็ก เพราะ เหตุการณ์ต่างๆสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ ดังนั้นการสอนให้พวกเขารู้จักวิธีการใช้งานนั้นจะช่วยสร้างความมั่นใจหากเกิดปัญหาเพลิงไหม้ขึ้นมาจริงๆการใช้ถังดับเพลิงนั้นเราควรยืนห่างจากแหล่งต้นเพลิงประมาณ 6-10 ฟุตและหันหลังให้กับทางออก ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถหนีได้ในกรณีที่ไม่สามารถควบคุมเพลิงได้ หลังจากนั้นให้ดึงแท่ง ล็อกออกแล้ว
ทำการดึงสายชี้ไปที่ฐานของเพลิงไหม้ แล้วกดกระเดื่องเพื่อปล่อยสารดับไฟออกมา ทำซ้ำๆจนกว่าเปลวเพลิงจะดับ หรือ หากคุณไม่สามารถเข้าถึงแหล่งกำเนิดเพลิงได้ในระยะ 10 ฟุตเพราะอาจจะเกิดจากกลุ่มควันที่หนามาก ควรอพยพออกจากตัวอาคารบ้าน หรือพื้นที่ดังกล่าวโดยเร็ว แล้วรีบทำการโทรเรียกพนักงานดับเพลิงทันที ไม่ควรฝ่าเข้าไปดับไฟเองเด็ดขาด เพราะคุณอาจจะขาดอากาศหายใจก็เป็นได้